การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสำหรับผู้ประกอบการตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในจังหวัดเลย

ผู้แต่ง

  • วรากรณ์ ใจน้อย มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • เหมวดี กายใหญ่ สาขาวิชาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • รภัสสา ชาติกุล สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • ธงชัย สุภา สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

คำสำคัญ:

การพัฒนา, รูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ, แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์, กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพผู้ประกอบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในจังหวัดเลย และ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสำหรับผู้ประกอบการตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในจังหวัดเลย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบสนทนากลุ่ม แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง โดยมีประชากรในการศึกษาเป็นผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ จำนวน 50 ราย ประกอบด้วย กลุ่มธุรกิจที่พัก จำนวน 20 คน กลุ่มธุรกิจเพื่อสุขภาพ (สปา นวด สมุนไพร) จำนวน 18 คน และ กลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ จำนวน 12 คน โดยการวิเคราะห์เนื้อหาการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาในการหาค่าความถี่และร้อยละ     การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ตามประเด็นการพัฒนารูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในจังหวัดเลย การแปลผลและการให้ความหมายข้อมูลเชิงคุณภาพ สำหรับข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์นำเสนอด้วยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)                   

ผลการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในจังหวัดเลย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 51–60 ปี ระดับการศึกษา ปริญญาตรี มีตำแหน่งเป็นเจ้าของและมีหุ้นส่วน โดยการบุกเบิกกิจการด้วยตัวเอง ได้รับการสนับสนุนให้คำปรึกษา ผ่านการฝึกอบรม มีประสบการณ์ มีทักษะและเรียนรู้ธุรกิจด้วยตัวเอง รูปแบบของสถานประกอบการเป็นเจ้าของคนเดียว มี 3 กลุ่มผู้ประกอบการหลัก โดยรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์  ประกอบด้วย (1) ธุรกิจที่พัก มีสถานที่ กิจกรรมต่าง ๆ เหมาะกับการพักผ่อน พร้อมทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้สร้างประสบการณ์ได้ โดยใช้ภูมิปัญญาทางการแพทย์แผนไทยเป็นจุดเด่น และเน้นวัตถุดิบที่มาจากธรรมชาติ งดการใช้สารเคมี นำสมุนไพรมาใช้ในการปรุงอาหาร เพื่อเป็นอาหารสุขภาพ (อาหารตามธาตุ) (2) ธุรกิจเพื่อสุขภาพ (สปา นวด สมุนไพร) มีการใช้ท่าทางในการนวด ทุกกระบวนท่ามาจากวิถีชีวิต เช่น ท่าหงส์เหิน, ยกฮิ้ว ใช้หินแร่ มาประกอบการนวด (หินดำ, หินน้ำโขง) การลงน้ำหนักขณะนวด ใช้เท้านวด 80% เข่า-ศอก 20% วิธีการนวด มีท่าในการนวดโดยเฉพาะ จัดทำเป็นคู่มือการนวด ใช้ผ้าขาวม้าประกอบการนวด และ (3) ธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพ มีเมนูเพื่อสุขภาพที่ปรุงมาจากวัตถุดิบในท้องถิ่นของจังหวัดเลย การใช้พื้นฐานองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณค่าทางโภชนาการของวัตถุดิบท้องถิ่นผสมผสานความเป็นไทยและตะวันตก โดยมีคุณค่าทางโภชนาการ จำนวน 4 เมนู ได้แก่ คีชเห็ดหอม (Quiche Shiitake) เบอร์เกอร์เห็ดหอม เห็ดหอมยัดไส้ และอโวคาโด Cocktail กุ้ง จะเห็นได้ว่า รูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่เกิดจากงานวิจัยสอดคล้องกับสาขาของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ในด้านอาหารและแพทย์แผนไทย

References

กําธร แจ่มจํารัส และญาณิศา เผื่อนเพาะ. (2567). การพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวสูงวัย ในเมืองมรดกโลกสำหรับนักท่องเที่ยวสูงวัย (อำเภอพระนครศรีอยุธยา). วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 30(1), 31 – 47.

กัญญาพัชร์ พัฒนาโภคินสกุล และนิมิต ซุ้นสั้น. (2566). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพแบบสร้างสรรค์: การพัฒนาเมืองรอง จังหวัดระนอง. วารสารรัชต์ภาคย์, 17(50), 328-342.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). เเผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560 - 2564). กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2562). รายงานประจำปี 2562.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2562). รายงานสรุปแผนปฏิบัติการประจำปี 2562.

จุฑามาศ พีรพัชระ, สมนึก วิสุทธิแพทย์, ธีรวุฒิ บุณยโสภณและทวีศักดิ์ รูปสิงห์. (2561). รูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหาร. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 6(2), 166-176.

ชนิดา ทวีศรี. (2551). การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ. http://www.l3nr.org/posts/166878

ชัยนันต์ ไชยเสน. (2562). การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและนวัตกรรมการพัฒนาอาหารเพื่อสุขภาพ สำหรับโรงแรมในจังหวัดภูเก็ต. Humanities, Social Sciences and arts, 12(5), 262-282.

นฤมล รัตนไพจิตร, ราตรี เขียวรอด และตรีวนันท์ เนื่องอุทัย. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของผู้สูงอายุจังหวัดนครศรีธรรมราช. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

ปรียานันท์ โพธิ์ศิรวัฒน์, พิชา วิสิทธิ์พานิช และภัทราพร ตึกขาว. (2565). แนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในจังหวัดนครสวรรค์. วารสารรามคำแหง ฉบับบัณฑิตวิทยาลัย, 5(3), 75 – 91.

ปิรันธ์ ชิณโชติ และธีระวัฒน์ จันทึก. (2559).รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของสวนผึ้ง. วารสารสาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ, 9(1), 250-268.

ราณี อิสิชัยกุล. (2560). การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ. http://sms.stou.ac. th/ ?p=2233&lang=en.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2552). เศรษฐกิจสร้างสรรค์ The Creative Economy. รายงานการศึกษาเบื้องต้น.

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์. (2565). แผนปฏิบัติการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2563 – 2565. กรุงเทพฯ.

อรพิณ สันติธีรากุล. (2543). คู่มือมาตรฐานการพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs: การพัฒนาขีดความสามารถผู้ประกอบการ. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Global Wellness Institute. (2018). Global Wellness Tourism Economy Executive Summary NOVEMBER2018. Global Wellness Institute.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-29