การมีส่วนร่วมของกำลังพลในการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของฝูงบิน 701 และฝูงบิน 702 กองบิน 7 จังหวัดสุราษฎร์ธานี
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, บทบาทหน้าที่, ฝูงบิน 701, ฝูงบิน 702บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงระดับการมีส่วนร่วมของกำลังพลในการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของ ฝูงบิน 701 และ ฝูงบิน 702 กองบิน 7 จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของกำลังพลในการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของ ฝูงบิน 701 และ ฝูงบิน 702 กองบิน 7 จังหวัด สุราษฎร์ธานี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะในการพัฒนาการปฏิบัติงานของ ฝูงบิน 701 และ ฝูงบิน 702 กองบิน 7 จังหวัดสุราษฎร์ธานี เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย แบบสอบถามจากเจ้าหน้าที่ ที่ปฏิบัติงาน อยู่ที่ ฝูงบิน 701 และฝูงบิน 702 กองบิน 7 จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 364 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐาน ได้แก่ ค่าทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-wayANOVA) (T-Test) และเปรียบเทียบรายคู่ F–Test
ผลการวิจัยพบว่า เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน อยู่ที่ ฝูงบิน 701 และฝูงบิน 702 กองบิน 7 จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ศึกษาส่วนใหญ่ตอบแบบสอบถามมี อายุ 20–40 ปี ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน 1– 5 ปี ชั้นยศนายทหารประทวน 175 คน ระดับการศึกษาปริญญาตรี 178 คน ระดับเงินเดือน 15,000–25,000 บาท และสังกัด ฝูงบิน 701 และ ฝูงบิน 702 กองบิน 7 จังหวัดสุราษฎร์ธานี 186 คน ตามลำดับ การมีส่วนร่วมของกำลังพลในการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของ ฝูงบิน 701 และ ฝูงบิน 702 กองบิน 7 จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านเตรียมและปฏิบัติการใช้กำลังทางอากาศตามที่กองทัพอากาศกำหนด ด้านควบคุมบัญชาการพิสูจน์ฝ่าย (การวิเคราะห์เป้าหมายโดยใช้เรดาร์) ด้านร่วมดำเนินการ ด้านการร่วมประเมินผล ด้านการร่วมรับผลประโยชน์ ด้านการร่วมคิด ด้านลาดตะเวนและแจ้งเตือนภัยทางอากาศ ด้านช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางธรรมชาติ ด้านการปฏิบัติสงครามอิเล็กทรอนิกส์ ตามลำดับ การเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วม กำลังพลของ ฝูงบิน 701 และฝูงบิน 702 กองบิน 7 จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลพบว่า ผู้ที่มีชั้นยศ แตกต่างกัน ผู้ที่มีระดับการศึกษา ผู้ที่มีระดับเงินเดือน มีส่วนร่วม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่ผู้ที่มีสังกัด ผู้ที่มีอายุ ผู้ที่มีระยะเวลาในการปฏิบัติงาน มีระดับการมีส่วนร่วมไม่แตกต่างกัน
References
ขวัญชัย น้ำสมบูรณ์. (2554). การมีส่วนร่วมของประชาชนตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.
จิตรศิริ ขันเงิน. (2547). การศึกษาการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล: กรณีศึกษาโรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่งสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). ขอนแก่น:
มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ทรงยศ นพภาพันธ์. (2553). ศึกษาความต้องการมีส่วนร่วมในการพัฒนาของบุคลากรและประชาชนตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลคลองรี อำเภอสทิงพระ
จังหวัดสงขลา(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
นิราศ ยุบล และคณะ. (2541). บทบาทที่เป็นจริงและที่คาดหวังของคณะกรรมการโรงเรียน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2543). การพัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: สถาบันราชภัฎพระนครศรีอยุธยา.
มนตรี แก้วสำโรง. (2552). การบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมในเขตพื้นที่อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต.
วรรณะ บรรจง. (2551). ปัจจัยเชิงสาเหตุและผลของเอกลักษณ์ นักศึกษาครูและการรับรู้ความสามารถของตนในการเป็นครูนักวิจัยของนักศึกษาครูที่มีต่อพฤติกรรมครูนักวิจัยของนักศึกษาครูใน
ยุคปฏิรูปการศึกษา (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์เพียงผู้เดียว