การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้าอะไหล่ กรณีศึกษา บริษัท เค เอ็น ซี ไทร์เซอร์วิส เซ็นเตอร์
คำสำคัญ:
คลังสินค้าอะไหล่, การหยิบสินค้า, ประสิทธิภาพบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ปัญหาในคลังสินค้าอะไหล่ 2) ปรับปรุงขั้นตอนการดำเนินงานในคลังสินค้าอะไหล่ และ 3) เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้าอะไหล่ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) โดยอาศัยวงจร PAOR มีกระบวนการวางแผน (Planning) การปฏิบัติ (Acting) การสังเกตผล (Observing) และการสะท้อนผล (Reflecting) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้บริหารและพนักงานของบริษัท เค เอ็น ซี ไทร์เซอร์วิส เซ็นเตอร์ ทำการเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 5 คน ประกอบด้วย 1) กรรมการผู้จัดการ จำนวน 1 คน 2) พนักงานแผนกบัญชี-คลังสินค้า จำนวน 3 คน และ 3) ช่างซ่อมรถ จำนวน 1 คน โดยใช้การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์เชิงลึก มีการตรวจสอบสามเส้ากับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ กลุ่มนักวิจัย และกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญในสายอาชีพเพื่อวิเคราะห์ปัญหา ออกแบบขั้นตอนการดำเนินงาน รวมถึงวัดผลการดำเนินงานก่อนและหลังการปรับปรุงการดำเนินงาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาในคลังสินค้าอะไหล่ คือ มีการจัดวางสินค้าปะปนกัน ไม่มีการระบุตำแหน่งใน การจัดเก็บที่ชัดเจน ทำให้ค้นหาสินค้าได้ยาก ต้องใช้เวลามากในการหยิบสินค้าตามใบเบิกสินค้า ส่งผลให้การทำงานของแผนกบัญชี-คลังสินค้าเกิดความล่าช้า 2) ทำการปรับปรุงขั้นตอนการดำเนินงานในคลังสินค้าอะไหล่ โดยการแบ่งกลุ่มและจัดเรียงสินค้า พร้อมทั้งจัดทำข้อมูลตำแหน่งของสินค้า และ 3) ทำการวัดประสิทธิภาพโดยการทดสอบหยิบสินค้าของกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 5 คน โดยให้แต่ละคนหยิบสินค้าตามใบเบิกสินค้าเหมือนกันคนละ 10 รายการ ก่อนและหลังการจัดเรียง ผลการดำเนินงาน พบว่า กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ใช้ระยะเวลาเฉลี่ยในการหยิบสินค้า 1 รายการ ลดลงเฉลี่ยร้อยละ 46 ส่งผลให้การหยิบสินค้ารวดเร็วขึ้น และทำให้การจัดการคลังสินค้าอะไหล่ของบริษัท เค เอ็น ซี ไทร์เซอร์วิส เซ็นเตอร์ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
References
คำนาย อภิปรัชญาสกุล. (2556). การจัดการคลังสินค้าและการกระจายสินค้า. กรุงเทพฯ: โฟกัสมีเดีย แอนด์ พับลิชชิ่ง.
จักรินทร์ ศุขหมอก และ เพียงจันทร์ โกญจนาท. (2563). การเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการ หยิบสินค้าด้วยการใช้หลักการของพื้นที่การหยิบสินค้าอย่างเร็ว กรณีศึกษา: คลังสินค้า บริษัท A. ใน การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15 (หน้า 1464-1474). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.
จิราวรรณ ชินสุทธิประภา. (2566, 10 มกราคม). กรรมการผู้จัดการ บริษัท เค เอ็น ซี ไทร์เซอร์วิส เซ็นเตอร์, สัมภาษณ์.
ชิดชนก ปรีชานันท์. (2560). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาวิทยากร กระบวนการเพื่อขับเคลื่อนสู่ชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับเจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลรังกาใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารราชพฤกษ์, 15(3), 97-104.
ณัฎภัทรศญา เศรษฐโชติสมบัติ และ ประสิทธิ์ การนอก. (2562). การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารพื้นที่คลังสินค้าอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ด้วยแนวคิดเชิงบูรณาการ: กรณีศึกษา บริษัท โตไคริคะ (ไทยแลนด์) จำกัด. วารสารวิชาการ วิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ., 13(1), 127-140.
แพรพลอย พุฒิพงศ์บวรภัค และ ปริญ วีระพงษ์. (2561). การลดระยะเวลาในการหยิบจ่ายสินค้า กรณีศึกษา บริษัท PP&A จำกัด. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้และสิ่งประดิษฐ์ ครั้งที่ 2 (หน้า 102-114). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ภัทรา อุดมกัลยารักษ์. (2560). แนวทางการพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบการจัดการคลังสินค้าสำหรับโรงงานแปรรูป เหล็ก สแตนเลส และอลูมิเนียม: กรณีศึกษา บริษัท พีเอ็มพี มอเตอร์โปรดักส์ จำกัด. สารนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.
วีระยุทธ์ ชาตะกาญจน์. (2558). การวิจัยเชิงปฏิบัติการ. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 2(1), 29-49
สมชาย เปรียงพรม และ กรรณิการ์ เกิดแก้ว (2565). การพัฒนาระบบการจัดเก็บและกระบวนการหยิบสินค้าในคลังสินค้า กรณีศึกษา: บริษัท จัดจำหน่ายสินค้าประเภทไอที จำกัด. วารสารพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม, 2(3), 17-33.
สุรศักดิ์ พรบรรเจิดกุล. (2564). บริหารคลังสินค้าให้มีประสิทธิภาพและทำกำไรทันที. กรุงเทพฯ: กู๊ดเฮด พริ้นติ้ง แอนด์ แพคเกจจิ้ง.
James, A. T., & Jerry, D.S. (1998). The warehouse management handbook. (2nd ed.). Nottingham: Tompkins press.
Kemmis, S., & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planer (3 ed.). Victoria: Deakin University.