แนวทางการปรับตัวของชุมชนต้นแบบด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนภายหลังวิกฤตการท่องเที่ยว

ผู้แต่ง

  • อ้ายหมิน เติ้ง Tourism Management, Business School of Zhongnan University of Economics and Law, Wuhan, People's Republic of China
  • สัญชัย เกียรติทรงชัย Tourism and Hotel, Faculty of Management Science, Loei Rajabhat University
  • ยุพิน อุ่นแก้ว Tourism Management, Business School of Zhongnan University of Economics and Law, Wuhan, People's Republic of China

คำสำคัญ:

แนวทางการปรับต้ว, ชุมชนต้นแบบด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน, การท่องเที่ยวโดยชุมชน, วิกฤตการท่องเที่ยว, ประเทศไทย

บทคัดย่อ

การขับเคลื่อนและฟื้นฟูศักยภาพด้านการท่องเที่ยวหลังวิกฤตการท่องเที่ยวให้กลับมามีศักยภาพและสามารถรองรับความต้องการเดินทางมาเยือนของนักท่องเที่ยวได้อย่างประทับใจและรู้สึกปลอดภัย โดยเฉพาะการท่องเที่ยวในระดับชุมชนหรือการท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community-based Tourism-CBT) เป็นวาระสำคัญเร่งด่วนที่จำเป็นต้องเตรียมความพร้อมให้มีการบริหารจัดการได้อย่างทันท่วงทีเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับฐานรากให้สามารถฟื้นฟูและรองรับความต้องการของการเดินทางท่องเที่ยวได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการปรับตัวของ 14 ชุมชนต้นแบบด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนในประเทศไทยภายหลังวิกฤตการท่องเที่ยว โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ทั้งนี้ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้นำชุมชน หรือตัวแทนที่เกี่ยวข้องของชุมชนต้นแบบด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนในเขตพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนขององค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หรือ อพท. จำนวน 14 ชุมชน ซึ่งช่วงระยะเวลาในการศึกษาครั้งนี้ คือ ระหว่างเดือนกันยายน-ธันวาคม 2565 ทั้งนี้ ผลการศึกษา พบว่า แนวทางการปรับตัวของชุมชนต้นแบบด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนภายหลังวิกฤตการท่องเที่ยวแบ่งเป็นแนวทางการปรับตัวได้ 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านมาตรฐานการท่องเที่ยวและความปลอดภัย 2) ด้านมาตรการเกี่ยวกับนักท่องเที่ยว 3) ด้านกิจกรรมและรูปแบบการท่องเที่ยว 4) การตลาดและการสื่อสารออนไลน์ 5) ด้านการอบรมเพิ่มทักษะต่าง ๆ  และ 6) ด้านการประชุมหารือต่าง ๆ ภายในชุมชนและภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและภาคเอกชนด้านการท่องเที่ยว

References

Arkoff, A. (1968). Adjustment and Mental Health. New York: Mc Graw-Hill.

Bernard, H. W. (1960). Health for Classroom. New York: McGraw-Hill Department for Tourism. (2021). Safety zone for tourists. Bangkok: Ministry of Tourism and Sports.

Grasha, A. F., & Kirschenbaum, D. S. (1980). Psychology of adjustment and competence: Social isolation and loneliness. Cambridge: Massachusetts.

Hall, C. M., Prayag, G., & Amore, A. (2018). Tourism and Resilience: Individual, Organizational and Destination Perspectives. Bristol: Channel View Publications.

Klavijan, U. (2017). Guidelines for success of community-based tourism management. SAU journal of social sciences & humanities, 1(2), 77-78.

Karlyapol, T. (n.d.). Thailand’sTourism Opportunities after Covid-19: Should Thailand Be the Regional Medical Health Tourism Hub?. Retrieved

Luankaew, K. (2018). How do enterprises in the 4.0 era adapt?. Retrieved January 11, 2021, from https://www .bangkokbiznews.com/blog October 20, 2021, from https://www.spu.ac.th/fac/intl/en/content.php?cid=20658

Sriwilai, S., & Thongsri, R. (2021). The Effects of the Spread of COVID-19 Pandemic on Thai Tourism. Journal of Legal Entity Management and Local Innovation, (8), 412-143.

TDRI. (2021). Analysis of COVID-19 Effects towardsTourism Sectors. Retrieved March 30, 2023, from https://tdri.or.th/2021/02/covid-112/

TDRI. (2021). Analysis of COVID-19 Effects towards Tourism Sectors. Retrieved March 30, 2023, from https://tdri.or.th/2021/02/covid-112/

Trachoo, T., & Pimonsompong, C. (2021). The Development of Adaptability Competence of Thai Tour Business to Respond Tourism Demand in Digital Age. Journal of Southern Technology, 14(1), 20-21.

Trakulsakrit, W. (2003). Adaptive psychology. (2nd ed.). Bangkok: Academic romotion Center. Perspectives. Bristol: Channel View Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-27