บทบาทของกลยุทธ์การตลาดสีเขียวต่อภาพลักษณ์แบรนด์

ผู้แต่ง

  • ฤดี เสริมชยุต สาขาวิชาการตลาด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

กลยุทธ์การตลาดสีเขียว, ภาพลักษณ์แบรนด์, การสร้างคุณค่าของแบรนด์, พฤติกรรมผู้บริโภค, ปัญหาสิ่งแวดล้อม, บทบาทของการตลาดสีเขียว, ผลิตภัณฑ์สีเขียว

บทคัดย่อ

ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมมีมากขึ้น และส่งผลกระทบต่อผู้คนทั่วโลก ทำให้กลายเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องตระหนักถึงความร้ายแรง และร่วมมือร่วมใจในการลดปัญหาที่จะเกิด โดยภาคธุรกิจกลายเป็นจำเลยคนสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการผลิตสินค้าหรือการบริการ เพราะต่างมีส่วนสำคัญในการใช้พลังงานจากฟอสซิลเพิ่มขึ้น และปล่อย CO2 มากขึ้น ส่งผลให้อุณหภูมิสูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ประกอบกับปัจจุบันผู้บริโภคมีความสนใจปัญหาสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นกลุ่มที่ยอมจ่ายมากขึ้นหากผลิตภัณฑ์หรือบริการ มีส่วนสำคัญในการช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ทำให้กลยุทธ์การตลาด   สีเขียวมีบทบาทสำคัญต่อการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แบรนด์ต่าง ๆ โดยเฉพาะท่ามกลางการแข่งขันทางการตลาดที่รุนแรง ทุกแบรนด์ต่างต้องการสร้างฐานลูกค้าที่มีความจงรักภักดีให้มากที่สุด ภาพลักษณ์ของแบรนด์ที่ดี สามารถสร้างคุณค่าและเชื่อมโยงไปยังผู้บริโภคได้ การสร้างคุณค่าของแบรนด์ต้องทำผ่านการบอกเล่าถึงคุณประโยชน์ของแบรนด์ที่มีให้ผู้บริโภคอย่างจริงใจ นอกจากนั้น แบรนด์ที่ดียังต้องสามารถสร้างประสบการณ์ผ่านวัฒนธรรมของแบรนด์ เพื่อเชื่อมโยงไปถึงบุคลิกภาพของผู้บริโภคได้ แบรนด์จึงจะมีภาพลักษณ์ที่ดี เช่น The Body Shop เป็นแบรนด์ที่มุ่งเน้น  การใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถรีไซเคิลได้ ยังสนับสนุนโครงการที่ช่วยเหลือชุมชนทั่วโลก เช่น การค้าที่เป็นธรรม (Fair Trade) ซึ่งช่วยให้ชุมชนในประเทศกำลังพัฒนามีรายได้และมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ภาพลักษณ์ของ The Body Shop จึงเชื่อมโยงกับการเป็นแบรนด์ที่ใส่ใจต่อทั้งผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ดังนั้นกลยุทธ์การตลาดสีเขียวจึงมีบทบาทในการเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ทำให้แบรนด์มีภาพลักษณ์ที่ดี และยังสามารถเชื่อมโยงไปยังกลุ่มผู้บริโภคที่สนใจปัญหาสิ่งแวดล้อมตลอดจนสามารถสร้างความยั่งยืนให้แบรนด์ได้

References

กฤตพล สุธีภัทรกุล (2567). คนไทยเตรียมร้อนตับแตก ปี 2567 อุณหภูมิโลกร้อนสุดในประวัติศาสตร์. https://www.bangkokbiznews.com/environment/1116005

ชุติมา วุ่นเจริญ (2556). ความรับผิดชอบต่อสังคมกับธุรกิจโรงแรม.วารสารวิทยาการจัดการ,30(1), 143-158

ลักษมี พันธุ์ธนโสภณ. (2555). กลยุทธ์การตลาดสีเขียว: แนวคิดใหม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 18(3), 323–334.

วิทวัส รุ่งเรืองผล. (2562). หลักการตลาด (พิมพ์ครั้งที่ 10 ed.). กรุงเทพฯ: มาร์เก็ตติ้งมูฟ.

อานุมาต มะหมัด และพีรภาว์ ทวีสุข. (2561). ภาพลักษณ์ตราสินค้าที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปประเภทไส้กรอก ในร้านสะดวกซื้อ A ในกรุงเทพมหานคร. สุทธิปริทัศน์, 32(103), 131-145.

Ali M. (2021). A social practice theory perspective on green marketing initiatives and green purchase behavior. Cross Cultural & Strategic Management, 28, 815–838.

Amoako et al., (2022). Green marketing and the SDGs: emerging market perspective. Marketing Intelligence & Planning, 40, 310–327.

Fernando, J. (2024, April 15). What Is Green Marketing? Definition, Example and How It Works. Retrieved from https://www.investopedia.com/terms/g/green-marketing.asp

Kawalin Limprakhon. (2022). Green Marketing trend, a new opportunity in an era that cares about nature. Retrieved May 20, 2024, From, https://contentshifu.com/blog/what-is-green-marketing

Kotler, P., & Armstrong, G. (2011). Principle of marketing. Pearson Education Inc: Prentice Hall.

Majeed, Muhammad Ussama, Sumaira Aslam, Shah Ali Murtaza, Szakács Attila, and Edina Molnár. 2022. "Green Marketing Approaches and Their Impact on Green Purchase Intentions: Mediating Role of Green Brand Image and Consumer Beliefs towards the Environment" Sustainability 14, no. 18: 11703. https://doi.org/10.3390/su141811703

Suki, N. M. (2016). Green product purchase intention: impact of green brands, attitude, and knowledge. British Food Journal, 118(12), 2893-2910.

The Digital Tips. (2022). What is Brand Identity? 6 elements of brand identity. Retrieved May 20, 2024, From https://thedigitaltips.com/blog/marketing/brand-identity/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-29