ศึกษาความพร้อมในการบริหารงานคลังด้วยระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ (e-LAAS) ขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • อุษณี เทียนหอม คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • รุจิกาญจน์ สานนท์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

การบริหารงานคลัง, องค์การบริหารส่วนตำบล, ะบบบัญชีคอมพิวเตอร์, e-LAAS

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความพร้อมในการบริหารงานคลังด้วยระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ (e-LAAS) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (e-LAAS) ขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเพชรบุรี และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความพร้อมในการบริหารงานคลังด้วยระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (e-LAAS) ขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเพชรบุรี จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ พนักงานส่วนตำบลในจังหวัดเพชรบุรี ประกอบด้วย ข้าราชการองค์การบริหารส่วนตำบล ลูกจ้างประจำ พนักงานจ้างภารกิจ และพนักงานจ้างทั่วไปในสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเพชรบุรี จำนวน 400 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบค่าที

ผลการวิจัยพบว่า ระดับความพร้อมในการบริหารงานคลังด้วยระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ (e-LAAS) ขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเพชรบุรี โดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ซึ่งเมื่อพิจารณาเป็น รายด้านพบว่า ด้านงบประมาณมีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านการรายงาน ต่อมาคือ ด้านการวางแผน ด้านการจัดองค์การ และด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการประสานงาน สุดท้าย ด้านการอำนวยการ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ ประสบการณ์ในการทำงาน และตำแหน่งหน้าที่ที่แตกต่างกันมีผลต่อความพร้อมในการบริหารงานคลังด้วยระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ (e-LAAS) ขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเพชรบุรีโดยรวมต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

References

กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2560). ข้อมูลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สืบค้นจาก http://www.dla.go.th/work/abt/index.jsp

ชนาวรีย์ ศุภวงศ์วราภรณ์. (2553). การเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานการบันทึกบัญชีด้วยระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

นันทวัน แสงจิตต์พันธุ์. (2554). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการใช้ระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ e-LAAS ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสุพรรณบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัญฑิต, มหาวิทยาลัยสยาม).

ปวันรัตน์ วิพงษ์พันธ์. (2552). การประเมินความสามารถขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น ในการปฏิบัติงานตามโครงการ “ระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น”. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา).

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2539). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สุวีริยสาล์น.

ไพบูลย์ ณฏัฐพันธ์. (2551). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

มาลัย ฟักเงิน และปริตา ธนสุกาญจน์. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานด้านการบริหารงานคลังขององค์การบริหารส่วนตำบล: ศึกษากรณีองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).

ศูนย์ข้อมูลความรู้ของระบบบัญชีคอมพิวเตอร์. (2552). ข้อมูลระบบบัญชีคอมพิวเตอร์. สืบค้นจาก http://km.laas.go.th/laaskm/index.php?option-com_content&view=article&id=118%3A2009-04-12-08-42-12&catid=79%3A2009-04-17-08-23-17&Itemid=1

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2544). สถิติสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: บริษัทเฟื่องฟ้า พริ้นดิ้ง จำกัด.

Cochran, W.G. (1953). Sampling Techiques. New York : John Wiley & Sons. Inc

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.) New York: Harper Collins Publishers.

Gulick, L. & Urwick, L. (editors). (1937). Paper on the Science of Administration. New York: Institute of Public Administration.

Nunnally, J. C. (1978). Psychometric theory (2nd ed.) New York: McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-29