การวางแผนปริมาณการสั่งซื้อสินค้าที่เหมาะสมของสินค้าประเภทไวน์ภายใต้สถานการณ์โควิด-19 กรณีศึกษา บริษัท เอบีซี คอมเมอร์เชียล จำกัด

ผู้แต่ง

  • เฉลียว บุตรวงษ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
  • วิชิดา นามพันธ์ นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
  • สุภาภรณ์ พันยากิจ นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก

คำสำคัญ:

การพยากรณ์, ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด , จุดสั่งซื้อซ้ำ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพยากรณ์ความต้องการสินค้าประเภทไวน์  2) เพื่อวางแผนหาปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด 3) เพื่อลดต้นทุนรวมสินค้าประเภทไวน์ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 (Covid-19) ของบริษัท เอบีซี คอมเมอร์เชียล จำกัด ผลกระทบดังกล่าวส่งผลให้บริษัทมีปัญหาในการบริหารจัดการสินค้าคงคลังที่ไม่เหมาะสม เกิดปัญหาไวน์หมดอายุร้อยละ 60 และเกิดต้นทุนการจัดเก็บสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้น จากปัญหาดังกล่าว คณะผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ 1) ผู้จัดการคลังสินค้า 2) พนักงานขาย 3) พนักงานบัญชี สำหรับการบริหารจัดการสินค้าคงคลังจากสินค้าประเภทไวน์จำนวน 4 รายการ ที่มีปริมาณการขายน้อยที่สุด 1) ไวน์ Mc Bin 8 rose 6X750 ml new 2) ไวน์ Mys selection C 6X750 ml 3) ไวน์ Berri Estates bin 222 6X750 ml และ 4) ไวน์ Mys Selection sb 6X750 ml คณะผู้วิจัยใช้แนวคิดในการบริหารสินค้าคงคลังโดยการพยากรณ์ความต้องการสินค้า 5 วิธี คือ 1) Moving average  2) Weighted Moving Average 3) Exponential Smoothing 4) Double Moving Average และ 5) Double Exponential Smoothing นำผลการพยากรณ์หาปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดและหาจุดสั่งซื้อซ้ำที่เหมาะสม 

ผลการวิจัยพบว่าการพยากรณ์ไวน์ทั้ง 4 รายการ ดังนี้ 1) ไวน์ Mc Bin 8 rose 6X750 ml new ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด 1,915 ขวดต่อครั้งการสั่งซื้อ จุดสั่งซื้อซ้ำ 1,634 ขวดต่อครั้งการสั่งซื้อ รอบการสั่งซื้อ 168 วันต่อครั้ง  2) ไวน์ Mys selection C 6X750 ml ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด 2,567 ขวดต่อครั้งการสั่งซื้อ จุดสั่งซื้อซ้ำ 1,146 ขวดต่อครั้งการสั่งซื้อ รอบการสั่งซื้อ 98 วันต่อครั้ง 3) ไวน์ Berri Estates bin 222 6X750 ml ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด 1,123 ขวดต่อครั้งการสั่งซื้อ จุดสั่งซื้อซ้ำ 457 ขวดต่อครั้งการสั่งซื้อ รอบการสั่งซื้อ 205 วันต่อครั้ง 4) ไวน์ Mys Selection sb 6X750 ml ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด 1,571 ขวดต่อครั้งการสั่งซื้อ จุดสั่งซื้อซ้ำ 1,340 ขวดต่อครั้งการสั่งซื้อ รอบการสั่งซื้อ 163 วันต่อครั้ง และต้นทุนรวมก่อนการพยากรณ์ เท่ากับ 160,007.75 บาทต่อปี หลังพยากรณ์ต้นทุนรวมเท่ากับ 26,476.08 บาทต่อปี ลดลงร้อยละ 83.45

References

กฤษณะ สั่งการ. (2558). การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสินค้าคงคลังประเภทวัสดุหีบห่อ กรณีศึกษา บริษัท เค เค เค โกบอล. งานนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน, มหาวิทยาลัยบูรพา.

คำนาย อภิปรัชญาสกุล. (2553). การจัดการสินค้าคงคลัง (Inventory Management). กรุงเทพฯ: โฟกัส มีเดีย แอนด์ พับลิชชิ่ง.

ชุมชัย บุญศรี. (2559). การพยากรณ์ยอดขายสินค้าประเภทสายไฟฟ้าของลูกค้าประเภทตัวแทนจำหน่าย (Distributor): กรณีศึกษาบริษัทสายไฟฟ้าแห่งหนึ่ง. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ,มหาวิทยาลัยบูรพา.

ณัฐกาญจน์ นายมอญ. (2562). ไวน์และสุขภาพ. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์และเทคโนโลยี, 3(2), 24-30.

เฌอร์รฎา คุ้มถนอม. (2564). ปริมาณการสั่งซื้อวัตถุดิบหลักที่เหมาะสม กรณีศึกษา บริษัท ผลิตเหล็กแท่งและเหล็กเส้นก่อสร้าง. งานนิพนธ์วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธัญชนก จันทร์หอม. (2564). การพยากรณ์อนุกรมเวลาเพื่อกำหนดการสั่งซื้อที่ประหยัดที่สุด ของโรงงานที่ผลิตยางซิลิโคนแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เนตรนภา เสียงประเสริฐ. (2561). การวิเคราะห์ปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสมสำหรับวัตถุดิบใน ประเทศ กรณีธุรกิจผลิตยางผสม. งานนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน, มหาวิทยาลัยบูรพา.

พิภพ ลลิตาภรณ์. (2553). ระบบการวางแผนและควบคุมการผลิต (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: สมาคม ส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

มธุรา อุณหศิริกุล และคณะ. (2564). การศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตไวน์จากพืชสมุนไพรท้องถิ่นจังหวัดจันทบุรี. จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

วรพล เนตรอัมพร. (2559). การปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดเก็บวัตถุดิบในคลังสินค้า กรณีศึกษา บริษัท นิปปอน เอ็กซ์เพรส เอ็นอีซี โลจิสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด. งานนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน, มหาวิทยาลัยบูรพา.

รัชนี โฆษิตานนท์. (2564). การพยากรณ์ความต้องการนการสั่งซื้อและจัดการวัตถุดิบคงคลัง. งานนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ลักษณาภรณ์ ถาวรสิน. (2556). การพยากรณ์ยอดขายในอุตสาหกรรมผลิตน้ำมันหล่อลื่น โดยใช้ ปัจจัยด้านอุปสงค์ลูกค้าและปัจจัยชี้วัดทางเศรษฐกิจ กรณีศึกษา บริษัท ลู้บ เทคโนโลยี จำกัด. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

วิทยา สุหฤทดำรง (บก). (2551). หนังสือ Best Practices ในการจัดการสินค้าคงคลัง.กรุงเทพฯ: อี.ไอ.สแควร์.

วีระชัย แสงฉาย และคณะ. (2561). การศึกษาแนวทางการพยากรณ์ยอดขายผลิตภัณฑ์กระจูด กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรปลายตรอกร่วมใจ จังหวัดพัทลุง. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9. (หน้า1440-1446). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ศุภกิจ พิมพ์เสน. (2564). ความเสี่ยงและกลยุทธ์ทาง ธุรกิจหลังจบวิกฤติการณ์ COVID-19 และการหาโอกาสใหม่ในการดำเนินธุรกิจหลังจบวิกฤติการณ์ของกลุ่มธุรกิจไวน์ในประเทศไทย. สารนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุดารักษ์ ยิ่งสกุล. (2557). การควบคุมปริมาณสินค้า คงคลัง โดยใช้โมเดล EOQ และเทคนิค Work Site Control กรณีศึกษา บริษัท จัดจำหน่ายสินค้าลวดทองแดงอาบน้ำยา. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม, สถาบันเทคโนโลยี ไทย-ญี่ปุ่น.

อนุสรณ์ บุญสง่า. (2559). การพยากรณ์ความต้องการ แว่น กรณีศึกษา ร้านรักแว่น. การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

อภิชัย พรหมอ่อน. (2561). การศึกษาการพยากรณ์ แบบอนุกรมเวลา (Time Series) เพื่อการ วางแผนวัตถุดิบ กรณีศึกษา บริษัท ผลิตชิ้นส่วนยางรถยนต์. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการอุตสาหกรรม, สถาบันเทคโนโลยี ไทย-ญี่ปุ่น.

อรอง จันทร์ประสาทสุข. (2561). การคัดแยกจุรินทรีย์ออโตโคนัสที่เกี่ยวข้องกับการหมักน้ำสับปะรดคั้นสดเป็นกล้าเชื้อสำหรับการผลิตน้ำผลไม้น้ำตาลต่ำ. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-27