คุณภาพการให้บริการของเทศบาลตำบลทุ่งหลวง อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี
คำสำคัญ:
เทศบาลตำบลทุ่งหลวง, คุณภาพการให้บริการบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพการให้บริการและเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ใช้บริการที่มีต่อคุณภาพการให้บริการของเทศบาล ตำบลทุ่งหลวง อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี โดยจำแนกตามลักษณะทางด้านประชากรศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนที่ใช้บริการที่เทศบาลตำบลทุ่งหลวง อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี จำนวน 385 คน สุ่มตัวอย่างแบบที่ไม่ใช้ความน่าจะเป็นด้วยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามที่ตรวจสอบความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ค่าดัชนีความสอดคล้องคือ 0.88 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบไปด้วย การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบเป็นรายคู่โดยวิธีของเชฟเฟ่
ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพการให้บริการของเทศบาลตำบลทุ่งหลวง อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านสิ่งที่สัมผัสได้ ด้านความน่าเชื่อถือไว้วางใจได้ ด้านการเอาใจใส่ต่อผู้รับบริการ และด้านการตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ อยู่ในระดับมาก และด้านการให้ความเชื่อมั่นแก่ผู้รับบริการ อยู่ในระดับปานกลาง นอกจากนี้การเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ใช้บริการที่มีต่อคุณภาพการให้บริการของเทศบาลพบว่า ผู้มาใช้บริการที่มีเพศแตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพการให้บริการของเทศบาลไม่แตกต่างกัน ส่วนผู้มาใช้บริการที่มีอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ แตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพการให้บริการของเทศบาลแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (ม.ป.ป.). ทำเนียบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กระทรวงมหาดไทย.
งานนโยบายและแผนเทศบาลตำบลทุ่งหลวง. (ม.ป.ป.) แผนพัฒนาท้องถิ่น 4 ปี (พ.ศ.2561-2564). เทศบาล
ตำบลทุ่งหลวง: ราชบุรี.
จิตตินันท์ นันทไพบูลย์. (2551). จิตวิทยาการบริการ. ซีเอ็ดยูเคชั่น: กรุงเทพฯ.
ชัยสมพล ชาวประเสริฐ. (2552). การตลาดบริการ. พิมพ์ครั้งที่ 10. ซีเอ็ดยูเคชั่น: กรุงเทพ.
เทียมจันทร์ ศรีสมชัย. (2554). คุณภาพการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแดง อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่. 7(1): 76-87.
ธัญญาลักษ์ ศรีพลาย. (2554). คุณภาพการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลสร้างถ่อ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารบัณฑิต วิทยาลัยพิชญทรรศน์. 6(2): 65-71.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2552). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 1. บิสซิเนสอาร์แอนด์: กรุงเทพฯ
นิติพล ภูตะโชติ. (2553). การตลาดบริการ Service Marketing. คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยขอนแก่น: ขอนแก่น
พระมหาเตชินท์สิทฺธาภิภู (ผากา). (2554). ประสิทธิผลการให้บริการของเทศบาลตำบลดงเย็นอำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย).
ไพฑูรย์ คุ้มคง. (2557). ความคิดเห็นของประชาชนต่อคุณภาพการให้บริการของเทศบาลตำบลนายายอาม อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี. (งานนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).
รวีวรรณโปรยรุ่งโรจน์. (2551). จิตวิทยาการบริการ. โอเดียนสโตร์: กรุงเทพมหานคร.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2550). การบริหารจัดการตามแนวทางคุณธรรมและแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง. โฟรเพซ: กรุงเทพฯ
สุพรรณี อินทร์แก้ว. (2551). การตลาดธุรกิจบริการเฉพาะยิ่ง. พิมพ์ครั้งที่ 4. บริษัท ธนาเพรส จำกัด: กรุงเทพมหานคร.
อรอุมา ศรีสวนจิก. (2554). คุณภาพการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองอ้ม อำเภอทุ่งศรีอุดม จังหวัดอุบลราชธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี).
Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques. John Wiley & Sons. New York.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น