การเลือกใช้บริการขนส่งน้ำดื่มโดยใช้กระบวนการวิเคราะห์ตามลำดับชั้น กรณีศึกษาผู้ประกอบการโรงงานน้ำดื่ม กรณีศึกษา บริษัท LOG จำกัด

ผู้แต่ง

  • ธนิษฐ์นันท์ จันทร์แย้ม สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • ถิรนันท์ ทิวาราตรีวิทย์ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

กระบวนการวิเคราะห์ตามลำดับชั้น, การตัดสินใจกลับมาใช้บริการ, บริการขนส่งน้ำดื่ม, น้ำหนักความสำคัญ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ประกอบการ วิเคราะห์เปรียบเทียบปัจจัย และนำเสนอแนวทางในการเลือกใช้บริการในการขนส่งโรงงานน้ำดื่ม บริษัท LOG จำกัด ในการเลือกบริการขนส่ง โดยได้แบ่งปัจจัยหลักในการพิจารณาออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านลักษณะองค์กร 2) ปัจจัยด้านการบริการลูกค้า และ 3) ปัจจัยด้านต้นทุน โดยในแต่ละด้านประกอบด้วยปัจจัยย่อยรวม 12 ปัจจัย มีวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง แบบ In-depth Interview โดยเลือกพนักงานที่มีความเชี่ยวชาญในด้านขนส่งและมีส่วนเกี่ยวข้องกับหน้าที่ขนส่ง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ตามกระบวนการวิเคราะห์ตามลำดับชั้น (AHP) และสถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ การตรวจสอบความสอดคล้อง (Consistency Ratio - CR) การตรวจสอบความสอดคล้องกันของเหตุผล (Consistency Ratio: C.R) ค่า Eigenvector ค่าดัชนีความสอดคล้องตามขนาดของเมตริกซ์ (Random Consistency Index:: R.I.) ในการวิจัยครั้งนี้ได้มีการวิเคราะห์เปรียบเทียบปัจจัยเหล่านี้เพื่อให้ได้ทางเลือกที่เหมาะสมในการใช้บริการขนส่งน้ำดื่ม

ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลกระทบมากที่สุดในการเลือกบริการขนส่งน้ำดื่ม คือ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงและค่าซ่อมบำรุงยานพาหนะ ซึ่งมีน้ำหนักคิดเป็นร้อยละ 23 เมื่อเปรียบเทียบปัจจัยทั้งหมด ทางเลือกที่มีน้ำหนักความสำคัญสูงสุด คือ การใช้บริการขนส่งแบบผสม คิดเป็นร้อยละ 43 รองลงมาคือ การใช้บริการขนส่งแบบรถร่วม คิดเป็นร้อยละ 41 และน้อยที่สุดคือ การใช้บริการขนส่งโดยรถของโรงงาน คิดเป็นร้อยละ 16 โดยผลที่ได้ผู้ประกอบการสามารถนำไปเขียนเป็นแผนการของการเลือกใช้บริการขนส่งเพื่อให้สามารถลดต้นทุนและแนวทางในการบริหารจัดการผู้ให้บริการขนส่ง

References

กิตตินาท นุ่นทอง, วงศ์ธีรา สุวรรณิน และดารณี พลอยจั่น. (2564, กันยายน-ธันวาคม). ปัจจัยคุณภาพ การบริการโลจิสติกส์ที่ส่งผลต่อความภักดีของผู้ใช้บริการ ธุรกิจผู้ให้บริการโลจิสติกส์ในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 4(3), 42-63.

ฐิติพล พงวิรัตน์สุข. (2566). การจัดการโลจิสติกส์เพื่อพัฒนาธุรกิจสังคมไทย. มจร. การพัฒนาสังคม, 8(2), 400-414.

ธิษณา อุ่นไพร และวศิน เหลี่ยมปรีชา. (2565). กลยุทธ์ทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อน้ำดื่ม บรรจุขวดใน อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก. [วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ไพโรจน์ เร้าธนชลกุล และจุฑามาศ ทองทวี. (2564). การวิเคราะห์และหาแนวทางในการลดต้นทุนการขนส่ง : กรณีศึกษา. [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

เมดไทย. (2561). ประโยชน์ของน้ำ ! วิธีดื่มน้ำอย่างถูกวิธีและโทษของน้ำ. https://medthai.com/น้ำ/.

วรรณา ยงพิศาลภพ. (2565). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรมปี 2565-2567: อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม. https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/Food-Beverage/Beverage/IO/iobeverage-2022.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). รายงานดัชนีวัดประสิทธิภาพระบบโลจิสติกส์ระหว่างประเทศปี 2561. https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=8143&filename=index

Arabelen, G., & Kaya, H. T. (2021). Assessment of logistics service quality dimensions: a qualitative approach. Journal of Shipping and Trade, 6, 1-13.

Bouzaabia, R., Bouzaabia, O., & Capatina, A. (2013). Retail logistics service quality: a cross‐ cultural survey on customer perceptions. International Journal of Retail & Distribution Management, 41(8), 627-647.

Council of Supply Chain Management Professionals [CSCMP]. (2021). CSCMP Supply chain management definitions and glossary. https://cscmp.org/CSCMP/Educate/SCM_Definitions_and_Glossary_of_Terms.aspx

Hsiao, Y. C., & Chen, H. C. (2018). A study of the vehicle selection for transportation based on the transportation industry in Taiwan. Journal of Industrial Engineering and Management, 11(1), 21-33. https://doi.org/10.3926/jiem.2518

Huma, S., Ahmed,W., Ikram, M., & Khawaja, M. I. (2020). The effect of logistics service quality on customer loyalty: case of logistics service industry. South Asian Journal of Business Studies, 9(1), 43-61.

Kadlubek, M. (2020). Completeness meter in logistics service quality management of transport companies. International Journal for Quality Research, 4(14), 1223-1233.

Kumar, S., & Singh, R. (2020). Factors influencing selection of transportation mode: An empirical analysis. Transportation Research Part E: Logistics and Transportation Review, 138, 101-114. https://doi.org/10.1016/j.tre.2020.101114

Ojo, J. A., & Adebisi, Y. A. (2021). Evaluation of transport vehicles for the delivery of water in urban areas: A case study of Ibadan, Nigeria. Water Science and Technology, 83(3), 610-622. https://doi.org/10.2166/wst.2021.050

Saaty, T. L. (1977). A scaling method for priorities in hierarchical structures. Journal of Mathematical Psychology, 15(3), 234-281.

_______. (1980). The Analytic Hierarchy Process: Planning, Priority Setting, Resources Allocation. McGraw-Hill.

Stank, T. P., Goldsby, T. J., & Vickery, S. K. (1999). Effect of service supplier performance on satisfaction and loyalty of store managers in the fast food industry. Journal of operations management, 17(4), 429-447.

Vu, T. P., Grant, D. B., & Menachof, D. A. (2020). Exploring logistics service quality in Hai Phong, Vietnam. The Asian Journal of Shipping and Logistics, 362)), 64-654.

Zahir, M., & Basak, R. (2013). AHP for transportation selection in the supply chain. Journal of Transport and Supply Chain Management, 7(1), 39-53. https://doi.org/10.4102/jtscm.v7i1.51

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-25