ธุรกิจร้านอาหาร: สถานการณ์ปัจจุบัน มาตรฐาน และความสำเร็จ

ผู้แต่ง

  • จุฑามาศ พีรพัชระ สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • พัชรนันท์ ยังวรวิเชียร สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • จอมขวัญ สุวรรณรักษ์ สาขาวิชาอุตสาหกรรมการบริการอาหาร คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

คำสำคัญ:

ร้านอาหาร, ธุรกิจร้านอาหาร, มาตรฐานของธุรกิจร้านอาหาร, ความสำเร็จของธุรกิจร้านอาหาร

บทคัดย่อ

ธุรกิจร้านอาหาร เป็นธุรกิจบริการที่มีศักยภาพในการเติบโตควบคู่กับการท่องเที่ยวและสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศเป็นจำนวนมาก บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอภาพรวม มาตรฐาน และความสำเร็จของธุรกิจร้านอาหาร พบว่า ในปัจจุบัน ผู้ประกอบการต้องปรับตัวท่ามกลางกระแสการแข่งขัน สถานการณ์สังคมที่เปลี่ยนแปลง พฤติกรรมผู้บริโภคที่หลากหลาย และการใช้ชีวิตแบบปกติใหม่ ด้วยการพัฒนากลยุทธ์เพื่อบริการที่มีคุณภาพ โดยคุณภาพและมาตรฐานของธุรกิจร้านอาหาร ดำเนินการโดยกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงสาธารณสุข และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กำหนดมาตรฐานเรื่องผลิตภัณฑ์ บริการ การจัดการ และความสม่ำเสมอของคุณภาพ ในขณะที่การดำเนินธุรกิจร้านอาหารในประเทศ ให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านคุณลักษณะของผู้ประกอบการ คุณภาพอาหารและบริการ ความสามารถของผู้ประกอบการในการบริหารจัดการภายในและภายนอกองค์กร การใช้เทคโนโลยี และนโยบายจากภาครัฐ ซึ่งเป็นตัวร่วมของปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจร้านอาหารไทยที่ดำเนินการในต่างประเทศ นอกเหนือจากปัจจัยด้านทักษะการบริหารของผู้ประกอบการ การสนับสนุนจากสังคมรอบด้าน และ กฎระเบียบข้อบังคับการทำธุรกิจในต่างประเทศ มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการศึกษากลยุทธ์ความสำเร็จของธุรกิจร้านอาหารเปรียบเทียบระหว่างร้านอาหารนานาชาติในประเทศ และการศึกษาเพื่อสร้างแนวปฏิบัติหรือคู่มือแก่ธุรกิจร้านอาหารในการจัดการธุรกิจให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2562). ธุรกิจร้านอาหาร บทวิเคราะห์ธุรกิจประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2562. ค้นเมื่อ 31 มกราคม 2566 จาก https://www.dbd.go.th/download/document_file/Statisic/2562/T26/T26_201902.pdf

_______. (2564). ข้อมูลการจดทะเบียนนิติบุคคล 2563. นนทบุรี: กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2564). กรมอนามัย ยกระดับมาตรฐาน Clean Food Good Tasteร้านอาหารปลอดภัย ห่างไกลโควิด-19. ค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2565, จาก http://multimedia.anamai.moph.go.th/new/230364-2/

กระทรวงพาณิชย์. (2552). ธุรกิจร้านอาหาร/ภัตตาคาร. ค้นเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2565, จาก https://www.dbd.go.th/download/data_srevice/2sep.doc

_______. (2558). คู่มือเกณฑ์มาตรฐานธุรกิจร้านอาหาร ภัตตาคาร 2558. กรุงเทพฯ: กระทรวงพาณิชย์.

กระทรวงพาณิชย์. (2562). Thai SELECT. ค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2565, จาก https://www.dbd.go.th/more_news.php?cid=1629

_______. (2564). พาณิชย์ชวนผู้ประกอบการร้านอาหารถอดกลยุทธ์พาธุรกิจรอด และเติบโตได้ในทุกสถานการณ์โควิด. ค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2565, จาก http://www.dbd.go.th/new_view.php?nid=469419704

กระทรวงสาธารณสุข. (2560). พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560. ค้นเมื่อ 30 มกราคม 2566, จาก http://obt-bangsaotong.go.th/uploads/data/พรบ.%20การสาธารณสุข%202535%20ถึง%20ฉ3%202560.pdf

จิรวรรณ กิติวนารัตน์, นพวรรณ วิเศษสินธุ์ และ ภัทรา สุขะสุคนธ์ม. (2565, พฤษภาคม–สิงหาคม). การปรับตัวของธุรกิจร้านอาหารภายหลังวิกฤตโควิด-19. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 24(2), 137-146.

จุฑามาศ พีรพัชระ สมนึก วิสุทธิแพทย์ ธีรวุฒิ บุณยโสภณ และทวีศักดิ์ รูปสิงห์. (2561, กรกฎาคม –ธันวาคม). รูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหาร. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 6(2), 165-176.

ชานนท์ มหาสิงห์ จอมขวัญ สุวรรณรักษ์ และวิชัย เจริญธรรมานนท์. (2563, กันยายน-ธันวาคม) ปัจจัยความสำเร็จของผู้ประกอบการร้านอาหารขนาดกลางที่มีสาขาเครือข่ายในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 3(3), 81-99.

เชฐณี โอภาสวัตชัย. (2542). พัฒนาธุรกิจร้านอาหารไทยสู่ตลาดสหรัฐอเมริกา. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการส่งออก.

ญาณิศา เผื่อนเพาะ. (2561, มกราคม-เมษายน). ประเภทร้านอาหาร กับคุณลักษณะผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. Veridian E-Journal,Silpakorn University. 11(1), 303-321.

ดวงพร ทรงวิศวะ. (2559). หน่วยที่ 9-การจัดบริการอาหารในร้านอาหารและภัตตาคาร.ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการจัดบริการอาหารในสถาบัน (Food Service Management in Institutions). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นิภาวรรณ สุนทรโอวาท. (2556). ปัจจัยการออกแบบสภาพแวดล้อมของร้านอาหาร และระดับของร้านอาหารกรณีศึกษา: ร้านอาหารญี่ปุ่น. ค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2566, จาก http://dspace.bu.ac.th/handle/123456789/748

ประภัสสร รังสิโรจน์. (2563, พฤศจิกายน-ธันวาคม). ปัจจัยความสำเร็จในการพัฒนาธุรกิจร้านอาหารไทยอย่างยั่งยืน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร., 8(6), 2138-2150.

ปรัชญา เหินสว่าง และชาญชัย จิวจินดา. (2020, September-December). ปัจจัยความสำเร็จของการประกอบธุรกิจร้านอาหารไทยในประเทศสหรัฐอเมริกา. Journal of Administrative and Management Innovation, 8(3), 106-115.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับบลิเคชั่น.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2563). ธุรกิจร้านอาหารเผชิญกับโจทย์ท้าทายสูงและรูปแบบการแข่งขันที่เปลี่ยนไป. กระแสทรรศน์. 3067, 1-5.

_______. (2564). โควิดระบาดหนัก คาดมูลค่าธุรกิจร้านอาหารในปี 2564 หายไป 5.5-7.0 หมื่นล้านจากปีที่ผ่านมา. ค้นเมื่อ 25 มกราคม 2566, จาก https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/restaurant-covid19-z3237.aspx

_______. (2565) ธุรกิจร้านอาหารปี 2565. ค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2565, จาก http://www.kasikornresearch.com/th/analysis/K-econ/business/Pages/restaurant-z3299.aspx

สถานเอกอัครราชทูต ณ เฮลซิงกิ. (2565). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการประกอบธุรกิจ. ค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2565, จาก https://helsinki.thaiembassy.org/th/page/ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการประกอบธุรกิจ?menu=5d80876e15e39c3354007c41

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองดูไบ.(2565). เรื่องควรรู้ก่อนเปิดร้านอาหารไทยในดูไบ. ค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2565, จาก http://www.ditp.go.th/content_attach/775392/775392.pdf

สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2564). คู่มือมาตรฐานสุขาภิบาลอาหารสถานที่จำหน่ายอาหาร (ตามกฎกระทรวงสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ. 2561). กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

Brand Inside. (2020). How to รอด: ทำธุรกิจร้านอาหารในปี 2020 อย่างไรไม่ให้เจ๊ง ท่ามกลางการแข่งขันที่ดุเดือด. ค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2565, จาก http://brandinside.asia/how-to-success-in-reataurant-2020/

Cambridge Dictionary. (2018). Meaning of restaurant. Retrieved January 10, 2023, from https://dictionary.cambridge.org/dictionary/english/restaurant.

Gursoy, D. & Chi, C.G. (2020). Effects of COVID-19 pandemic on hospitality industry: review of the current situations and a research agenda. Journal of Hospitality Marketing & Management, 29(5), 527-529. from DOI: 10.1080/19368623.2020.1788231

Drucker, P.F. (1979). The Practice of Management. New York: Harper and Brother.

Lee, C., Hallak, R., & Sardesh, S. R. (2016). Drivers of success in independent restaurants: A study of the Australian restaurant sector. Journal of Hospitality and Tourism Managememt. 29: 99-111.

Lu, C., Suhartanto, D., Gunawan, A., & Chen, B. (2020). Customer Satisfaction toward Online Purchasing Services: Evidence from Small & Medium Restaurants. International Journal of Applied Business Research, 2(01), 1-14. from https://doi.org/1035313/ijabr.v2i01.89

Michelin Travel Partner. 2021.THE MICHELIN GUIDE 2021.China: Michelin Travel Partner.

Panchapakesan, P., Amin, M., & Herjanto, H. (2022, February). How luxury restaurants will enhance the concept of guest delight. Journal of Hospitality and Tourism Insights, 5(2), 311-330. from https://doi.org/10.1108/JHTI-10-2020-0198

Paul, M.M. (1997). Psychology Applied to Work an Introduction to Industrial and Organization Psychology. (5 th ed.). California: Brooks/Cole.

Seo, K. H., & Lee, J. H. (2021). The Emergence of Service Robots at Restaurants: Integrating Trust, Perceived Risk, and Satisfaction. Sustainability, 13(8), 4431. from https://doi.org/10.3390/su130844

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-27