ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

ผู้แต่ง

  • ธนัชชา ชาญเศรษฐกุล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

การตัดสินใจศึกษาต่อ, อุดมศึกษา, นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, ปัจจัยที่มีอิทธิพล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยใช้ข้อมูลปฐมภูมิ จากการเก็บข้อมูลเชิงสำรวจด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2564 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 379 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลองการถดถอยโลจิสติกส์

ผลการวิจัยพบว่าผู้ที่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครองที่ประกอบอาชีพมีโอกาสที่จะเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษามากกว่าผู้ที่บิดามารดาหรือผู้ปกครองไม่ได้ประกอบอาชีพ และผู้ที่มีแหล่งเงินทุนการศึกษามากกว่า 1 แหล่ง มีโอกาสที่จะเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาสูงกว่าผู้ที่มีแหล่งเงินทุนการศึกษาเพียงแหล่งเดียวหรือไม่มีแหล่งเงินทุนการศึกษาเลย โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้แก่ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคม คือ อาชีพของบิดามารดาหรือผู้ปกครอง และแหล่งเงินทุนการศึกษา โดยมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 ตามลำดับ

References

กัลยา วาณิชย์บัญชา (2552). การวิเคราะห์ข้อมูลหลายตัวแปร. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ สุวิมล เฮงพัฒนา และพุดตาน พันธุเณร. (2555). ความเหลื่อมล้ำของโอกาสการศึกษาและมาตรการการคลังเพื่อขยายโอกาสการศึกษาให้เยาวชนยากจน. วารสารเศรษฐศาสตร์ปริทรรศน์ สถาบันพัฒนศาสตร์, 6(1), 1-36.

ธิติมา พลับพลึง, สุวิมล เฮงพัฒนา และดิเรก ปัทมสิริวัฒน์. (2557). โอกาสของความสำเร็จทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาของครัวเรือนไทยในชนบท. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.), 20(2), 99-111.

ปรีดาภรณ์ กาญจนสำราญวงศ์, เขมิกา อุระวงค์, ธนาพร คงรอด และอานีซะห์ สาและ. (2557). ความต้องการการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนรัฐบาล จังหวัดสงขลา. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 11(1), 75-90.

รจเรข สายคํา และวัฒนา พัดเกตุ. (2560). ปัจจัยในการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตภาคเหนือตอนล่าง. ใน นเรศวรวิจัยครั้งที่ 13: วิจัยและนวัตกรรม ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม (หน้า 1348-1358). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2562). พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562. ค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2564, จากhttps://www.mhesi.go.th/index.php/all-legal/74-act/2150-2562.html

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2564). สถิติการศึกษาประจำปี 2554-2563. ค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2564, จาก http://www.mis.moe.go.th/index.php?option=com_content&view=category&id=173&Itemid=114

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม. ค้นเมื่อ 25 กันยายน 2564, จาก https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=develop_issue.

Becker, G. S. (1975). Human capital: A theoretical and empirical analysis. (2nd ed.). New York: Columbia University Press.

Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques. (3rd ed.). New York: John Wiley and Sons.

Johnes, G., & Johnes, J. (2004). International Handbook on the Economics of Education. Cheltenham, United Kingdom: Edward Elgar.

Musambai, A. Z. (2015). Human Resource Development. Retrieved September 15, 2021, From https://www.academia.edu/17631350/Human_Resource_Development

Woodhall, M. (2004). Cost-benefit analysis in educational planning. (4th ed.). Paris, France: UNESCO.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-27