การเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการซื้อสินค้าระหว่างร้านค้าออนไลน์และร้านค้าปลีก กรณีศึกษา ตำบลบางป่า อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี
คำสำคัญ:
ความพึงพอใจ, การซื้อสินค้าร้านค้าออนไลน์, ร้านค้าปลีก, จังหวัดราชบุรีบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้บริโภคด้านส่วนผสมทางการตลาดระหว่างร้านค้าออนไลน์และร้านค้าปลีก และ 2) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภคระหว่างร้านค้าออนไลน์และร้านค้าปลีก ตัวอย่างที่สนใจศึกษา คือ ผู้ที่อาศัยในตำบลบางป่า อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี ที่มีอายุ 18-45 ปี จำนวน 100 คน ซึ่งถูกสุ่มมาจากประชากรจำนวน 1,996 คน งานวิจัยครั้งนี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ มัธยฐาน ผลรวมอันดับ การทดสอบลำดับที่โดยเครื่องหมายอันดับ-วิลคอกสัน และการทดสอบของคอกแครน ซึ่งกำหนดระดับนัยสำคัญเท่ากับ 0.05
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 60 มีอายุ 30-45 ปี คิดเป็นร้อยละ 48 และมีรายได้ 10,001-20000 บาท/เดือน คิดเป็นร้อยละ 51 ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อส่วนผสมทางการตลาดระหว่างร้านค้าออนไลน์และร้านค้าปลีกในด้านผลิตภัณฑ์พบว่า ผู้บริโภคมีระดับความพึงพอใจในเรื่องความหลากหลายของสินค้า ความต้องการในการซื้อสินค้า และความทันสมัยของสินค้าของร้านค้าออนไลน์สูงกว่า สำหรับด้านราคาพบว่า ผู้บริโภคมีระดับความพึงพอใจต่อส่วนลดของสินค้าของร้านค้าออนไลน์สูงกว่า สำหรับด้านช่องทางการจัดจำหน่ายพบว่า ผู้บริโภคมีระดับความพึงพอใจต่อความสะดวกในการซื้อสินค้า และความหลากหลายของการชำระเงินของร้านค้าออนไลน์สูงกว่า สำหรับด้านส่งเสริมการตลาดพบว่า ผู้บริโภคมีระดับความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาด การคืนกำไรให้แก่ผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง การส่งข้อมูลข่าวสาร การประชาสัมพันธ์และการโฆษณาของร้านค้าออนไลน์สูงกว่า ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภคจากทางร้านค้าออนไลน์และร้านค้าปลีกพบว่า ความถี่ในการซื้อสินค้าใน 1 เดือน มูลค่าในการซื้อสินค้าใน 1 เดือน และสัดส่วนของผู้ที่ซื้อสินค้าในช่วงวันหยุดของร้านค้าปลีกสูงกว่า ในขณะที่ช่วงโปรโมชันสัดส่วนของผู้ที่ซื้อสินค้าทางร้านค้าออนไลน์สูงกว่าร้านค้าปลีก
References
กาญจนา อรุณสอนศรี. (2546). ความพึงพอใจของสมาชิกสหกรณ์ต่อการดำเนินงานของสหกรณ์การเกษตรไชยปราการจำกัด อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
โกวิทย์ กังสนันท์. (2549). กระบวนการตัดสินใจด้านการบริหารและกรอบความคิดทั่วไป. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
จุฑารัตน์ เกียรติรัศมี. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสินค้าผ่านทางแอปพลิเคชันออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ฉัตยาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ชิดชนก วัชรินทร์ และ นนทิพันธ์ ประยูรหงส์. (2563). อิทธิพลของปัจจัยทางการตลาดและความพึงพอใจในการตัดสินใจซื้องที่ส่งผลต่อพฤติกรรมความตั้งใจซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารบัณฑิตศาส์น มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 18, 113-122.
ชิษณุพงศ์ สุกก่ำ. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางสื่อออนไลน์ของผู้บริโภค ในอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ณัฐยา พรหมรศ. (2565). การเปรียบเทียบพฤติกรรมการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคผ่านช่องทางร้านค้าปลีกสมัยใหม่ และร้านค้าออนไลน์ ช่วงก่อนและระหว่างภาวะวิกฤตโควิด-19. สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.
ถวัลย์ วรเทพพุฒิพงศ์. (2539). เอกสารประกอบการสอนนโยบายและการนำนโยบายไปปฏิบัติ ฉบับที่1. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
BLT. (2562). สำรวจเผยคนไทยชอปออนไลน์สูงเป็นอันดับ 3 ของโลก พบกลุ่มลูกค้าเป็นผู้หญิงถึงร้อยละ 59. จาก http://www.bltbang kok.com/bangkok-update/4774/.
พิสิษฐ์ พจนจารุวิทย์. (2558). ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกซื้อสินค้าและบริการที่ร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมในเขตดุสิต. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 7, 39-51.
พีระพงษ์ กิตติเวชโภคาวัฒน์. (2551). ภาวการณ์เปลี่ยนแปลงของธุรกิจค้าปลีกประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยพัฒนาธุรกิจค้าปลีกและแฟรนไชส์สากล มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
วิรุฬ พรรณเทวี. (2542). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของหน่วยงานกระทรวงมหาดไทยในอำเภอเมืองจังหวัดแม่ฮ่องสอน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุดาดวง เรืองรุจิระ. (2543). หลักการตลาด. (พิมพ์ครั้งที่9). กรุงเทพฯ: สำนักงานวิทยทรัพยากร.
อุษณีย์ ศาลิคุปต. (2558). พฤติกรรมผู้บริโภคในการซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกรายย่อยในอำเภอเมืองสมุทรสาคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Noether, G. E. (1967). Elements of nonparametric statistics. New York: Wiley.
Szymanski, D.M. and Hise, R.T. (2000). E-Satisfaction: An Initial Examination. Journal of Retailing, 76, 309-322.