การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสินค้าคงคลัง กรณีศึกษา อู่ซ่อมรถยนต์ เอการช่าง
คำสำคัญ:
การจัดการสินค้าคงคลัง, การจัดพื้นที่สำหรับสินค้าคงคลัง, การวิเคราะห์เอฟเอสเอ็นบทคัดย่อ
การทำวิจัยนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การจัดกลุ่มอะไหล่โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการวิเคราะห์เอฟเอสเอ็น 2) เพื่อออกแบบปรับปรุงพื้นที่ของการจัดเก็บอะไหล่กลุ่มเอฟ (วัสดุที่มีการหมุนเวียนเร็ว) และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในด้านการลดระยะเวลาในการเบิกจ่ายอะไหล่กลุ่มเอฟ (วัสดุที่มีการหมุนเวียนเร็ว) ผู้วิจัยได้ศึกษาและวิเคราะห์กระบวนการทำงานในคลังอะไหล่พบว่าอะไหล่ในคลังไม่มีการแยกประเภทการจัดเก็บที่ชัดเจน ไม่มีป้ายบอกรุ่นและรหัส ทำให้เสียเวลาในการรื้อย้ายอะไหล่ที่ไม่ต้องการ และเสียเวลาในการจัดเก็บอะไหล่เข้าที่เดิมส่งผลให้ การเบิกจ่ายอะไหล่ใช้เวลานานและเกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย ผู้วิจัยจึงมีแนวทางการแก้ปัญหาด้วยการจัดกลุ่มอะไหล่ให้เป็นหมวดหมู่โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการวิเคราะห์เอฟเอสเอ็น ทำปรับปรุงระบบการจัดวางอะไหล่โดยกำหนดตำแหน่งแบบตายตัว และประยุกต์ใช้เทคนิคการควบคุมด้วยการมองเห็นมาช่วยการเบิกจ่ายเพื่อเพิ่มความสะดวกในการเบิกจ่ายและเกิดประสิทธิภาพในการทำงานยิ่งขึ้น
ผลการศึกษาพบว่าจากการจัดกลุ่มอะไหล่ด้วยวิธี FSN Analysis สามารถแบ่งกลุ่มอะไหล่ออกเป็น กลุ่ม F จำนวน 62 รายการ กลุ่ม S จำนวน 23 รายการ และกลุ่ม N จำนวน 25 รายการ และทำการจัดวางอะไหล่ในคลังใหม่โดยใช้ระบบการจัดเก็บแบบกำหนดตำแหน่งตายตัว โดยกลุ่มอะไหล่ที่มีปริมาณการหมุนเวียนมากและอยู่ในกลุ่ม F จะถูกจัดวางใกล้ประตูทางออกมากที่สุดเพื่อสะดวกต่อการเบิกจ่าย ส่วนกลุ่ม S และกลุ่ม N จะถูกจัดวางไว้ในตำแหน่งที่ไกลจากประตูตามลำดับและทดสอบประสิทธิภาพพบว่าเวลาเบิกจ่ายอะไหล่กลุ่ม F เวลาเฉลี่ยรวมก่อนการปรับปรุงอยู่ที่ 32.03 นาที หลังการปรับปรุงอยู่ที่ 25.12 นาที สามารถลดเวลาในการเบิกจ่ายได้ 6.91 นาที ลดลงร้อยละ 21.57 แสดงให้เห็นว่าการปรับปรุงตามแนวทางที่ผู้วิจัยทำช่วยเพิ่มประสิทธิภาพได้ดีขึ้น
References
Keattipong, A. (2019). Fast,Slow,Non-moving analysis : FSN Analysis. Retrieved from https://www.iok2u.com/article/logistics-supply-chain?layout=blog&start=325
Oraya, C. ,Witchayut, N. ,Piyanate, N. (2022). Increasing Efficiency on Inventory Management for Mechanical Equipment: Case Study of Mable Hardware Ltd., Part. Journal of Science and Technology Southeast Bangkok College. 2(2) (pp.25-39). Retrieved from https://ph.tci-thaijo.org/index.php/JSCI/article/view/247118
Punika, C.,Piyanet, N. (2020). Process Improvement for Increasing Efficiency in Production Case Study: ABC Company RSU. Journal.15, (pp.1272-1286). Retrieved from https://rsujournals.rsu.ac.th/index.php/rgrc/article/download/1936/1517/
Samran, C., Surasak, P. (2021). Increasing Efficiency of Warehouse Management: A Case Study of Second Hand Shoes Warehouse. Journal of Logistics and Supply Chain College. 7(1)(pp.34-48). Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Logis_j/article/view/246304/169473
Sumittra, C., (2018). Improving a Finished Goods Warehouse Layout by Fast-Slow Moving A Case Study of Creachareon Machinery Co., Ltd.[Master’thesis , Sripatum University]. Retrieved from http://dspace.spu.ac.th/ handle/123456789/6627
Tanaporn, K., Jiraporn, R., (2017). Factors Affecting The Decision of a Car Repair Shop in BanBueng Distric Chonburi Province. Innovation and Technology Conference(ICT2017).(pp.24-33).Retrieved from https://www.chonburi.spu.ac.thgcmadminupload_file_portfolio202202081709699065.pdf
Thanisnan, J., Napaporn, A. (2019). Reduction the Delivery Time Spare Parts for Improvement the Spare Parts lay out: Case Study AY Company Limited. The 6th National Conference Nakhon Ratchasima College.(pp.232-250). Retrieved from http://journal.nmc.ac.th/th/admin/Journal/2562Vol10No1_23.pdf
Waranchaya, H., Nattawat, S., Nillawan, C.,Pongpen, C. (2023). Guideline for Efficiency Improvement of Warehouse Management via Simulation: A Case Study of Steel Bar Warehouse. Research Journal KMUTT.46(2)(pp.138-152). Retrieved from file:///C:/Users/Administrator/Downloads/ kmuttv46n2_3%20 (12).pdf
Witthaya,. I, Piroj,. D, Patthamaporn,.T (2015).Visual Control for Productivity Industrial Technology Review no. 276. Retrieved from http://www.thailandindustry.com/onlinemag/view2.php?id=221§ion=4&issues=13