การศึกษาอิทธิพลของตัวแปรกำกับด้านเพศชาย เพศหญิง และเพศทางเลือก ต่อความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมการตลาด 7Ps กับความตั้งใจใช้บริการเสริมความงามซ้ำ

ผู้แต่ง

  • พรทิพย์ ตันติวิเศษศักดิ์ หลักสูตรธุรกิจระหว่างประเทศ(bilingual) วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • เพียรใจ โพธิ์ถาวร หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

ส่วนประสมการตลาดบริการ(7Ps), เพศทางเลือก, ความตั้งใจซื้อซ้ำ, ความหลากหลายทางเพศ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอิทธิพลของส่วนประสมการตลาด7Ps ที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้บริการเสริมความงามซ้ำ 2) ศึกษาอิทธิพลตัวแปรกำกับด้านเพศต่อความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมการตลาด 7Ps และความตั้งใจใช้บริการเสริมความงามซ้ำ 3) ศึกษาและเปรียบเทียบความแตกต่างทางเพศที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้บริการเสริมความงามซ้ำ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่ม โดยมีประชากร คือ คนไทยที่เคยใช้บริการเสริมความงามและอาศัยอยู่ในไทยระหว่างที่ทำแบบสอบถาม อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป แบ่งเป็นเพศหญิง เพศชาย และเพศทางเลือกอย่างละ 200 คน รวม 600 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ (Pearson Correlation) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์และพยากรณ์ด้วยสมการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) และการวิเคราะห์ One-way ANOVA

ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีการแจกแจงปกติ และตัวแปรอิสระที่ศึกษาไม่มี  Multicollinearity ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนประสมการตลาด 7Ps กับความตั้งใจใช้บริการเสริมความงามซ้ำ มีค่าระหว่าง 0.426 - 0.739 ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบ Enter พบว่าส่วนประสมการตลาด 7Ps ส่งผลเชิงบวกกับความตั้งใจใช้บริการเสริมความงามซ้ำอย่างมีนัยสำคัญ สามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 28.90 (R2)  และเมื่อมีเพศเป็นตัวกำกับทำให้ค่าพยากรณ์เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 29.80 (R2) นอกจากนี้ยังพบว่าเพศที่แตกต่างกันส่งผลต่อความตั้งใจใช้บริการเสริมความงามซ้ำต่างกัน ผลการวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ให้ผู้ประกอบการบริการเสริมความงามเข้าใจความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่ม และทำการออกแบบกลยุทธ์ที่เหมาะสมได้ บทความวิจัยนี้ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์จากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ หมายเลขใบรับรอง COA011/67

References

กมลมาลย์ แจ้งล้อม, ปุญญภพ ตันติปิฎก และกีรติญา ครองแก้ว. (2567). เปิดมุมมองความสวยยุคใหม่....โอกาสเติบโตของเวชศาสตร์ความงาม. https://www.scbeic.com/th/detail/product/surgery-170424

กฤติยา ทองคำ.(2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการกลับมาใช้บริการโรงแรม 3 - 5 ดาวในภาคใต้ประเทศไทยของนักท่องเที่ยวเจเนอเรชั่นวาย. [สารนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหิดล.

ขนิษฐา ช่างเหล็ก และ ยุทธนาท บุณยะชัย. (2564). กระบวนการตัดสินใจเข้าใช้บริการคลินิกดูแลรักษาผิวหน้าของเพศชายในจังหวัดนนทบุรี. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) ,15(2). 238-248. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/263383/175067

ชี้เป้า! คลินิกสุขภาพเพศหลากหลาย สำหรับ LGBTQ+. (2566). https://www.muangthai.co.th/th/article/health/bkk-pride-clinic

จริยา แย้มสำราญ. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจและความตั้งใจในการซื้อซ้ำเสื้อผ้า ผ่านร้านค้าบนสื่อสังคมออนไลน์. [สารนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหิดล.

ทีมข่าวคุณภาพชีวิต.(2564). 'Pride Clinic' เจาะตลาด 'LGBTQ+' ศักยภาพสูง. https://www.bangkokbiznews.com/social/947009

ทีปกา ชวาลวิทย์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการคลินิกเพื่อความงามด้านผิวพรรณกลุ่มผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. [การศึกษาค้นคว้าอิสระเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

ไทยพับลิก้า. (2024). ทิศทาง-อนาคต อุตสาหกรรมความงาม อานิสงส์ต่อเศรษฐกิจไทย. https://thaipublica.org/2024/01/future-trends-of-thailand-aesthetic-surgery-industry/

นิภา วิระสอน, สันทัด ทองรินทร์ และ ปิยฉัตร ล้อมชวการ. (2563). การรับรู้กลยุทธ์การโฆษณาบนเพซบุ๊กที่ส่งผลต่อการตัดสินใจทำศัลยกรรมใบหน้าของผู้ชายในเขตกรุงเทพมหานคร. สักทอง: วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์(สทมส.).26(2). 166-179. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/tgt/ article/ view/243962/165678

บริษัท เดอะมิทธ์ จำกัด. (2566). คาดการณ์ ตลาดสินค้าความงามในประเทศปี 67 โตถึง 10.4%. http://surl.li/rmynrn

เบญจวรรณ สระวัง และ ชุติมาวดี ทองจีน. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสถานความงามและสปาเพื่อสุขภาพในจังหวัดจันทบุรี. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ UTCC Academic Day ครั้งที่ 2.

ผลินสุ อังศุนากุล. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการซ้ำของคลินิกเสริมความงามของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในยุค New Normal. วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหิดล.

พลากร แก้วทิพย์.(2562). การพัฒนารูปแบบและกลยุทธ์การตลาดการท่องเที่ยวของกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีความหลากหลายทางเพศ กรณีศึกษา สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่. [สารนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหิดล.

มงคล คงตรี. (2561). การวิเคราะห์ทางภูมิศาสตร์ของการทำศัลยกรรมความงามในประเทศไทย. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ลงทุนแมน. (2565). กรณีศึกษาโมเดลธุรกิจ “คลินิกการแพทย์ความงาม” ที่รายได้โตไม่หยุด. https://www.longtunman.com/42408

ศศิธร ภูศรี และ พัฒน์ พัฒนรังสรรค์. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความถี่ในการใช้บริการคลินิกเสริมความงาม. วารสาร มจรสังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 12(4), 1-12. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/ article/ view/261734

ศรายุธ แดงขันธ์. (2564). คุณภาพบริการและภาพลักษณ์ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจและความตั้งใจใช้ซ้ำคลินิคเสริมงามของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. [การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สหัษฐา เมฆสุธีพิทักษ์. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำศัลยกรรมความงามสไตล์เกาหลีของผู้หญิงข้ามเพศในประเทศไทย. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 12, (หน้า 634–648). http://journalgrad.ssru.ac.th/index.php/8thconference/article/view/2361

สุปรียา ช่วยเมือง, ณิชาภัทร วัชรธรรมมาพร, ภัทรมน คําเครือ, รุ่งรพี พูลนาผล และ ทัชชกร สัมมะสุต. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและคุณภาพบริการที่มีอิทธิพลต่อการกลับมาใช้บริการซ้ำของผู้บริโภคร้าน After Yum โดยส่งผ่านความพึงพอใจ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 12(2). 309-321.

อัญมณี สัจจาสัย. (2567). ความหลากหลายทางเพศตอนที่ 1: เพศสภาพและ LGBTQI คืออะไร. https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/elaw_parcy/ewt_dl_link.php?nid=2649

ออเนสด็อคส์(HonestDocs). (2562). ผลสำรวจพฤติกรรมการเข้าคลินิกเสริมความงามของกลุ่มตัวอย่าง 9,351 คน พ.ศ. 2562. https://hd.co.th/beauty-clinic-survey-2019

Ahmad, S. N., Musab, R., & Harun, M. H. M. (2016). The impact of social media content marketing (SMCM) towards brand health. https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/ S2212567116301332/pdf?md5=d423dd0160e5f5da9d41133da0f0c341&pid=1-s2.0-S2212567116301332-main.pdf

Booms, B.H. & Bitner, M.J. (1981). Marketing strategies and organization structures for service firms. In Donnelly, J.H., & George, W.R. (Eds), Marketing of Services, American Marketing Association, Chicago, IL, pp. 47-51.

Estimated LGBT Purchasing Power: LGBT-GDP - data as of year-end. (2022). https://lgbt-capital.com/

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis (7thed.). Pearson.

Karami, M., Karami, S., & Elahinia, N. (2021). Personality or quality: Influencing factors in customers' intention to revisit beauty salons in Iran. International Journal of Management, Accounting and Economics, 8(5), 296-319. https://doi.org/10.5281/zenodo.5062745

Kotler, P., & Armstrong, G. (2018). Principles of marketing (17th ed.). Prentice Hall.

Kurnianingrum, A., & Hidayat, A. (2020). The influence of service quality and price perception on consumer trust and revisit intention at beauty care clinics in Indonesia. Archives of Business Research, 8(6), 268-281.

Payne, A. (1993). The essence of service marketing. Prentice Hall.

Sun, J. P. (2022). Effects of beauty service workers’ image-making on customer satisfaction and revisit intention. Asian Journal of Beauty and Cosmetology, 20(2), 261-271. https://doi.org/10.20402/ajbc.2022.0047

Zeithaml, V. A. (1988). Consumer perceptions of price, quality, and value: A means-end model and synthesis of evidence. Journal of Marketing, 52(2), 2-22.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-25