แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัทสยามราช จำกัด (มหาชน)

ผู้แต่ง

  • พลอยไพลิน อิงบุญ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
  • กนกวรรณ แสนเมือง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
  • กาญจนา พันธุ์เอี่ยม คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

คำสำคัญ:

แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน, บริษัทสยามราช จำกัด (มหาชน)

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทสยามราช จำกัด (มหาชน) และ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงานบริษัทสยามราช จำกัด (มหาชน) ที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานบริษัทสยามราช จำกัด (มหาชน) ประกอบด้วย ฝ่ายบัญชี ฝ่ายการเงิน ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายระบบสารสนเทศ ฝ่ายทรัพย์สินและยานพาหนะ ฝ่ายบุคคล ฝ่ายธุรกิจก่อสร้างสถานีวัดและระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ฝ่ายธุรกิจก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนตร์ และฝ่ายธุรกิจระบบปั๊มอุตสาหกรรม จำนวน 173 ตัวอย่าง จากสูตรทาโร่ ยามาเน่ โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย การจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามที่ตรวจสอบความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ค่าดัชนีความสอดคล้องคือ 0.89 สถิติที่ใช้ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยวิธีการของเซฟเฟ่

ผลการวิจัยพบว่า 1. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทสยามราช จำกัด (มหาชน) โดยรวมพบว่าอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากจำนวน 6 ด้าน และอยู่ในระดับปานกลางจำนวน 1 ด้าน โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย ดังนี้ ด้านความสัมพันธ์ในหน่วยงาน รองลงมาคือ ด้านความสำเร็จของงาน ด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ ด้านความรับผิดชอบ ด้านความก้าวหน้า และด้านเงินเดือนและสวัสดิการ 2. เปรียบเทียบความคิดเห็นปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงานบริษัท สยามราช จำกัด (มหาชน) ที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงานบริษัท สยามราช จำกัด (มหาชน) ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน และอายุงานต่างกัน ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทสยามราช จำกัด (มหาชน) โดยภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กฤษฎา ตันเปาว. (2558). กรณีศึกษาแรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานของบริษัท ดีไลน์ คอนสตรัคชั่น จำกัด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์).

กฤษดา เชียรวัฒนสุข, สุรพร อ่อนพุทธา และธัญญลักษณ์ เทพแพง. (2561). แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และการรับรู้การสนับสนุนขององค์กรที่มีผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของบุคลากร:กรณีศึกษา บริษัท บริดจสโตน จำกัด. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 7(2), 79-90

จิรสิทธิ์ เลียวเสถียรวงค์. (2555). ปัจจัยต่อแรงจูงใจปฏิบัติงานของพนักงานสายช่างของบริษัท ก่อสร้างขนาดเล็ก ในอำเภอเมืองนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี).

ถนอมศักดิ์ จิรายุสวัสดิ์. (2557). จิตวิทยาเพื่อความสำเร็จ. กรุงเทพฯ: ปราชญ์.

ทวี ทองอยู่. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน กรณีศึกษา บริษัท เคซีอี อีเลคโทรนิคส์ จํากัด (มหาชน). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

ธงชัย ศรีมณฑก. (2554). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารออมสินในเขตราชบุรี.

(การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง).

พัชสิรี ชมพูคำ. (2552). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: แมคกรอ-ฮิล.

ยุทธ ไกยวรรณ์ และกุสุมา ผลาพรม. (2553). พื้นฐานการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ

ศิริ นาคละออ. (2552). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานฝายขายและบริการ ลูกคานครหลวงที่ 3.1 บริษัท ทีโอทีจํากัด (มหาชน). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธนบุรี).

สุพานี สฤษฏ์วานิช. (2552). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่: แนวคิดและทฤษฎี. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สมคิด บางโม. (2553). องค์การและการจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : บริษัทพิมพ์ดีการพิมพ์ จำกัด.

สุภาพร เท่าบุรี. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจของพนักงานในองค์การ กรณีศึกษา บริษัทโตโย-ไทย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาหาดใหญ่).

อนิวัช แก้วจำนง. (2550). หลักการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: นำศิลป์โฆษณาสงขลา.

เอนก สุวรรณบัณฑิต และภาสกร อดุลพัฒนกิจ. (2554). จิตวิทยาบริการ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพ: อักษรสยามการพิมพ์.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis, 3rd Edition. New York: Harper and Row Publication.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-26

How to Cite

อิงบุญ พ., แสนเมือง ก., & พันธุ์เอี่ยม ก. (2019). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัทสยามราช จำกัด (มหาชน). วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น, 1(1), 1–13. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/prn/article/view/248588