ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่การตลาดดิจิทัล
คำสำคัญ:
ปัจจัยการพัฒนาผลิตภัณฑ์, การตลาดดิจิทัล, การตลาดชุมชนบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่การตลาดดิจิทัล 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางการตลาดชุมชนสู่การตลาดดิจิทัล กลุ่มตัวอย่าง คือ ลูกค้าที่อาศัยในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี จำนวน 260 คน เครื่องมือในการวิจัยคือ ใช้แบบสอบถามและนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้สถิติวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural equation modeling: SEM)
ผลการวิจัย พบว่า ลูกค้าส่วนใหญ่ ร้อยละ 60 เป็นเพศหญิง ระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 58.50 มีสถานภาพโสดมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 60 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท และมีอาชีพเป็นนักเรียน นักศึกษา มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 47 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกอบด้วย รูปลักษณ์ คุณภาพผลิตภัณฑ์ เอกลักษณ์และตราสินค้า ส่งผลต่อการตลาดดิจิทัล ประกอบด้วย ระบบพาณิชย์อิเลคทรอนิกส์ เครื่องมือทางการตลาดและพฤติกรรมการใช้บริการสังคมออนไลน์ พบว่า การพัฒนาผลิตภัณฑ์มีอิทธิพลทางตรงต่อการตลาดดิจิทัล (P<.001) โดยมีความสัมพันธ์ทางบวก ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์เส้นทาง (DE=0.14) การตลาดชุมชน ทำให้เกิดการรับรู้ภาพลักษณ์ ประกอบด้วย ราคา การส่งเสริมการตลาด ผลิตภัณฑ์ และการจัดจำหน่าย ส่งผลต่อการตลาดดิจิทัล ประกอบด้วย ระบบพาณิชย์อิเลคทรอนิกส์ เครื่องมือทางการตลาดและพฤติกรรมการใช้บริการสังคมออนไลน์ พบว่า การตลาดชุมชนมีอิทธิพลทางตรงต่อการตลาดดิจิทัล (p<.001)โดยมีความสัมพันธ์ทางบวก ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์เส้นทาง (DE=0.67)
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2553). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS for Windows. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
______. (2556). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กัลยารัตน์ หัสโรค์. (2564). กลยุทธ์การตลาดออนไลน์ที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชน. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจและนวัตกรรมดิจิทัล, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ธมกร แสงวงสว่าง และเสาวลักษณ์ จิตติมงคล. (2564). กลยุทธ์การตลาดออนไลน์ที่ส่งผลต่อความสำเร็จทางการตลาดของธุรกิจผ้าพื้นถิ่น ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏรอยเอ็ด, 15(2), 154-167.
พรพิมล ศักดา และบวร เครือรัตน์. (2561). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทของการใช้จากวัสดุธรรมชาติของกลุ่มอาชีพเสริมบ้านสุขเกษม ตำบลบางเลน อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม (รายงานการวิจัย). นครปฐม: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
วิศนันท์ อุปรมัย และอภิรดี สราญรมย์. (2563). การตลาดออนไลน์เพื่อการพัฒนาส่วนประสมการตลาดของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จังหวัดนนทบุรี. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช, 33(2), 35-51.
สุภกร ตันวราวุฒิชัย และบุญไทย แก้วขันตึ. (2564). ปัจจัยการตลาดแบบดิจิทัล การโฆษณาผ่านสื่อสังคมออนไลน์และความสามารถด้านโลจิสติกส์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า. วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์, 15 (22), 23-40.
หทัยชนก ว่องเจริญพร. (2565). การตลาดดิจิทัลที่ส่งผลต่อความพึงพอใจและความภักดีของลูกค้า. อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
อรุโณทัย ปัญญา. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านสังคมออนไลน์ (เฟซบุก) ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยเขตอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
อัจฉราวรรณ สุขเกิด. (2565). แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการตลาดผ่านระบบสารสนเทศของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนขนมไทย หมู่ที่ 6 ตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 24 (1), 65-76.
อัญชลี เยาวราช. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารการตลาดดิจิทัลกับการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชั่นTOPSของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 24(3), 19-32.
Boumol, W. J. (1968). Entrepreneurship in Economic Theory. American Economic Review, 58 (2), pp. 64-71.
Brooks, N., & Simkin, L. (2011). Measuring marketing effectiveness: An agenda for SMEs. The Marketing Review, 11(1), 3-24
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers.
Chaffey, D. (2013). Definitions of E-marketing vs Internet vs Digital marketing, Smart Insight Blog. Retrieved February 16, 2020, from https://bit.ly/2TTlOn3
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J. & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed.). New Jersey: Prentice Hall.
Kotler, P., Kartajaya, H., & Setiawan, I. (2017). Marketing 4.0: Moving from Traditional to Digital. New Jersey: John Wiley & Sons.
Kline, R. (2005). Principles and practice of structural equation modeling. New York: A Division of Guilford Publications.
Porter, M.E. (1990). The Competitive Advantage of Nations. New York: Free Press.
Tabuchi, H. (2015). As Profit Slows, Ikea Notes Need to Move Online. The New York Times. from https://www.nytimes.com/2015/01/29/business/as-profit-slows-ikea-notes-need-to-move-online.html
Tabachnick, B. G., & Fidell, L. S. (2012). Using multivariate statistics. Boston, MA: Pearson.
Wartime, K. & Fenwick, I. (2008). DigiMarketing: The Essential Guide to New Media & Digital Marketing. Singapore: John Wile.