ความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อคุณภาพการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลยี่สาร อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม

ผู้แต่ง

  • วิฑูรย์ ขาวดี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
  • กนกวรรณ แสนเมือง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
  • โสรัตน์ มงคลมะไฟ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, คุณภาพการให้บริการ, องค์การบริหารส่วนตำบลยี่สาร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อคุณภาพการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบล และ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นคุณภาพการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลยี่สาร อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม โดยจำแนกตามลักษณะส่วนบุคคลของผู้รับบริการ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้มารับบริการองค์การบริหารส่วนตำบลยี่สาร จำนวน 385 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามที่ตรวจสอบความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีสอดคล้องทั้งฉบับคือ 0.89 และค่าความเชื่อมั่นคือ 0.87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว ความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่และวิธีการเปรียบเทียบความแตกต่างแบบพหุคูณของฟิชเชอร์ ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลยี่สาร โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับความพึงพอใจมากเรียงจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย ดังนี้ ด้านสิ่งที่สัมผัสได้ ด้านความน่าเชื่อถือไว้วางใจด้านการให้ความเชื่อมั่นด้านการตอบสนองความต้องการและด้านการเอาใจใส่ ตามลำดับ และ 2) ผู้รับบริการองค์การบริหารส่วนตำบลยี่สาร ที่มีอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างมีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลยี่สารโดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2560). เอกสารประกอบการบรรยายการอบรมสัมมนาผู้บริหาร อปท. เพื่อส่งเสริมธรรมาภิบาลและเสริมสร้างประสิทธิภาพการบริหารจัดการที่ดี ประจำปี พ.ศ. 2558. สืบค้นจาก http://www.dla.go.th/DLA-Magazine/DLA_Bookshelf/DLA_Bookshelf.html.

โกวิทย์ พวงงาม. (2555). ธรรมาภิบาลว่าด้วยการมีส่วนร่วมและความโปร่งใส. กรุงเทพมหานคร:มิสเตอร์ก็อปปี้.

จรัส สุวรรณมาลา และวีรศักดิ์ เครือเทพ. (2554). ประเด็นท้าทายการกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ส่งเสริมนวัตกรรมและธรรมาภิบาลท้องถิ่น.

จิตตินันท์นันทไพบูลย์. (2551). จิตวิทยาบริการ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).

ฉัตราพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: เอ็กซเปอร์เน็ท.

ชนะดา วีระพันธ์. (2555). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี. (ปัญหาพิเศษปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

ชัชวาล ทัตติวัช. (2554). คุณภาพการให้บริการเป็นแนวคิดหนึ่งได้รับการนำมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการปฏิรูประบบบริหารภาครัฐไทย. กรุงเทพมหานคร: คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรัฐภาคย์.

ชัยสมพล ชาวประเสริฐ. (2552). การตลาดบริการ พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2553). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2552). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: บิสซิเนสอาร์แอนด์.

ธีรกิติ นวรัตน์ ณ อยุธยา. (2552). การตลาดบริการ : แนวคิดและกลยุทธ์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์.

นิติพล ภูตะโชติ. (2553). การตลาดบริการ Service Marketing. ขอนแก่น: คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2550). การจัดการสมัยใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 4.กรุงเทพมหานคร: บริษัท เซ็นทรัลเอ็กซ์เพรส จำกัด.

ปกรณ์เกียรติ จารุวัฒน์ธนกิจ, เมทินี รัษฎารักษ์, และปวริศร์ มาเกิด. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการการเช็คอินด้วยตัวเองด้วยตัวเอง ที่ตู้คีออสของสายการบินไทยแอร์เอเชีย. วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น, 1(2), 13-28.

ไพฑูรย์ คุ้มคง. (2557). ความคิดเห็นของประชาชนต่อคุณภาพการให้บริการของเทศบาลตำบลนายายอาม อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี. (งานนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

ไพริน พรหมดี. (2555). คุณภาพการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนกลาง อำเภอพิบูลมังสาหารจังหวัดอุบลราชธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี).

รวีวรรณ โปรยรุ่งเรือง. (2551). จิตวิทยาบริการ. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2550). การบริหารจัดการตามแนวทางคุณธรรมและแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพมหานคร : โฟรเพซ.

วิลาวรรณ รพีพิศาล. (2550). หลักการจัดการ (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพมหานคร : วิจิตรหัตถกร.

วิไลลักษณ์ ซ่อนกลิ่น และคณะ. (2559). กลยุทธ์การตลาด. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

วัชระ ยี่สุ่นเทศ, ทศพร มะหะหมัด, และเยาวลักษณ์ แซ่เลี่ยง. (2562). ปัจจัยการขนส่งสำหรับการท่องเที่ยวที่มีผลต่อความพึงพอใจในคุณภาพ การให้บริการของธุรกิจการท่องเที่ยวในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(2), 1-11.

สถาบันวิจัยและพัฒนา. (2559). ความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อคุณภาพการให้บริการของเทศบาลเมืองท่าเรือพระแท่น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี (รายงานการวิจัย). ราชบุรี: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

สถาบันวิจัยและพัฒนา. (2560). การประเมินความพึงพอใจของประซาซนที่มีต่อคุณภาพการให้บริการของเทศบาลเมืองหนองสำโรง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี (รายงานการวิจัย). อุดรธานี: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราซภัฏอุดรธานี.

สมคิด บางโม. (2553). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหาคร : วิทยาพัฒน์.

สุธรรม ขนาบศักดิ์. (2558). ความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 (รายงานการวิจัย). สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา.

สุพรรณี อินทร์แก้ว. (2551). การบริการค้าปลีก. กรุงเทพมหานคร : ธนาเพรส.

สุวิมล แม้นจริง. (2552). การจัดการการตลาด พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เอช.เอ็น. กรุ๊ป จำกัด.

อรพันธ์ จะย้าอินทร์. (สัมภาษณ์, 2562, มกราคม 19). เจ้าหน้าที่จัดเก็บรายได้ องค์การบริหารส่วนตำบลยี่สาร อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. สัมภาษณ์.

องค์การบริหารส่วนตำบลยี่สาร. (2561). รายงานประจำปี พ.ศ. 2560. สมุทรสงคราม: มปพ. (เอกสารอัดสำเนา).

องค์การบริหารส่วนตำบลยี่สาร. (2562). องค์การบริหารส่วนตำบลยี่สาร อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. สืบค้นจาก https://www.facebook.com/tambon.yisan.

Namin, A. (2017). Revisiting customers' perception of service quality in fast food restaurants. Journal of Retailing and Consumer Services, 34, 70-81.

Ocampo, L., Alinsub, J., Casul, R. A., Enquig, G., Luar, M., Panuncillon, N., ... & Ocampo, C. O. (2019). Public service quality evaluation with SERVQUAL and AHP-TOPSIS: A case of Philippine government agencies. Socio-Economic Planning Sciences, 68, 100604.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-29