ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน บริษัท เอสเอสเค โลจิสติกส์ จำกัด

ผู้แต่ง

  • พัชร์หทัย จารุทวีผลนุกูล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • ธัญวฤณ วัทโล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • วิลาสิณี สุดประเสริฐ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

ปัจจัยจูงใจ, ปัจจัยค้ำจุน, ความผูกพันต่อองค์การ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยจูงใจ และปัจจัยค้ำจุนที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัท เอสเอสเค โลจิสติกส์ จำกัด ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ พนักงานบริษัท เอสเอสเค โลจิสติกส์ จำกัด จำนวน 172 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล และทำการวิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Independent Samples t-test, One way ANOVA และ Multiple Regression Analysis

ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ ตำแหน่งงาน ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส ประสบการณ์ทำงาน และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัท เอสเอสเค โลจิสติกส์ จำกัด แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (2) ปัจจัยจูงใจ ได้แก่ ด้านความสำเร็จในการทำงาน และด้านความรับผิดชอบ ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน บริษัท เอสเอสเค โลจิสติกส์ จำกัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีอำนาจในการพยากรณ์ร้อยละ 29.0 และ (3) ปัจจัยค้ำจุน ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ด้านความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน และด้านชีวิตส่วนตัว ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน บริษัท เอสเอสเค โลจิสติกส์ จำกัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีอำนาจในการพยากรณ์ร้อยละ 46

References

กนกพร กระจางแสง และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2560). อิทธิพลของแรงจูงใจในการทำงานและการสนับสนุนจากองค์กรที่ส่งผลต่อคุณภาพในการปฏิบัติงานผ่านความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรโรงพยาบาลนครธน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 11(26), 116-129.

กฤษดา เชียรวัฒนสุข, นิกร ลีชาคำ, และมรกต จันทร์กระพ้อ. (2562). สภาพแวดล้อมในการทำงานและแรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพทีมงาน: ข้อมูลเชิงประจักษ์จากบริษัทผลิตอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แห่งหนึ่ง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 8(2), 219-230.

เกียรติ บุญยโพ. (2562). การสร้างแรงจูงใจพนักงานเพื่อความพึงพอใจในองค์การ. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 8(1), 237-250.

ขวัญลภา กุลสรัสพร และทศพร มะหะหมัด. (2562). แรงจูงใจในการทำงานกับความผูกพันของพนักงาน บริษัทอนิลา เยม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 13(2), 102-110.

ชลภัสสรณ์ ศรีวรฉัตรภาธร และประสพชัย พสุนนท์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจลาออกจากงานของพนักงานแผนกห่วงโซ่อุปทาน: กรณีศึกษาบริษัทผู้ผลิตสินค้าอุปโภคแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. Veridian E-Jouranl, Silpakorn University, 8(1), 185-200.

ชลิตพันธ์ บุญมีสุวรรณ. (2563). ความผูกพันของพนักงานต่อองค์การ: แนวทางสู่ความสำเร็จ. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 12(1), 197-207.

ณัฏฐ์พัชร์ ลาภบำรุงวงศ์. (2562). การประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 9(2), 161-171.

ดรุณี ชมศรี, พรชัย จูลเมตต์ และนรินทร์ กระจายกลาง. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 5(1), 258-280.

ธีรพันธ์ ลมูลศิลป์ และวัชระ ยี่สุ่นเทศ. (2562). แรงจูงใจที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิตโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันดพล, 5(1), 76-84.

ปุญชรัสมิ์ สังข์เอี่ยม. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในงานและความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสายสนับสนุน สถานบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 6(3), 119-130.

สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน. (2556). Training ไม่ใช่คำตอบสุดท้าย. Development Journal for Civil Servants, 1(4), 8-9.

อภิสิทธิ์ คุณวรปัญญา และคำรณ โชธนะโชติ. (2562). อิทธิพลของแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของผู้ปฏิบัติงานตำแหน่งประเภทสนับสนุน มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ, 6(1), 300-333.

อรวรรณ ฐานวิเศษ. (2553). แรงจูงในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดชัยภูมิ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ).

Herzberg, F., Bernard, M., & Snyderman, B. (1959). The motivation to work. New York: John Willey & Sons.

Hewitt Associates. (2004). Research Brief: employee engagement higher at double digit growth companies. Retrieved from: www.hewitt.com

Riggio, R. E. (2002). Introduction to industrial/Organizational psychology (4th ed.). NJ: Prentice-hall.

The Gallup Organization. (2003). Understanding employee engagement. Retrieved from: https://www.gallup.com/topic/all_gbj_headlines.aspx

Vance, R. J. (2006). Employee engagement and commitment. SHRM foundation, 1-53.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30

How to Cite

จารุทวีผลนุกูล พ. ., วัทโล ธ. . ., & สุดประเสริฐ ว. . . (2020). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน บริษัท เอสเอสเค โลจิสติกส์ จำกัด. วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น, 2(3), 27–39. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/prn/article/view/247914