การยกระดับผลิตภัณฑ์และเพิ่มมูลค่าทางการตลาดผลิตภัณฑ์หมูทุบ ของวิสาหกิจชุมชนจังหวัดอ่างทอง
คำสำคัญ:
ยกระดับผลิตภัณฑ์, การเพิ่มมูลค่า, ต้นทุนผลิตภัณฑ์, ผลิตภัณฑ์หมูทุบบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากระบวนการผลิตและยกระดับผลิตภัณฑ์หมูทุบ 2) เพื่อการคำนวณต้นทุนกำหนดราคาขายผลิตภัณฑ์หมูทุบ และ 3) เพื่อพัฒนาและขยายช่องทางการตลาดผลิตภัณฑ์หมูทุบของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดอ่างทอง ด้วยการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมโดยได้สำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูล ประชากร คือ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรบ้านรีพัฒนา ตำบลบ้านรี อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง จำนวน 42 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง คือ กลุ่มแม่บ้านเกษตรบ้านรีพัฒนา จำนวน 10 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและสังเกตการณ์ และวิเคราะห์ผลเชิงพรรณนาจากข้อมูลที่ศึกษา
ผลการศึกษา พบว่า กระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์หมูทุบกลุ่มแม่บ้านเกษตรบ้านรีพัฒนา มีขั้นตอนการผลิต โดยเริ่มต้นจากการเลือกเนื้อหมูที่สดใหม่และมีคุณภาพดี มาล้างทำความสะอาดและตัดแต่งและหั่นเนื้อหมูตามเส้นใยกล้ามเนื้อ ให้มีขนาดความหนาบางเท่า ๆ กัน นำมาหมักกับส่วนผสมแล้วนำไปตากแดดจนแห้ง หลังจากนั้นนำมาย่างให้สุกแล้วนำไปทุบ และนำมาอบอีกครั้งก่อนบรรจุเพื่อกำจัดความชื้น แล้วจึงนำไปบรรจุในถุงสูญญากาศ บรรจุใส่กล่องและจัดจำหน่าย ผลการวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตและการกำหนดราคาขาย พบว่า มีการคำนวณต้นทุนการผลิตแต่ยังไม่ถูกต้องตามหลักการบัญชี การกำหนดราคาขายใช้วิธีการบวกกำไรจากต้นทุนที่คำนวณและดูราคาของคู่แข่งเพื่อมากำหนดราคาขายเอง จากการคำนวณต้นทุนการผลิต พบว่า ผลิตภัณฑ์หมูทุบมีต้นทุน 81.98 บาท/กล่อง (น้ำหนักบรรจุ 100 กรัม) แนวทางการวางแผนกำไรให้ผลิตภัณฑ์หมูทุบจะได้ราคาขายใหม่ โดยกำหนดอัตราส่วนเพิ่ม 100% เท่ากับ 163.96 บาทต่อกล่อง และได้มีการเพิ่มช่องทางการการตลาดผลิตภัณฑ์หมูทุบในรูปแบบออนไลน์เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งช่องทาง
References
Agility PR Solutions. (2023). Marketing channel theory. https://www.agilitypr.com
Deejam, R. & Chantarasupasen, J. (2021). Digital marketing development of Lotus seeds product community enterprise at phichit province. Journal of the Association of Researchers, 26(1), 166-178.
Kittimanorom, P. (2017). Management accounting. O. S. Printing House.
Meeampol, S. (2015). Managerial accounting (23 th ed.). Sematham.
Office of Agricultural Economics. (2024). National swine producers association, pork market situation and trends for 2024. https://www.swinethailand.com/.
Senachan, N. (2023). Cost analysis and break-even points in herb pickled fish production business of ban nong phue community enterprise, ban phai district, Khon Kaen Province. NEU Academic and Research Journal, 13(4), 151-163.
Sujkird, A. (2022). Guidelines for product development and marketing through information systems of Thai Dessert Enterprise Group, Village No. 6, Khlong Kwai Subdistrict, Sam Khok District, Pathum Thani Province. Journal of Management Science
Review, 24(1), 65-76.
Thai Industrial Standards Institute (TISI). (2023). Community Product Standard for Pork Ribs : MPCS. https://www.tisi.go.th.
Thanaanawat, P. (2020). Production cost analysis and pricing of traditional thai dessert of
community enterprise product, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province. Journal of Management Science Review, 22(2), 169-180.
Upradit, A. (2023). Costs and returns of community enterprises in plastic lines weaving of ban mohluang, Mae Moh District, Lampang Province. NEU ACADEMIC AND RESEARCH JOURNAL, 13(4), 252–263. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/268033.
Wong, A. (2023). Market trends and consumer preferences in Thai food products. Food Business Review, 8(3), 95-108.
Yimto, C. (2007). Food preservation. Odeon Store.