ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจทำงานหลังเกษียณของข้าราชการองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
คำสำคัญ:
การตัดสินใจทำงาน, วัยเกษียณอายุ, ข้าราชการองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจทำงานหลังเกษียณ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากข้าราชการองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ที่มีอายุระหว่าง 55-60 ปี ใช้การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนาและใช้แบบจำลองโลจิตในการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจทำงาน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มข้าราชการองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญที่ต้องการทำงานหลังเกษียณต้องการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ต้องการรายได้เลี้ยงตนเอง/ครอบครัว และไม่ต้องการเป็นภาระของลูกหลาน/ครอบครัว โดยคาดว่าจะทำงานต่อหลังเกษียณอีก 4-6 ปี ทางด้านปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจทำงานหลังเกษียณของข้าราชการองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ คือ รายได้ และการออมการลงทุน และปัจจัยด้านสังคม คือ บุคคลพึ่งพิง
References
กัญญณัฐ โภคาพันธ์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจที่จะทำงานภายหลังเกษียณอายุราชการของข้าราชการกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จารีย์ ปิ่นทอง, ธนกรณ์ จิตตินันท์, ประภัสสร แสวงสุขสันต์ และ ณัคนางค์ กุลนาถศิริ. (2561). สังคมสูงวัยกับความท้าทายของตลาดแรงงานไทย. กรุงเทพฯ : ธนาคารแห่งประเทศไทย.
จุฑา มนัสไพบูลย์. (2546). อุปทานแรงงาน. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาเศรษฐศาสตร์แรงงานและแรงงานสัมพันธ์ หน่วยที่ 5-10. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ชมพูนุช โกสลา เพิ่มพูนวิวัฒน์. (2549). ตลาดปัจจัยการผลิต ใน เอกสารการสอนชุดวิชาเศรษฐศาสตร์วิเคราะห์ หน่วยที่ 1-8 (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ชูศักดิ์ เจนประโคน. (2560). เทคนิคการจูงใจ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ถวิล นิลใบ. (2559). เศรษฐมิติ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ทิพรัตน์ มาระเนตร์. (2555). การตัดสินใจทำงานของข้าราชการผู้สูงอายุหลังเกษียณ. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธนพร เทพบัวทอง. (2560). การศึกษาความเป็นไปได้ในการขยายอายุเกษียณการทำงาน กรณีศึกษาการประปาส่วนภูมิภาค. การค้นคว้าแบบอิสระเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นงนุช สุนทรชวกานต์. (2559). เศรษฐศาสตร์แรงงาน. ปทุมธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2549). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (ฉบับปรับปรุงใหม่ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท์.
ปรัชญ์ ปราบปรปักษ์. (2546). ทุนมนุษย์. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาเศรษฐศาสตร์แรงงานและแรงงานสัมพันธ์ หน่วยที่ 5-10. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
มโนลี ศรีเปารยะ เพ็ญพงษ์. (2562). ความต้องการทำงานของแรงงานในหน่วยงานภาครัฐหลังเกษียณอายุ กรณีศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี.วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 14(2), หน้า 42-63.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2564). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2563. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
วีรวรรณ แก้วใส. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการทำงานต่อในระบบราชการของข้าราชการที่ใกล้เกษียณอายุราชการ. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สถิตพงศ์ ธนวิริยะกุล. (2556). มโนทัศน์ใหม่นิยามผู้สูงอายุ และการขยายอายุเกษียณ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.
Mankiw, N. G. (2016). Macroeconomics. 9 th ed. New York: Worth Publishers.
Vickerstaff, S. & Van der Horst, M. (2021, June). The Impact of Age Stereotypes and Age Norms on Employees’ Retirement Choices: A Neglected Aspect of Research on Extended Working Lives. Frontiers in Sociology, 6, 1-8. https://doi.org/10.3389/fsoc.2021.686645
Wiktorowicz, J. (2018). Extending Working Life: Which Competencies are Crucial in Near-Retirement Age?. The Journal of Adult Development, 25(1), 48–60. https://doi.org/10.1007/s10804-017-9274-9
World Bank Group. (2021). Aging and the Labor Market in Thailand. Bangkok: World Bank Group.