การศึกษาศักยภาพการพัฒนาและปรับตัวที่มีผลต่อสมรรถนะในการปฏิบัติงานของผู้บริหารฝ่ายบัญชีในกลุ่มบริษัทนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร

ผู้แต่ง

  • พรชนก เฮ็งผิว สาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • กนกวรรณ สุพรรณโพธิ์ทอง สาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ธิติรัตน์ วงษ์กาฬสินธุ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรบัญชีบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

ศักยภาพ, การพัฒนาและปรับตัว , สมรรถนะในการปฏิบัติงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพการพัฒนาและปรับตัวที่มีผลต่อสมรรถนะในการปฏิบัติงานของผู้บริหารฝ่ายบัญชีในกลุ่มบริษัทนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้คือผู้บริหารฝ่ายบัญชีในกลุ่มบริษัทในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนครทั้งหมด 272 บริษัท โดยใช้วิธีการเลือกสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Multiple Linear Regression Analysis

ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริหารฝ่ายบัญชีในกลุ่มบริษัทนิคมอุตสาหกรรมอมตะนครมีความคิดเห็นเกี่ยวกับศักยภาพการพัฒนาและปรับตัวโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการพัฒนาตนเอง ด้านการปฏิบัติงาน ด้านการวางแผนการดำเนินงานและด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ และผู้บริหารฝ่ายบัญชีมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสมรรถนะในการปฏิบัติงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านสมรรถนะเชิงฟังก์ชัน ด้านสมรรถนะหลัก ด้านสมรรถนะ เชิงบริหารและด้านสมรรถนะพื้นฐาน ผลการทดสอบสหสัมพันธ์แบบพหุคูณ พบว่า ศักยภาพการพัฒนาและปรับตัวมีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกต่อสมรรถนะในการปฏิบัติงาน

References

กันยา สุวรรณแสง. (2536). บุคลิกภาพและการปรับตัว. กรุงเทพฯ : อักษรพิทยา.การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. (2565). ค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2565, จาก https://www.ieat.go.th/th/.

กีรติ ยศยิ่งยง. (2550). ขีดความสามารถ : Competency Based Approach. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : มิสเตอร์ก๊อปปี้.

จริยา เรืองเดชสกุล. (2562). การพัฒนาศักยภาพใน การทำงาน. ค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2565, จาก http://www.km.mut.ac.th

จำนรรจ์ บุญศิริ. (2562). การปฏิบัติงาน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นภลดา อินภูษา. (2554). ผลกระทบของการพัฒนาศักยภาพในการทำงานขององค์กรที่มีต่อความผูกพันต่อองค์กรของนักบัญชีธุรกิจ SMEs ในเขตภาคระวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต สาขาการบัญชี, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เปาวลี วิมูลชาติ. (2549). การศึกษาควรรับรู้ความสามารถของตนและความต้องการพัฒนาตนเองของข้าราชการกรมการทหารสื่อสาร. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รัชฎา ณ น่าน. (2550). สมรรถนะหลัก. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2538). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.

ฤทัย ทิพย์โพธิ์อ่อน. (2550). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท วิริยะ ซัพ พลาย จำกัด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร.

ศรีแพร ทวิลาภากุล. (2549). การพัฒนาตนเองของข้าราชการ สำนักข่าวกรองแห่งชาติ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศศิลักษณ์ ทองปานดี. (2551). การศึกษาความต้องการพัฒนาตนเองของพนักงานบริษัทพาวเวอร์ปั๊ม จำกัด. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สมเกียรติ แก้วหอม. (2555). แนวความคิด ทฤษฏีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน. ค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2566, จาก http://sukanrat.blogspot.com/

สิทธิชัย สุวรรณประทีป. (2560). ศักยภาพในการปฏิบัติงาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เจริญผล.

Boydell, T. (1985). Management self-development: A guide for managers, organizations and institution. Geneva: International Labour Office.

Megginson, D. & Pedler, M. (1992). Self development : a facilitator’ guide. London : McGraw Hill.

Swansburg, R.C. (1968). Inservice education. New York : G.P.Puthum’s Sage.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-27