ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรในคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
คำสำคัญ:
ความผูกพันของบุคลากร, องค์การ, คณะวิทยาการจัดการบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์นี้เพื่อศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรและนำเสนอแนวทางการสร้างความผูกพันของบุคลากรในคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา วิธีการดำเนินการวิจัยแบบเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 64 คน ประกอบด้วยข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำและเจ้าหน้าที่ตามสัญญา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลวิจัยพบว่า ระดับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรในคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.02,S.D.=0.493) รองลงมาคือด้านความเต็มใจที่จะใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ในการทำงานเพื่อองค์การ ( = 4.26, S.D.=0.496) ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือความเชื่อมั่นและการยอมรับในเป้าหมายและค่านิยมขององค์การ ( = 3.66, S.D.=0.615) ข้อเสนอแนวทางการสร้างความผูกพันของบุคลากรในคณะวิทยาการจัดการ ผู้บริหารควรให้ความเชื่อมั่นแก่บุคลากรว่าองค์กรมีความน่าเชื่อถือและมีความมั่นคง กำกับดูแลเรื่องการทำงานร่วมกันเป็นทีมและการมีสัมพันธภาพที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน การมอบหมายงาน สร้างสรรค์และแก้ไขปัญหาผลงานร่วมกัน รวมทั้งการสร้างแรงบันดาลใจในการทำงานให้บุคลากร ในด้านการส่งเสริมองค์ความรู้ใหม่ ๆ ที่สอดคล้องกับการปฏิบัติงาน
References
Best, J. W. (1981). Research in Education. 3 rd ed. Englewood cliffs, New Jersey : Prentice. Hall. Building bonds with employees as well Employee Engagement. (2023). Retrieved December 18, 2023, from https://www.businessplus.co.th/18/12/2023.
Criteria for quality of public administration. (2023). Retrieved December 18, 2023, from https://doh.hpc.go.th/pmqa2562/topicDisplay.php?id=18)
Faculty of Management Science. (2022). Academic year self-assessment report 2022. Faculty of Management Science, Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University.
Herbert, T. T. (1976). Dimensions of Organizational Behavior. New York : Macmillan.
Kanter, R. M.. (1968). Commitment and Social Organization : Study of Commitment Mechanisms in Utopian Communities. American Sociological Review, 33 (August), 499 – 517.
Srikuy, M., & i Thumthong, T. (2019).The Relationship between Work Motivation and Loyalty and Their Effects on the Work Efficiency of Employees at Phuket Rajabhat University. Phuket Rajabhat University Academic Journal, 15(1) January – June 2019. 157-174.
Meyer, J. P. & N. J. Allen.(1997). Commitment in the Workplace. California, Sage Publications.
Mowday, R.T., Porter, L.W., & Steers, R.M. (1982). Employee – Organization Linkages : The Psychology of Commitment, Absenteeism and Turnover. New York: Academic Press.
Kriangchaiporn, N., & Laohavichien, U. (2019, July-September). The relationships between the level of quality of work life, Organizational commitment and the work behavior of employees at the Provincial Waterworks Authority. Rajapark Journal, 13(30), 71-82.
Khecharanan, N. (2008). Organizational behavior. Bangkok: SE-ED Education.
Udon, N. (2021, July- December). Organizational commitment of personnel of the Faculty of Industrial Technology, university Nakhon Phanom Educational Bulletin, Journal of Educational Studies, 15(2), 71-85.
Steers, R.M. & L.W. Porter. (1983). Motivation and Work Behavior. 3 rd ed. New York: McGraw – Hill.
Thongsawat, S. (2019). State, Problems and Development Guidelines for Academic Staffs Commitment in the Workplace of the Private Universities in Thailand. [Mater’ thesis]. Hatyai University.
Prawat, R. (2021). Factors Affecting Organizational Engagement of Personnel at Queen Savang Vadhana Memorial Hospital. [Mater’ thesis]. Burapha University.