การมีส่วนร่วมของประชาชนในการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ประเพณีชักพระวัดนางชี เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วมของประชาชน, มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม , ประเพณีชักพระวัดนางชีบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ประเพณีชักพระวัดนางชี เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ประเพณีชักพระวัดนางชี เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนในเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร จํานวน 399 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.931 งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ สถิติ t-test ที่ระดับความเชื่อมั่นทางสถิติ ร้อยละ 95 สถิติ F-test ใช้วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA Analysis of Variance) และการทดสอบรายคู่ด้วยเทคนิค LSD อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการศึกษาพบว่า 1) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ประเพณีชักพระวัดนางชี เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานครโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (=3.15, S.D.=1.192) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้ดังต่อไปนี้ การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ (=3.46, S.D.=1.148) รองลงมา ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ (=3.13, S.D.=1.207) การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (=3.08, S.D.=1.349) และการ มีส่วนร่วมในการประเมินผล (=2.95, S.D.=1.467) 2) การเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลการต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ประเพณีชักพระวัดนางชี เขตภาษีเจริญกรุงเทพมหานคร พบว่า เพศ และอาชีพ ไม่แตกต่างกัน ส่วนอายุ ระดับการศึกษา และระยะเวลาที่พักอาศัยอยู่ในเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานครแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5
References
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม. (2562). วัฒนธรรม วิถีชีวิต และภูมิปัญญา. ค้นเมื่อ 10 กันยายน 2565, จาก http://lib.culture.go.th/library/multimedia/48819.pdf.
กระทรวงวัฒนธรรม. (2562). การรักษาวัฒนธรรมของความเป็นชาติ. ค้นเมื่อ 3 กันยายน 2565, จาก https://www.mculture.go.th/young/ewt news.php?nid=165&filename=index..
พระไพฑูรย์ อารัมภรัตน์. (2556). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อกิจกรรมทางพุทธศาสนา กรณีศึกษาเขตทวีวัฒนา จังหวัดกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 6(1), 457-478.
ภูริชาญ สิงห์นิล และคณะ. (2564). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาว อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยธรรมศึกษา ศูนย์วิจัยธรรมศึกษา สำนักเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม, 4(2), 27-38.
ระวิวรรณ วรรณวิไชย. (2556). ภูมิปัญญาด้านศิลปะการแสดงพื้นบ้านกับบทบาทการมีส่วนร่วมของเครือข่ายวัฒนธรรมท้องถิ่น กรณีศึกษา การอนุรักษ์สืบทอดละครชาตรีเมืองเพชร. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18(2), 98-106.
พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ.2559. ราชกิจจานุเบกษา. (2559, 1 มีนาคม). เล่มที่ 133. ตอนที่19 ก. หน้า1-9.
รุ่งนภา อินภูวา และนันทวรรณ นวลักษณ์. (2562). บทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม : กรณีศึกษาจังหวัดนครพนม. วารสารวิจัยรามคำแหง (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 22(2), 73-83.
สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร. (2561). แบบจัดทำรายการเบื้องต้นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม (มภ.2) ประเพณีชักพระวัดนางชี. กรุงเทพฯ: สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร.
อรทัย ก๊กผล. (2552). คู่คิด คู่มือ การมีส่วนร่วมของประชาชนสำหรับผู้บริหารท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์.
Cohen, J.M., & Uphoff, N.T. (1980). Participations Place in Rural Development: Seeking Clarity through Specificity. New York: World Developments.
United Nations. (1981).Yearbook of International Trade Statistics. New York: UN Press.
Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row.