รูปแบบการบริหารจัดการที่พักแบบโฮมสเตย์ในวิถีปกติใหม่สู่การท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ
คำสำคัญ:
รูปแบบการบริหารจัดการที่พักแบบโฮมสเตย์, วิถีปกติใหม่, การท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินงานและการบริหารจัดการที่พักจากโฮมสเตย์ต้นแบบ 3 แห่ง เป็นโฮมสเตย์ที่ได้มาตรฐานและรางวัลจากกรมการท่องเที่ยว โดยมีโฮมสเตย์ที่มีการจัดการและให้บริการที่เน้นด้านสุขภาพ โฮมสเตย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โฮมสเตย์บ้านสวยด้วยอัตลักษณ์ และเพื่อสร้างรูปแบบการบริหารจัดการที่พักแบบโฮมสเตย์ในวิถีปกติใหม่สู่การท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ตามดัชนีชี้วัดมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย 10 ด้าน ลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า ใช้วิธีหาค่าเฉลี่ย () และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และใช้วิธีการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลวิจัยพบว่า ความพร้อมของโฮมสเตย์ด้านอัธยาศัยไมตรีมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.53 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.60 รองลงมาคือด้านอาหารระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.45 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.5 และด้านวัฒนธรรมระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.22 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.86 ตามลำดับ และเมื่อนำมาทำการทดสอบสมมติฐาน คำนวณหาค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์พหุคูณ พบว่า สอดคล้องกับสมมติฐานเกณฑ์มาตรฐานโฮมเสตย์ 10 ด้าน โดยมีทั้งหมด 6 ด้าน ประกอบด้วย ด้านวัฒนธรรม ด้านผลิตภัณฑ์ชุมชน ด้านรายการนำเที่ยว ด้านความปลอดภัย ด้านการบริหารจัดการ และด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีผลต่อรูปแบบการบริหารจัดการที่พักแบบโฮมสเตย์ในวิถีปกติใหม่สู่การท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2562). Responsible Tourism จุดประกายการท่องเที่ยวอย่าง รับผิดชอบ. ค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2565, จาก http://tatacademy.com/th/news/295. ().
_______. (2564). ข้อมูลที่เกี่ยวกับ SHA. ค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2565, จาก https://www.thailandsha.com.
กรมการท่องเที่ยว. (2558). มาตรฐานโฮมสเตย์ไทย (Thailand Homestay Standard). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
_______. (2564). รายชื่อโฮมสเตย์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย ประจำปี พ.ศ. 2563. ค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2565, จาก https://th-th.facebook.com/Deptourism/photos/pcb.3713217778762991/3713216268763142/.
กฎกระทรวงกำหนดประเภทและหลักเกณฑ์การประกอบ ธุรกิจโรงแรม พ.ศ.2551. (2551, 23 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 125. ตอนที่ 70 ก. หน้า 7.
จิตกร วิจารณรงค์. (2564). การจัดการท่องเที่ยวไทยในยุค NEW NORMAL. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(4), 372-381.
ไทยรัฐออนไลน์. (2563). ททท. เปิดแนวรุกท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ โครงการ “บอกให้รู้ว่าสวยแค่ไหน”. ค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2565, จาก https://www.thairath.co.th/news/soc iety/1926124.
ปรัชญากรณ์ ไชยคช, วัชระ ชัยเขต และปณต ประคองทรัพย์. (2564) รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบในเมืองท่องเที่ยว กรณีศึกษาจังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(12), 288-304.
พระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ.2547. (2547, 12 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 121. ตอนที่ 70 ก. หน้า 12.
วนิดา อ่อนละมัย. (2565). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างมีความรับผิดชอบชุมชนบ้านศรีฐาน จังหวัดขอนแก่น. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง, 5(2), 42-56.
สุธิดา ตินตะบุระ. (2565). การจัดการการท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ที่ยั่งยืนของธุรกิจครอบครัวในอำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2564). วิเคราะห์ผลกระทบของของโควิด-19 ต่อธุรกิจท่องเที่ยว. ค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2565, จาก https://tdri.or.th/2021/02/covid-112/.
สมาคมท่องเที่ยวไทยอย่างมีความรับผิดชอบ. (2562). การท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ Responsible Tourism). ค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2565, จาก https://www.th.thairt.org/.
สำนักข่าวไทยแลนด์พลัสออนไลน์. (2564). กรมการท่องเที่ยวชวนผู้ประกอบการยื่นตรวจประเมินมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย สร้างความเชื่อมั่นหลัง COVID 19. ค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2565, จาก https://www.thailandplus.tv/archives/281642.
Brand Buffet. (2022). กรมการท่องเที่ยว สร้างจุดขายใหม่ ชวนนักท่องเที่ยว เที่ยวแบบ “สุข เกิน สิบ” กับการพัฒนาสินค้าและบริการท่องเที่ยวและต่อยอดโฮมสเตย์ และชุมชนที่ได้รับรางวัล. ค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2565, จาก https://www.brandbuffet.in.th/2022/08/cbt-homestay-standard-thaialnd/.