การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจเรื่องเล่าอาหารเมืองเพ็ชร์: เมืองสามรส

ผู้แต่ง

  • ภณพรรธน์ ธนภูวนัตถ์ภาคิน หลักสูตรคหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • ระชานนท์ ทวีผล สาขาวิชาการจัดการโรงแรม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • จุฑามาศ พีรพัชระ สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • ณนนท์ แดงสังวาลย์ สาขาวิชาอุตสาหกรรมการบริการอาหาร คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

คำสำคัญ:

เรื่องเล่า, เรื่องเล่าอาหาร, เมืองเพ็ชร์, เมืองสามรส, การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยวเชิงอาหารของจังหวัดเพชรบุรีและวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจเรื่องเล่าอาหารเมืองเพ็ชร์: เมืองสามรส กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เคยทำกิจกรรม       ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงอาหารของจังหวัดเพชรบุรี จำนวน 320 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ผลโดยการใช้วิธีหาค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ผลวิจัยพบว่า พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวเคยเดินทางไปทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงอาหารของจังหวัดเพชรบุรีครั้งล่าสุดเดินทางไป            ไม่เกิน 1 ปี มีการเดินทางเพื่อตามรอยการรับประทานอาหารท้องถิ่น มีค่าใช้จ่ายต่อครั้งในการซื้อผลิตภัณฑ์อาหารหรือเป็นของฝาก ต่ำกว่า 5,000 บาท และมีประสบการณ์ความทรงจำนึกถึงอาหารของจังหวัดเพชรบุรี คือ ด้านรสชาติของอาหารท้องถิ่น ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจเรื่องเล่าอาหารเมืองเพ็ชร์: เมืองสามรส พบว่า มี 5 องค์ประกอบเรื่องเล่า ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 เรื่องเล่ารู้แหล่งที่มาของอาหาร ประกอบด้วย 9 ตัวแปร องค์ประกอบที่ 2 เรื่องเล่าวัตถุดิบของอาหาร ประกอบด้วย 9 ตัวแปร องค์ประกอบที่ 3 เรื่องเล่ามรดกของอาหาร ประกอบด้วย 8 ตัวแปร องค์ประกอบที่ 4 เรื่องเล่ากรรมวิธีการทำอาหารในท้องถิ่น ประกอบด้วย 3 ตัวแปร องค์ประกอบที่ 5  เรื่องเล่าภูมิปัญญาและความปลอดภัยของอาหาร ประกอบด้วย 3 ตัวแปร

References

Cohen, E., (1979). A Phenomenology of Tourist Experiences. Sociology, 13 (2), 179-201. https://doi.org/10.1177/003803857901300203

Juttamas, W., Sutthima, S., & Krissadakorn, S. (2022.). Storytelling Through Food. Nonthaburi: Perfect Link Consulting Group.

Khajitkwan, K. (2021). The Science of Storytelling in Educational Communication. Science Journal, 8-71.

Khwanchanok, N., Wasinee, M., & Attaphon, R. (2022). Utilization of Storytelling and Local Wisdom in Developing Packaging for Toddy Palm Sugar in Bang Yang Subdistrict Wat Bot District Phitsanulok Province. Journal of Innovation Scholarship, 139-154.

Kittiphong, M., Rampung, Y., Intheema, H., Sansanee, T., Supuksorn.M., & Nanoln, D. (2023). The Elements of Phetchaburi Food Storytelling: The City of 3 Flavors. Kasalongkham Research Journal, 17(2).

Kittiyaa, K., & Warasida, B. (2022). The Model of Perceived Value Factors and Economic Experience Of Tourists towards Local Food Festivals in Phuket Province. Rachapark Journal, 297-320.

Kokkorn, S. (2018). Marketing Strategies to Promote Culinary Tourism among Thai Tourists in Phra Nakhon Si Ayutthaya Province. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4498.176 | Journal of Management Science Review Vol. 26 No. 1 (January-April 2024)

Mallika, J. (2003). Human Communication Psychology. Bangkok: OS Printing. Ministry of Tourism & Sports. (2023). National Tourism Development Plan Version 3 (AD 2023 –2027). Retrieved from https://province.mots.go.th/ewtadmin/ewt/phetchaburi/more_news.php?page=4&cid=4

Peerawat, U. (2021). Story Marketing: Smart Storytelling for Marketing Success: Bangkok: IDCEE Premier.

Phatchani, C., Metta, W., & Thiranan, A. (n.d.). Fundamental Concepts of Communication Studies. Bangkok: Yellow Printing (1988).

Phetchaburi Provincial Office of Tourism and Sports. (2023). Tourism Situation in Phetchaburi.

Retrieved from https://province.mots.go.th/ewtadmin/ewt/phetchaburi/more_news.php?page=4&cid=4

Pongparat, S., Kittiwat, K., & Kanokporn, E. (2018). Local Food Storytelling to Promote Cultural Tourism: A Case Study of Naa Pujae Hom. Journal of Modern Management Science, 192-213.

Punyawee, S., Prutsasorn, R., & Thawiporn, N. (2022). Market Segmentation and Positioning of Cultural Tourism Products in the Pak Phanang River Basin. Narkbhutparitat Journal Nakhon Si Thammarat Rajabhat University, 76-77.

Supraween, S., Euaumpon, F., Phatcharawalee, K., & Chadnari, M. (2021). National Identity through Community Storytelling to Promote Tourism. Journal of Humanities and Social Sciences, 53-64.

Theerada, P. (2018). Techniques for interpreting analysis components in research work. Intellectual Development Journal, 292-305.

Ubolwan, P. (2015). Narrative Communication: Lessons from Research. Nida Communication and Innovation Journal, 31-58.

Umarrin, R. (2019). Development of Experiential Tourism Marketing Strategies: A Case Study of the Old Town Area in Ubon Ratchathani Province. Journal of Mahasarakham Rajabhat University, 93-106.

Vikneswan, T., Sutthinant, S., & Pissit, C. (2023). Indigenous Food Wisdom of Chanthaburi: Digital Photography Creation. Journal of Social Sciences and Communication, 92-102.

Wanphen, M. (2022). Phetchaburi Creative City Network. Rattaphirak Journal, 64(1),84-99.

Wilaiwan, S., Suchanya, R., Rojroj, P. & Peerapol, T. (2006). General Psychology. Bangkok: Triple Education.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-29