การยอมรับระบบการชำระเงินแบบคิวอาร์โค๊ดเพย์เมนต์ของผู้ประกอบการค้า และผู้บริโภคในเขตปทุมวัน
คำสำคัญ:
ทัศนคติ, การรับรู้, การยอมรับ, ระบบการชำระเงินแบบคิวอาร์โค๊ตบทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้าอิสระฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนติและการรับรู้ที่มีต่อระบบการชำระเงินแบบคิวอาร์โค๊ด (QR Code) และความคิดเห็นเกี่ยวกับความเสี่ยงของระบบการชำระเงินแบบคิวอาร์โค๊ด (QR Code) ของผู้ประกอบการและผู้บริโภค โดยผู้วิจัยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling Random) ได้แก่ ผู้ประกอบการค้าขายสินค้า ระดับใหญ่ กลาง เล็ก และลูกค้าผู้ใช้บริการร้านค้าในเขตการค้าที่มีความชุกสูงในเขตปทุมวัน จากการคัดเลือกได้จำนวนผู้ให้ข้อมูลหลักที่เป็นผู้ค้าประจำร้านและเกี่ยวข้องกับการชำระเงินจำนวน 15 ราย และผู้ใช้บริการ จำนวน 30 คน รวม 45 คน เก็บข้อมูลโดยใช้การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการวิจัย จากผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้ประกอบการค้าขายสินค้าและลูกค้ามีทัศนคติมองระบบการชำระเงินแบบคิวอาร์โค๊ด (QR Code) ว่าเป็นเรื่องใหม่ น่าสนใจ สะดวกสบาย ไม่ต้องเสียเวลารอเงินทอน หรือพบปัญหาการทอนเงินผิด 2) ผู้ประกอบการค้าขายสินค้าและลูกค้ารับรู้ว่าระบบการชำระเงินแบบคิวอาร์โค๊ด (QR Code) นั้น ร้านค้าต่าง ๆ ต้องมีการตั้งป้ายรับจ่ายเงินด้วย QR Code เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรับชำระเงินกันมากขึ้น เพื่อตอบโจทย์การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ของลูกค้าและร้านค้ารายย่อย และ 3) ผู้ประกอบการค้าขายสินค้าและลูกค้ามีความเห็นเกี่ยวกับความเสี่ยงของระบบการชำระเงินแบบคิวอาร์โค๊ด (QR Code) ในประเด็นของเงินในบัญชีอาจหาย หรือถูกโอนไปโดยไม่รู้ตัว หากผู้ใช้งานไม่มีทักษะการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนที่ดีพอ หรือไม่รู้จักระวังปล่อยให้บุคคลอื่นเห็นรหัส 6 หลัก สำหรับยืนยันตัวในโมบายแบงก์กิ้ง นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงจากการถูกไวรัสโทรจันที่แฝงในแอพลิเคชั่นต่าง ๆ โดยเฉพาะในระบบแอนดรอยด์
References
กุลนาถ ภัททานุวัตร์.(2560). ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจใช้ระบบการชำระเงิน QR Code ในการก้าวสู่สังคมไร้เงินสด กรณีศึกษา ธนาคารพานิชย์ในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).
กรณษา แสนละเอียด พีรภาว์ ทวีสุขและศรีไพร ศักดิ์รุ่งพงศากุล. (2560). การยอมรับเทคโนโลยีที่มีอิทธิพลต่อแนวโน้มความตั้งใจในการใช้บริการซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์ของกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ในกรุงเทพมหานคร. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 9(3), 3-15.
ชยาภรณ์ กิติสิทธิชัย. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการใช้งานกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-Wallet) ในการซื้อสินค้าของผู้บริโภคในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).
ชลิตพันธ์ บุญมีสุวรรณ. (2561). สังคมไร้เงินสด. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 10(2), 235-248.
ฐิตินี จิตรัตนมงคล. (2560). อิทธิพลของความคาดหวังต่อคุณภาพการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ คุณประโยชน์ และความง่ายในการใช้งาน ที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้เทคโนโลยีในการชำระเงินผ่าน QR Code ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).
ธนกร ลิ้มศรัณย์. (2561). การสื่อสารทางการตลาดดิจิทัลสู่การใช้บริการแอปพลิเคชันรถยนต์รับจ้างในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ, 7(1), 90-101.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2559) รายงานระบบการชำระเงิน 2559. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2562). แผนกลยุทธ์ระบบการชำระเงิน ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2562-2564). กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
ธัญญลักษณ์ พลวัน, สุพรรษา กุลแก้ว และณัฐสิทธิ์ เกิดศรี. (2557). ศึกษาพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีและปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยี QR Code ของกลุ่มประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร. วิศวกรรมสาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 27(88), 29-40.
พรพงศ์ จงประสิทธิผล. (2552).ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจยอมรับการชำระเงินออนไลน์ของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในกรุงเทพมหานคร. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 1(2), 30-44.
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล องค์การมหาชน. (2562). การใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนสำหรับภาครัฐ. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
อรรถพงศ์ งานขยันและรสิตา สังข์บุญนาค. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการยอมรับเทคโนโลยี การรับรู้ความเสี่ยงและแนวโน้มพฤติกรรมการใช้บริการออนไลน์แอปพลิเคชัน ทรูมันนี่ วอลเล็ทของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, ฉบับพิเศษ 2561, 55-71.
Ajzen, I., & Fishbein, M. (1975). Belief, Attitude, Intention and Behavior. Massachusetts: Addison-Wesley.
Bauer, R. A. (1960). Consumer Behavior as Risk Taking: In Dynamic Marketing for a Changing World. Edited by R.S.Hancock., Chicago: American Marketing Association.
Bovee, C. L., Houston, M. J., & Thrill, J. V. (2015). Marketing. New York: McGraw-Hill.
Davis, F. D. (1989). Perceived usefulness, perceived ease of use, and user acceptance of information technology. MIS Quarterly, 13(3), 319–340.
Guralnik, D.G. (red.). (1986). Webster's new world dictionary of the American language. New York: Prentice Hall Press.
Jacoby, J. & Kaplan. L. B. (1972). The components of perceived risk. In Proceedings from Third Annual Conference (pp. 382-393).
Rittiboonchai, W., Kriwuttisom, P., & Ngo, T. M. T. (2019). Factors affecting online shopping behavior of Thai and Vietnamese female students. RMUTT Global Business Accounting and Finance Review, 2(2), 25-34.
Schiffman, L. G., Kanuk, L. L., & Wisenblit, J. (2012). Attitude theory consumer behavior. Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.
Solomon, M.R. (2007). Consumer Behavior: Buying, having and being (7th ed.). New Jersey: Prentice-Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น