สาเหตุและแนวทางแก้ไขการลาออกของพนักงานธนาคารกรุงไทย ในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ศรัณย์ วิริยธนกุล โครงการบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต จังหวัดสมุทรสาคร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ชฎาพร ฑีฆาอุตมากร โครงการบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต จังหวัดสมุทรสาคร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

สาเหตุ, แนวทางแก้ไข, การลาออก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสาเหตุการลาออกจากงานของพนักงานธนาคารกรุงไทย ในเขตกรุงเทพมหานคร และ 2) เพื่อหาแนวทางแก้ไขการลาออกจากงานของพนักงานธนาคารกรุงไทย ในเขตกรุงเทพมหานคร งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) เป็นการเก็บข้อมูลทางด้านความคิดเห็น ความเชื่อ เจตคติ ความรู้ พฤติกรรม การรับรู้ ความรู้สึก และอารมณ์ นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุและแนวทางแก้ไขการลาออกของพนักงานธนาคารกรุงไทย ในเขตกรุงเทพมหานคร ประชากรมีจำนวนทั้งหมด 1,200 คน ใช้สูตรการคำนวณจะได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 300 คน และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ในการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) พนักงานธนาคารกรุงไทย ในเขตกรุงเทพมหานครที่ลาออก จำนวน 30 คน (คิดเป็นร้อยละ 10 ของกลุ่มตัวอย่าง)

ผลการวิจัยพบว่า สาเหตุการลาออกจากงานของพนักงาน ธนาคารกรุงไทย ในเขตกรุงเทพมหานคร มีสาเหตุมาจาก 1) ความก้าวหน้าในงาน 2) ความเครียดที่เกิดจากความกดดันในการขายผลิตภัณฑ์ 3) การได้รับงานในปริมาณที่มากเกินไป 4) ความไม่เป็นธรรมในการประเมินผลงาน 5) ความไม่สะดวกในการเดินทาง 6) สภาพแวดล้อมในการทำงานไม่ดี 7) ความมั่นคงในงานค่อนข้างต่ำ 8) ค่าตอบแทนที่ไม่เหมาะสม และ 9) ลาออกเพื่อศึกษาต่อ โดยแนวทางแก้ไขปัญหา คือ 1) ลดความสำคัญในด้านการขายผลิตภัณฑ์ 2) ปรับปริมาณงานให้มีความ 3) มีความยุติธรรมในการประเมินผล 4) ควรเปิดโอกาสให้พนักงานแสดงความคิดเห็นในการทำงาน 5) เปิดโอกาสกับพนักงานระดับล่างที่มีประสบการณ์ได้มีโอกาสก้าวหน้าขึ้น และ 6) ให้โอกาสพนักงานได้ทำงานสาขาที่ใกล้กับที่พัก

References

โชคดี รักทอง. (2523). ความพึงพอใจในการทำงานของบุคลากรฝ่ายบริหารมหาวิทยาลัยรามคำแหง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณทิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร).

ธงชัย สันติวงษ์. (2539). การบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพาณิช.

ธนิกานต์ มาฆะศิรานนท์. (2545). เทคนิคการจูงใจพนักงาน. กรุงเทพฯ: เอ็กซ์เปอร์ เน็ทบุ๊ค.

ดาวเดือน โลหิตปุระ และชัยวัฒน์ สมศรี. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการลาออกของพนักงานบริษัทเอกชนในอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 28(1), 167-168

พรรณิภา เนื้อนา. (2555). การศึกษาระดับความต้องการลาออกของพนักงานธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งในเขตจังหวัดสมุทรปราการ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์)

ณัฏฐพร พึ่งบ้านเกาะ และกฤษฎา พัชราวนิช. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจลาออกของพนักงานธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน): กรณีศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่พระประโทน. รายงานสืบเนื่องการประชุมทางวิชาการบัณฑิตศึกษาศิลปากรระดับชาติ ครั้งที่ 2 (น.604-617). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Allen, D. G. (2008). Retaining talent: A guide to analyzing and managing employee turnover. SHRM Foundation Effective Practice Guidelines Series, 1-43.

Bennell, P. (2004). Teacher motivation and incentives in sub-Saharan Africa and Asia. Knowledge and Skills for development, Brighton.

Chaimongkol, N., Chienwattanasook, K., Onputtha, S., Sookwilai, N. & Pongwang, N. (2018). Employees’ Job Satisfaction and Employees’ Desirable Behavior Affecting Employees’ Work Performance: A Case of Christiani & Nielsen (Thai) Public Company Limited. Journal of Interdisciplinary Research: Graduate Studies, 7(2), 105-117.

Dubey, R., Gunasekaran, A., Altay, N., Childe, S. J., & Papadopoulos, T. (2016). Understanding employee turnover in humanitarian organizations. Industrial and Commercial Training, 48(4), 208-214.

Mobley, W. H. (1982). Employee turnover: Causes, consequences, and control. Addison-Wesley.

Tett, R. P., & Meyer, J. P. (1993). Job satisfaction, organizational commitment, turnover intention, and turnover: path analyses based on meta‐analytic findings. Personnel psychology, 46(2), 259-293.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-26

How to Cite

วิริยธนกุล ศ., & ฑีฆาอุตมากร ช. (2019). สาเหตุและแนวทางแก้ไขการลาออกของพนักงานธนาคารกรุงไทย ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น, 1(1), 14–24. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/prn/article/view/248589