การพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการธุรกิจของกลุ่มผู้ผลิตสินค้าเกษตรประเภทข้าวในเขตจังหวัดกำแพงเพชร
คำสำคัญ:
กลยุทธ์การบริหารจัดการธุรกิจ, กลุ่มผู้ผลิตสินค้าเกษตรประเภทข้าว, จังหวัดกำแพงเพชรบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการธุรกิจของกลุ่มผู้ผลิตสินค้าเกษตรประเภทข้าว 2) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยภายนอกที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการธุรกิจของกลุ่มผู้ผลิตสินค้าเกษตรประเภทข้าว 3) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการธุรกิจของกลุ่มผู้ผลิตสินค้าเกษตรประเภทข้าว 4) เพื่อประเมินกลยุทธ์การบริหารจัดการธุรกิจของกลุ่มผู้ผลิตสินค้าเกษตรประเภทข้าวในเขตจังหวัดกำแพงเพชร วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา แหล่งข้อมูลประกอบด้วย เกษตรกรกลุ่มผู้ผลิตสินค้าเกษตรประเภทข้าวของจังหวัดกำแพงเพชรที่เป็นสมาชิกกลุ่มแปลงใหญ่ข้าว จำนวน 370 คน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หน่วยงานภาครัฐและเอกชน นักวิชาการด้านการบริหารธุรกิจ และยุทธศาสตร์ จำนวน 17, 9 และ 19 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม แบบการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม แบบตรวจสอบองค์ประกอบ กลยุทธ์ และแบบประเมินกลยุทธ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า 1) สมาชิกกลุ่มผู้ผลิตสินค้าเกษตรประเภทข้าว มีความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับการปฏิบัติการบริหารจัดการธุรกิจของกลุ่มฯ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ระดับปัจจัยภายนอกที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการธุรกิจของกลุ่มผู้ผลิตสินค้าเกษตรประเภทข้าว ในจังหวัดกำแพงเพชร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) กลยุทธ์การบริหารจัดการธุรกิจของกลุ่มผู้ผลิตสินค้าเกษตรประเภทข้าว ในจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 5 กลยุทธ์คือ การบริหารจัดการการผลิตข้าว การบริหารจัดการการเงินธุรกิจข้าว การบริหารจัดการการตลาดธุรกิจข้าว พันธมิตรทางธุรกิจข้าว และการพัฒนาศักยภาพเกษตรกรในการดำเนินธุรกิจการเกษตร 4) ผลการประเมินกลยุทธ์การบริหารจัดการธุรกิจของกลุ่มผู้ผลิตสินค้าเกษตรประเภทข้าวในเขตจังหวัดกำแพงเพชร พบว่า วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ กลยุทธ์ มาตรการ และตัวชี้วัด มีความสอดคล้องกันในระดับมากถึงมากที่สุด
References
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2558). คู่มือการดําเนินงานการส่งเสริมการเกษตรในรูปแบบแปลงใหญ่ปีงบประมาณ 2558. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
จิตติพัฒน์ จำเริญเจือ และวิภาวี กฤษณะภูติ. (2556, กรกฏาคม). แนวทางการพัฒนาการจัดการศูนย์ส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชนในจังหวัดกาฬสินธุ์สู่ความยั่งยืน. วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม, 2,(2), 129–150.
ชนนิภา ทองรอด (2560). แนวทางการบริหารจัดการกลุ่มนาแปลงใหญ่บ้านทับยา จังหวัดสิงห์บุรี. [วิทยานิพนธ์ เกษตรศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2553). Modern Management การจัดการสมัยใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 7). ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.
ภัค อินพินิจ. (2554). การบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชน: กรณีศึกษากลุ่มศูนย์ส่งเสริมผลิตพันธุ์ข้าว ชุมชนบ้านถลุงเหล็ก ตําบลใหม่นาเพียง อําเภอแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น. [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ยุทธ ไกยวรรณ์. (2558). หลักสถิติวิจัยและการใช้โปรแกรม SPSS. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์. (2551). กลยุทธ์การแข่งขันของธุรกิจ. มติชน.
สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดกำแพงเพชร. (2565). ภัยคุกคามที่เกิดขึ้นและมีผลกระทบต่อภาคการเกษตร จังหวัดกำแพงเพชร.
สำนักงานจังหวัดกำแพงเพชร. (2565). แผนพัฒนาพัฒนาจังหวัดกำแพงเพชร.
สุพจน์ ทรายแก้ว. (2553). เอกสารประกอบการอบรบเรื่อง เทคนิคในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
สุรชัย กังวลและภัสสรณ์ คงธนจารุอนันต์. (2563). รายงานวิจัยรูปแบบการบริหารจัดการในการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตระบบเกษตรนาแปลงใหญ่สู่ความยั่งยืน. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
เอกชัย บุญยาทิษฐาน. (2553). คู่มือวิเคราะห์ SWOT อย่างมืออาชีพ. ปัญญาชน.
Bartol, K.M., & Martin, D.C. (1998). Management. McGraw-Hill.