คุณลักษณะของผู้ประกอบการธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่ประสบความสำเร็จในประเทศไทย ภายใต้สถานการณ์โควิด-19

คุณลักษณะของผู้ประกอบการธุรกิจ E-commerce ที่ประสบความสำเร็จ ในประเทศไทยภายใต้สถานการณ์โควิด-19

ผู้แต่ง

  • ทศพล ปรีชาศิลป์ สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

คุณลักษณะของผู้ประกอบการ, อีคอมเมิร์ซ, ความสำเร็จ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาของผู้ประกอบการธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยภายใต้สถานการณ์โควิด-19 และเพื่อศึกษาคุณลักษณะของผู้ประกอบการธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่ประสบความสำเร็จในประเทศไทยภายใต้สถานการณ์โควิด-19 การดำเนินงานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธีใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามเป็นเครื่องมือการเก็บข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลเชิงลึกสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพเลือกแบบเฉพาะเจาะจง คือ ผู้ประกอบการธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่ประสบความสำเร็จในประเทศไทย จำนวน 5 คน ซึ่งเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงได้รับการยอมรับจากสังคม เช่น การออกสื่อสัมภาษณ์หรือรับรางวัลดีเด่น กลุ่มตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ คือ ผู้ประกอบการธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยจำนวน 400 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิและมีวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานด้วยการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า ผู้ประกอบการธุรกิจอีคอมเมิร์ซมีปัญหาเกี่ยวกับในช่วงสถานการณ์โควิด-19 มีผู้ประกอบการรายใหม่ ๆ เข้าสู่ธุรกิจออนไลน์เป็นจำนวนมาก มีคู่แข่งขันเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดปัญหาเรื่องการแข่งขันด้านราคาหรือ  การขายตัดราคาในสินค้าประเภทเดียวกัน ปัญหาการจัดการระบบโลจิสติกส์หรือที่เรียกว่าระบบหลังบ้านรวมถึงการจัดส่งสินค้า ปัญหาด้านความปลอดภัยของผู้ข้อมูล และผลการวิเคราะห์คุณลักษณะของผู้ประกอบการธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่ประสบความสำเร็จในประเทศไทยภายใต้สถานการณ์โควิด-19 พบว่า คุณลักษณะด้านมุ่งมั่นในความสำเร็จ ด้านเผชิญหน้ากับความเสี่ยง ด้านเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ด้านจริยธรรมในการดำเนินงาน และด้านจิตสำนึกในความรับผิดชอบ มีอิทธิพลทางบวกต่อความสำเร็จในการประกอบธุรกิจคอมเมิร์ซในประเทศไทยภายใต้สถานการณ์โควิด-19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

กรุงเทพธุรกิจ มีเดีย จำกัด. (2564). ครม.เคาะ “แผน 13” ฉบับล้มแล้วลุกไว ตั้งเป้ารายได้ต่อหัว 3 แสนบาท. ค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.bangkokbiznews.com/business/1002395

จุฑาพร รัตนโชคกุล. (2563). เส้นทางสู่ความสำเร็จของการเป็นผู้ประกอบการดิจิทัลที่ขายสินค้าออนไลน์. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชูศรี วงษ์รัตนะ. (2553) เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 12) กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ธัญนันท์ บุญอยู่,สุชารัตน์ บุญอยู่, และกนกอร บุญมาเกิด. (2563). อิทธิพลของการกล้าเผชิญความเสี่ยงที่อยู่ในฐานะตัวแปรปฏิสัมพันธ์ระหว่างทุนมนุษย์สู่ผลการดำเนินงานของอุตสาหกรรมผลิตเครื่องปรับอากาศในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 115-123.

ประมา ศาสตรารุจิ. (2565). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ออนไลน์เพื่อพัฒนาสมรรถนะในการแข่งขันทางธุรกิจสำหรับผู้ขายสินค้าออนไลน์. วารสารรัชต์ภาคย์, 16(46), 312-327.

พชรมณ บุญแสน. (2564). จริยธรรมของผู้ประกอบการโรงสีข้าวในเขตพื้นที่ภาคกลาง. วารสารวิจัยธรรมศึกษา, 4(2), 10-18.

พัทธมน ธุระธรรมานนท์. (2564). ปัจจัยธุรกิจ คุณลักษณะของผู้ประกอบการ และการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ที่นำไปสู่ความสำเร็จของธุรกิจเบเกอรี่บนออนไลน์. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 13(1), 16-31.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2564). B2C E-commerce กลุ่มสินค้า ปี’64 ขยายตัวกว่า 30% ผู้ประกอบการเผชิญโจทย์กำลังซื้อและการแข่งขันที่ยากขึ้น. ค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2566, จากttps://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/E-commerce-z3268.aspx

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2564). e-Commerce ไทย ยุคหลัง COVID-19. ค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/Knowledge-Sharing/Perspective-on-Future-of-e-Commerce.aspx

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2564). บทบาทภาครัฐในการสนับสนุน e-Commerce. ค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2566, https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/Government-Support-of-e-Commerce.aspx

สุธีรา อะทะวงษา และสมบูรณ์วัลย์ สัตยารักษ์วิทย์. (2557). คุณลักษณะของการเป็นผู้ประกอบการ และ ลักษณะของสถานประกอบการ ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมของประเทศไทย. วารสารสุทธิปริทัศน์, 28(85), 61-79.

อาทิช แซ่ลี้ และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2558). ศักยภาพการจัดการธุรกิจและคุณลักษณะของผู้ประกอบการที่ส่งผลต่อความสำเร็จของผู้ประกอบการไร่สำปะหลัง อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 4(2), 1-12.

Daft, R. (2017). The leadership experiences. USA: Cengage Learning.

Electronic Transactions Development Agency (ETDA). (2021). ETDA เผยมูลค่าอีคอมเมิร์ซไทย ปี 63 อยู่ที่ 3.78 ล้านล้านบาท คาดปี 64 พุ่งไปที่ 4.01 ล้านล้านบาท. Retrieved 1 February 2023, from https://www.etda.or.th/th/pr-news/ETDA-Reveals-the-Value-of-e-Commerce-in-2021.aspx

Kaplan, R. S. & Norton, D. P. (1992). The Balanced Scorecard-Measures That Drive Performance. Harvard Business Review, 70(1), 71-79.

Organiation for Economic Cooperation and Develpment (OECD). (1997). Electronic Commerce: Opportunities and Challenges for Governments. Paris.

Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed). New York: Harper & Row.

Turban. E., King. D., Lee. J. K., Liang, T. P., & Turban, D.C., (2015). Electronic Commerce: A Managerial and Social Networks Perspective. (8 th ed.). German: Springer-Verlag.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-27