รูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวสำหรับชุมชนบ้านท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • กนกวรรณกรณ์ หลวงวังโพธิ์ สาขาวิชานวัตกรรมการบริการและการท่องเที่ยว คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • สิทธิศักดิ์ เตียงงา สาขาวิชานวัตกรรมการบริการและการท่องเที่ยว คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

การเรียนรู้ด้วยตนเอง, การใช้ภาษาอังกฤษ, การท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นวิจัยที่นำไปใช้พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษให้ชุมชนบ้านท่าม่วง มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สำรวจปัญหาการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวสำหรับชุมชน (2) สร้างรูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวสำหรับชุมชน (3) เปรียบเทียบความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี เก็บข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพจากกลุ่มประชาชนในชุมชนซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการท่องเที่ยวในชุมชนโดยตรงที่ได้มาจากการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 30 คน โดยใช้แบบสอบถามความต้องการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว แบบทดสอบความรู้ก่อนและหลังการเรียนรู้ และแบบประเมินความคิดเห็นที่มีต่อคู่มือ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม (t-test) และเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยแบบสัมภาษณ์ การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกต การวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัญหาหลักคือ ส่วนมากเป็นวัยสูงอายุ จำคำศัพท์ได้ยาก พื้นฐานภาษาอังกฤษค่อนข้างน้อย ไม่ค่อยมีโอกาสฝึกฝน จึงขาดความมั่นใจ (2) รูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง ควรเป็นคู่มือที่สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ในลักษณะของสมุดพกพามีรูปภาพ คำศัพท์ภาษาอังกฤษพร้อมคำอ่านตัวอักษรใหญ่ เฉพาะหมวดตามความต้องการของชุมชน และมีหน้าว่างเพื่อใช้บันทึกคำศัพท์ใหม่โดยนำไปปรับใช้กับภาษาอื่นได้ จากนั้นหาความหมายเอง ซึ่งต้องผ่านการอบรมการใช้ก่อนจึงนำไปใช้ (3) เปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการใช้คู่มือการเรียนรู้ฯ มีคะแนนสูงสุดเป็นเพศหญิง ซึ่งคู่มือการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นสอดคล้องกับบริบทและความต้องการของชุมชน

References

Atiphaet, A. (2011). Self-learning model in the use of English for tourism-oriented

communication. A Case Study of Amphawa District, Samut Songkhram Province.

Research and Development Journal Suan Sunandha Rajabhat University, 3.

Bailey, K. M. (2009). Language teacher supervision. In Burns, A., & Richards, J.C. (Eds.), Second language teacher education. New York: Cambridge University.

Issarawat, S. (1998). Self-learning. Journal of Non-School Education, 5, 73-79.

Knowles, M. S. (1975). Self-Direct Learning: A Guide for Learner and Teachers. New York: Association.

Ministry of Tourism and Sports (2022). Tourist statistics. https://www.mots.go.th/

Phalawong, P. (1993). Self-study. [Special Edition] Ramkhamhaeng Journal, 82-91.

Richard, J. C., & Rodgers, T. S. (2001). Approaches and Methods in Language Teaching: A Description and Analysis. Cambridge: Cambridge University.

Rojrungsatya, P. (2010). Community tourism. Bangkok: Odeon Store.

Salachivin, S. (1983). Psychology for Adult Education. Chiang Mai: Lanna Printing.

Sinlarat, P. (2009). Introduction to Educational Philosophy. Bangkok: Chulalongkorn University.

Srisa-at, B. (2017). Preliminary research. 10th ed. Bangkok: Suwiriyasan.

Suwansri, P. (2020). Development of Multimedia for Local Wisdom Conservation of 700-Year-Old

Lamp,Mae Taeng District, Chiang Mai Province. Ubon Ratchathani University.

Tha Muang Subdistrict Municipality. (2022). Ban Tha Muang Community Population Statistics for the year 2022. Retrieved January 28, 2023, from https://www.thamuang101.go.th/menu/3348/.

Wongloei, P. (2011). Self-learning strategies to improve personnel English language skills. Thais in Nakhon Payap International School, Chiang Mai Province [Mater’s Thesis]. Chiang Mai University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-29