อัตมโนทัศน์ในการทำงานและการรับรู้วัฒนธรรมองค์การที่มีผลต่อประสิทธิภาพ การทำงานผ่านความผูกพันต่อองค์การของพนักงานในบริษัทญี่ปุ่นแห่งหนึ่ง ในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี
คำสำคัญ:
อัตมโนทัศน์ในการทำงาน, การรับรู้วัฒนธรรมองค์การ, ความผูกพันต่อองค์การ, ประสิทธิภาพการทำงานบทคัดย่อ
การทำวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของอัตมโนทัศน์ในการทำงาน การรับรู้วัฒนธรรมองค์การและความผูกพันต่อองค์การ ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานในบริษัทแห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี ประชากรในการวิจัยครั้งนี้เป็นพนักงานในบริษัทจำนวนทั้งสิ้น 1,120 คน ทำการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจำนวน 270 ชุด ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ได้แก่ การทดสอบโมเดลสมการโครงสร้างแบบวิธีกำลังสองน้อยที่สุดบางส่วน
ผลการวิจัยพบว่า ระดับความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามต่ออัตมโนทัศน์ในการทำงานและประสิทธิภาพการทำงาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.75 และ 3.84 ตามลำดับ ขณะที่การรับรู้วัฒนธรรมองค์การและความผูกพันต่อองค์การโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.30 และ 3.20 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาถึงผลการทดสอบสมมุติฐาน พบว่า อัตมโนทัศน์ในการทำงานและการรับรู้วัฒนธรรมองค์การมีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และความผูกพันต่อองค์การมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำงาน ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยในครั้งนี้คือ องค์การควรให้ความสำคัญในการเสริมสร้างอัตมโนทัศน์ที่ดี และเสริมสร้างให้พนักงานเกิดการเรียนรู้วัฒนธรรมองค์การ เพื่อเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์การมากขึ้น และประสิทธิภาพการทำงานที่แข็งแกร่งขึ้นด้วย
References
จินตนา ศรีนุรัตน์. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้วัฒนธรรมองค์การกับความผูกพันต่อองค์การกรณีศึกษาบริษัทสยามเฟอร์โร อินดัสทรี้ จำกัด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัญฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม).
จิระชัย ยมเกิด. (2549). ความผูกพันของพนักงานต้อนบริษัทลานนาเกษตรอุตสาหกรรม จํากัด.
(การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
ประภัสสร ศรีไสยา. (2550). ผลกระทบของความผูกพันกับองค์การของพนักงานต่อประสิทธิภาพการทำงาน: กรณีศึกษา บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).
ปาจรีย์ หอมนิยม. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนจากองค์การ ความผูกพันต่อองค์การ และอัตมโนทัศน์ในการทำงานของพนักงานการไฟฟ้านครหลวง ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).
ยุทธนา จิตบรรจง. (2551). อัตมโนทัศน์การทำงานที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการทหารเรือในสังกัดกรมยุทธศึกษาทหารเรือ กองทัพเรือ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
สมใจ ลักษณะ. (2549). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์พัฒนาศึกษา.
สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์ (2552). วัฒนธรรมองค์การ(Organization Culture). เชียงราย : สถาบันราชภัฏเชียงราย. สืบค้นจาก http://suthep.cru.in.th/
หทัยรัตน์ ตันสุวรรณ. (2550). ปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์กร ความจงรักภักดีต่อองค์กรและบรรยากาศในองค์กรที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สำนักงานใหญ่. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis (7th ed.). New Jersey: Pearson Education, Inc.
Meyer, J. P. & N. J. Allen. (1997). Commitment in the Workplace. Theory, Research, and Application. California: Sage Publications.
Ouchi, W. G. (1983). Theory Z: An elaboration of methodology and findings. J. Contemp. Bus 11:27-41
Rindskopf, D. (2010). Hierarchical linear models. International Encyclopedia of Education, 7, 210-215.
Selden, S. & Sowa, J. (2011). Performance management and appraisal in human service organizations: Management and staff perspectives. Public Personnel Management, 40(3), 251-264.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น