ระบบการจัดการโลจิสติกส์ในการท่องเที่ยวของปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาค อำเภอโพนพิสัย จัหวัดหนองคาย

ผู้แต่ง

  • รณรงค์ เคนรักษา วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ปรีชา วรารัตน์ไชย วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยว, โลจิสติกส์, ปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาค, อำเภอโพนพิสัย, จังหวัดหนองคาย

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการโลจิสติกส์ การท่องเที่ยว และ (2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของนักท่องเที่ยว/ผู้ประกอบการ ผู้นำชุมชนในแหล่งท่องเที่ยวเกี่ยวกับการจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวชมปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาค อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักท่องเที่ยว/ผู้ประกอบการ/ผู้นำชุมชนในแหล่งท่องเที่ยว จำนวน 382 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบ ค่าเอฟ (F-test) และการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธี LSD และสัมภาษณ์นักท่องเที่ยว/ผู้ประกอบการ/ผู้นำชุมชนในแหล่งท่องเที่ยว จำนวน 10 คน เพื่อให้ได้มาเพื่อข้อมูลเชิงคุณภาพ ซึ่งทำการวิเคราะห์ด้วยข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ระดับความคิดเห็นของนักท่องเที่ยว/ผู้ประกอบการ ผู้นำชุมชนต่อการจัดการโลจิสติกส์เพื่อการท่องเที่ยว ปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาค โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการทดสอบสมมุติฐาน พบว่า นักท่องเที่ยว/ผู้ประกอบการ/ผู้นำชุมชนในแหล่งท่องเที่ยวที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชนที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการจัดการโลจิสติกส์เพื่อการท่องเที่ยวปรากฏการณ์บั้งไฟโดยภาพรวมทั้ง 9 ด้าน ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 และผลจากการสัมภาษณ์ พบว่า การส่งเสริมความร่วมมือการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเป็นเครือข่ายในพื้นที่ใกล้เคียง การจัดอบรมให้ความแก่ชุมชนในท้องถิ่นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนา ฟื้นฟู และอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น การให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมมือในการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวของชุมชนทั้งด้านความสะอาด ความปลอดภัย การประสานงานต่าง ๆ และการประชาสัมพันธ์ทั้งในสื่อออนไลน์สื่ออื่น ๆ ทำให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวมากขึ้นส่งผลให้เศรษฐกิจและการขยายตัวของระบบด้าน โลจิสติกส์การท่องเที่ยวได้

References

เชียรช่วง กัลยาณมิตรและคณะ. (2558). เอกสารประกอบการสัมมนาโครงการประชุมสัมมนากำหนดกรอบการทำงานในการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษตามนโยบายของรัฐบาล ประจำปีงบประมาณ 2558. ที่ทำการปกครองจังหวัดหนองคาย.

เถลิงศักดิ์ ชัยชาญ. (2555). โครงการวิจัยการจัดการโลจิสติกส์สำหรับการท่องเที่ยวในอำเภอวังน้ำเขียวจังหวัดนครราชสีมา, (รายงานวิจัย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี).

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2552). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

วิเชียร นามการ. (2554). “การศึกษาอิทธิพลความเชื่อเรื่องพญานาคที่มีผลต่อสังคมไทยปัจจุบัน.” (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย).

วัฒนพันธุ์ ครุฑะเสน. (2557). ปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาค: การสร้างนวัตกรรมเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดหนองคาย นครหลวงเวียงจันทน์ และแขวงบอลิคำไซ, วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 7(2), 1611-1621.

Kunsri, T. (2016). Potential development of historical tourism: A case study of Sirindhorn museum, Subdistrict Non Buri, Sahatsakhan District, Kalasin Province. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 9(3), 1-16.

Laorit, Y. (2015). Temple tour: guidelines for developing the potential of cultural eco-tourism along Mekong riverside, Nong Khai Province, Sakon Nakhon Graduate Studies Journal, 12(57), 165-175

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-28