ความสุขของนักศึกษาสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
คำสำคัญ:
ความสุข, นักศึกษาสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสุขของนักศึกษาสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 4 ชั้นปีปัจจัยที่มีผลต่อความสุขและวิธีการที่นักศึกษาสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ใช้ในการจัดการเมื่อไม่มีความสุข เครื่องมือที่ใช้ ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคล ดัชนีชี้วัดความสุขคนไทย วิธีการจัดการเมื่อไม่มีความสุข และข้อเสนอแนะเพื่อให้มีความสุขเพิ่มขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติไควสแควร์ สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ในชั้นปีที่ 1 มีคะแนนเฉลี่ยความสุขมากที่สุด รองมาคือชั้นปีที่ 4 ชั้นปีที่ 2 และชั้นปีที่ 3 ตามลำดับของค่าคะแนน และพบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยความสุขในแต่ละชั้นปีที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 วิธีการจัดการที่นักศึกษาสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ใช้มากที่สุด 3 อันดับแรกเมื่อไม่มีความสุข คือ การยอมรับสภาพตนเอง การมองโลกในแง่ดีและการปรึกษาเพื่อน
References
เสริมสุขภาพ.
วันเพ็ญ หวังวิวัฒน์เจริญและสาระ มุขดี. (2539). ความเครียดของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาล
เกื้อการุณย์. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 41(2), 78-86.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2564-2564. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์เพียงผู้เดียว