ผลกระทบของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ต่อพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป
คำสำคัญ:
การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19, พฤติกรรมผู้บริโภคบทคัดย่อ
วิกฤตการณ์การแพร่ระบาดครั้งยิ่งใหญ่ของเชื้อไวรัสโคโรนาหรือที่มีชื่อเรียกว่าโควิด-19 ส่งผลกระทบทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะผลกระทบที่ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไปเป็นเหตุทำให้บริบทของการดำเนินธุรกิจต้องปรับเปลี่ยนตามไปด้วย บทความวิชาการนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิกฤตสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัส COVID-19 แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภค การแบ่งกลุ่มผู้บริโภคจากวิกฤตโควิด-19 และพฤติกรรมผู้บริโภคตามระดับวิกฤตโควิด-19 โดยพบว่า พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปช่วงสถานการณ์ COVID-19 ด้าน การดูแลสุขภาพ เนื่องจากอยู่ในสถานการณ์ COVID-19 ผู้บริโภคยังคงต้องดูแลตัวเอง รักษาสุขภาพ และรักษาระยะห่างทางสังคมต่อไป เพื่อป้องกันไม่ให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น ต้องมีการรักษามาตรฐานการดูแลสุขภาพต่อไป ผู้บริโภคต้องมีการวางแผนทางการเงิน จัดลำดับความสำคัญของการใช้จ่ายและตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น ด้านการซื้อสินค้า ความนิยมในการซื้อสินค้าออนไลน์เพิ่มขึ้น ร้านค้าควรกำหนดกลยุทธ์ในการขายออนไลน์ให้เหมาะสม ด้านการทำงาน บริษัทควรสร้างระบบการทำงานในรูปแบบออนไลน์ สัปดาห์ละ 1-2 วัน หรือพิจารณาตามลักษณะของงาน ซึ่งจะเป็นการลดต้นทุนให้กับบริษัทได้
References
กรมควบคุมโรค. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19): สถานการณ์ในประเทศไทย. ค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2565, จากhttps://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/
ฑิตาพร รุ่งสถาพร. (2563). พฤติกรรมผู้บริโภคต่อการซื้อสินค้าบนช่องทางออนไลน์ในภาวะวิกฤตโควิด-19 ในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และพิษณุโลก. การค้นคว้าอิสระปริญญานิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารการตลาดดิจิทัล, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ณัธภัชร เฉลิมแดน. (2563). พฤติกรรมผู้บริโภคในการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ผ่านโมบายแอปพลิเคชันช่วงเกิดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม, 2(1), 92-106.
บริษัท สเต็ป เทรนนิ่ง จำกัด. (2563). 3 ปัจจัยในช่วงโควิด-19 ทำไมธุรกิจต้องรีบปรับตัวสู่ออนไลน์. ค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2565, จากhttps://stepstraining.co/fundamental/3-reason-why-business-need-to-do-onlinemarketing-during-period-covid-19
บริษัท อุ๊ป เน็ตเวิร์ค จำกัด. (2562). 4 ทักษะที่คนทำงานต้องมีเพื่อเอาตัวรอดในปี 2019.
ค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2565, จากhttps://www.marketingoops.com/exclusive/how-to/4-skill-to-survive-inn-2019
ปัญจพัฒน์ ประสิทธิ์เดชสกุล. (2563). พลิกโฉมธุรกิจหลังวิกฤตโควิด-19. ค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2565, จาก https://www.krungsri.com/bank/
getmedia/RIPost_Covid19_New_Normal.aspx
ปรมา ทิพย์ธนทรัพย์, ณัฐพล อัสสะรัตน์ และพลวัฒน์ชูเจริญ. (2563). เมื่อ COVID-19 สิ้นสุดลงพฤติกรรมของผู้บริโภคจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร?. ค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2565, จาก https://www.baramizi.co.th/
มนต์ชัย วงษ์กิตติไกรวัล. (2563). มองความคิดผู้บริโภคผ่านสินค้าที่ซื้อในช่วงวิกฤตโควิด-19 โลกจะไม่เหมือนเดิมอีกจริงหรือ. ค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2565, จาก https://themomentum.com/covid-19-changeconsumer-behavior
มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2562). COVID-19 เนรมิตผู้บริโภคเป็น 4 เซ็กเมนต์ใหม่ “กลุ่มใช้จ่ายแบบระวัง” ใหญ่สุด. ค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2565, จากhttps://positioningmag.com/1275427
สกนธ์ วรัญญูวัฒนา. (2563). “วิกฤตโควิด-19” ความท้าทาย เปลี่ยนโลกแข่งขันทางการค้าประชาชาติธุรกิจ. ค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2565, จาก https://www.prachachat.net/columns/news-457301
สุพริศร์ สุวรรณิก. (2563). โลกจะเปลี่ยนไปอย่างไรหลังวิกฤตโควิด-19 จบลง. ค้นเมื่อ 1 สิงหาคม
, จาก https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/0Mar2020.aspx
อวาทิพย์ แว. (2563). COVID-19 กับการเรียนรู้สู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในวันนี้. วารสารสมาคมวิชาชีพสุขศึกษา, 35(1), 24-29.
อาภาภัทร บุญรอด. (2563). เครือ WPP เผย 10 พฤติกรรมคนไทยช่วง “COVID-19” ที่กำลังจะกลายเป็น “New Normal”. ค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2565, จาก https://www.marketingoops.com/behavior