ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าคนอ้วน ผ่านระบบออนไลน์

ผู้แต่ง

  • สุธรรม พงศ์สำราญ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • พิมพิไล โชคชัย คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • ทศพร มะหะหมัด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

คำสำคัญ:

ปัจจัยส่วนประสมการตลาด, การตัดสินใจ, เสื้อผ้าคนอ้วน

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าคนอ้วนผ่านระบบออนไลน์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมการตลาดและกระบวนการการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าคนอ้วนผ่านระบบออนไลน์ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือรวบรวมข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 323 คน ที่เคยซื้อและซื้อเสือผ้าคนอ้วนออนไลน์ สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบียงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐาน t-test การวิเคราะห์แบบ ANOVA (One-way ANOVA) Regression

ผลวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีอายุ ระหว่าง 26-35 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า รายได้ 15,001-20,000 บาท ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อกระบวนการการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าคนอ้วนผ่านระบบออนไลน์ พบว่า ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านการจัดจำหน่ายมีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านราคาและด้านการส่งเสริมการตลาด มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับปานกลาง กระบวนการการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าคนอ้วนผ่านระบบออนไลน์ พบว่า ด้านการรับรู้ถึงความต้องการ มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับความสำคัญมาก ด้านการค้นหาข้อมูลมีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับความสำคัญปานกลาง ด้านการประเมินผลทางเลือก มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับความสำคัญมาก ด้านการตัดสินใจซื้อ มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับความสำคัญมาก และด้านความรู้สึกภายหลังการซื้อ มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับความสำคัญมาก

ข้อเสนอแนะจากการศึกษา คือ ผู้จัดจำหน่ายสินค้าผ่านระบบออนไลน์ควรมีการคัดเลือกเสื้อผ้าคนอ้วนที่มีคุณภาพ ควรมีการออกแบบที่เหมาะสมกับรูปร่าง ควรระบุสินค้าของราคาเสื้อผ้าให้ชัดเจน ควรตั้งราคาให้เหมาะสมกับคุณภาพของสินค้า ควรมีช่องทางหลากหลายในการชำระเงิน ควรกำหนดเวลาในการสั่งซื้อสินค้าให้ชัดเจน ควรระบุรายละเอียดในการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้าให้ครบถ้วน ควรคัดเลือกรูปภาพ โฆษณาของสินค้าตามความเป็นจริง และควรมีการตรวจสอบการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้าอยู่ตลอดเวลา

References

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. (2555). ค้าปลีกเสื้อผ้าแฟชั่นระอุ แบรนด์นอกโหมดึงส่วนตลาด. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2561 เข้าถึงได้จาก http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/marketing/20120530/454112/ค้าปลีกเสื้อผ้าแฟชั่นระอุแบรนด์นอกโหมดึงส่วนตลาด.html

ปณิศา มีจินดา. (2553). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

ปุลณัช เดชมานนท์. (2556). การตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านสื่อเครือข่ายสังคมออนไลน์ในช่วงเวลา จำกัด. (การค้นคว้าแบบอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).

ภัทรานิษฐ์ ฉายสุวรรณคีร. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าจากร้านค้าในเครือข่าย เฟซบุ๊คและอินสตาแกรม. (การค้นคว้าแบบอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ : เพชรจรัสแสงแห่งโลกธุรกิจ.

สืบชาติ อันทะไชย. (2550). กระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค: การประยุกต์ใช้แบบจำลองโลจิต. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 1, 113-131.

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques (3rd ed.). New York: John wiley & Sons.

Kotler, P., & Keller, K.L. (2012). Marketing management: The millennium (14th ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-29