แรงจูงใจที่มีผลต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลเอกชนในจังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • วัชระ ยี่สุ่นเทศ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • ทศพร มะหะหมัด มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • จอมขวัญ ถิ่นใหญ่ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ, ขวัญและกำลังใจ, พยาบาลวิชาชีพ

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยแรงจูงใจที่มีผลต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลเอกชนในจังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ พยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการและระดับหัวหน้างานของโรงพยาบาลเอกชนในจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 206 คน โดยแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล การประมวล และการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การหาอัตราส่วนร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานที่ใช้ในงานวิจัยคือ การทดสอบค่าที การทดสอบค่าความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยเชิง พหุผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 26-30 ปี สถานภาพโสด อายุงานอยู่ระหว่าง 1-3 ปี ตำแหน่งระดับปฏิบัติการ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนประมาณ 30,001-40,000 บาท ผลการศึกษายังพบว่า พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลเอกชนในจังหวัดสมุทรปราการมีระดับคะแนนเฉลี่ยของแรงจูงใจที่มีผลต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานในระดับมาก โดยด้านสถานะอาชีพมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านความสำเร็จในการทำงาน ด้านความรับผิดชอบ ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ ด้านการได้การยอมรับนับถือ ด้านความก้าวหน้าในตำแหน่ง ด้านความมั่นคงในการทำงาน ด้านการปกครองบัญชา และด้านค่าตอบแทนตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยแรงจูงใจที่มีผลต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานมากที่สุด คือ การได้รับความไว้วางใจและความเชื่อมั่นจากผู้บังคับบัญชา รองลงมาคือ ความมั่นใจในองค์กรและต้องการจะปฏิบัติงานตลอดไป และองค์กรมีความมั่นคงและยั่งยืนอย่างมีนัยสำคัญ ผลที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้ สามารถนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาและสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานให้กับพยาบาลวิชาชีพในองค์กรได้

References

งานราชการไทย. (2560). “พยาบาท” อาชำที่ทำงานหนักมาก-ความก้าวหน้าต่ำ!!! คาด 4 ปีข้างหน้าไทยจะขาดแคลนพยาบาลสูงถึง “5 หมื่นคน”. สืบค้นจาก https://www.thaijobsgov.com/jobs/110221

ชาญสิทธิ์ วารี. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 7(20), 109-122.

บุญมา อัครแสง, เรืองยศ จันทรสามารถ, รังสรรค์ สิงหเลิศ และศักดิ์พงศ์ หอมหวน. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลมหาสารคาม. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 3(2), 79-89.

ประเวศน์ มหารัตน์สกุล. (2554). การจัดการทรัพยากรมนุษย์มุ่งสู่อนาคต. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ ส.เอเชียเพรส.

พัชรี คงดี. (2556). ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดนครสวรรค์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

ลัดดา ศรสุวรรณ์, ชัชชัย สุจริต และณัฐศิรี สมจิตรานุกิจ. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารบัณฑิตศึกษา, 10(49), 105-110.

วสันต์ พลั่วพันธ์. (2550). การศึกษาขวัญและกำลังใจพนักงานระดับปฏิบัติการ กรณีศึกษา: มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ).

สำนักข่าว Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ. (2558). วิกฤตพยาบาล สธ. ปัญหาใหญ่ ที่รัฐยังไม่เหลียวแล. สืบค้นจาก https://www.hfocus.org/content/2015/08/10554

สำนักข่าว Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ. (2559). คาดปี 63 ไทยขาดแคลนพยาบาล 5 หมื่นคน แนะดึงสถาบันศึกษาเอกชนร่วมแก้. สืบค้นจาก https://www.hfocus.org/content/2016/03/11933

Beach, D. S. (1971). Managing people at work. New York: The Macmillan Company.

Davis, K. (1967). Human relations at work. New York: McGraw-Hill.

Herzberg, F. (1959). The motivation to work. New York: Holy Wiley & Sons.

Sancetta, A. L. (1960). " Personnel Management." By Herbert J. Chruden and Arthur W. Sherman, Jr. (Book Review). Industrial and Labor Relations Review, 13(4), 658.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-30