อิทธิพลของสื่อสังคมออนไลน์ต่อการตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์

ผู้แต่ง

  • ทศพล ปรีชาศิลป์ สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  • พัทธ์พสุตม์ สาธุนุวัฒน์ สาขาวิชาการตลาด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

สื่อสังคมออนไลน์, การตัดสินใจซื้อ, อสังหาริมทรัพย์

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนออิทธิพลของสื่อสังคมออนไลน์ต่อการตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ โดยศึกษาแนวคิดการสื่อสารและการสื่อสารบนอินเทอร์เน็ต สื่อสังคมออนไลน์ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์  พบว่าผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ควรใช้สื่อประเภทนี้เพื่อการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าและการประชาสัมพันธ์กิจกรรม เพื่อดึงความสนใจให้กลุ่มเป้าหมายเข้ามาในเว็บไซต์หรือเยี่ยมชมโครงการและสร้างประสบการณ์และการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นระหว่างพนักงานขายและลูกค้า ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ควรใช้สื่อออนไลน์ขององค์กรเพื่อวัตถุประสงค์การประชาสัมพันธ์ สร้างภาพลักษณ์ที่ดีและการสร้างความสัมพันธ์กับผู้บริโภคให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น เพื่อส่งเสริมการตลาดขององค์กร โดยประเภทสื่อออนไลน์ที่องค์กรใช้สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภท   สื่อออนไลน์แบบดั้งเดิมและแบบสื่อเครือข่ายสังคมออนไลน์  ควรมีการใช้เครื่องมือสื่อผสมและเทคนิคต่าง ๆ ร่วมกับการใช้สื่อออนไลน์หลัก เช่น คลิปวิดีโอประกอบการรีวิวสินค้า รีวิวสถานที่ การเดินทาง ตัวอย่างโครงการ เนื่องจากมีต้นทุนในการผลิตต่ำและสามารถเข้าถึงลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและสร้างโอกาสในการขายอสังหาริมทรัพย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

ขวัญชนก กมลศุภจินดา. (2557). พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์และการแสดงตัวตนของเจเนอเรชั่น: กรณีศึกษาความแตกต่างระหว่างเจเนอเรชั่นเบบี้บูมเมอร์สและเจเนอเรชั่นวาย. การค้นคว้าอิสระนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ณงลักษณ์ จารุวัฒนะและประภัสสร วรรณสถิต. (2561). Digital marketing เปิดโลกนิวมีเดียและการตลาดดิจิทัล. กรุงเทพฯ: เนชั่นบุ๊คส์.

ณัฎยา จรูญกาญจนกุล. (2561). การโฆษณาบนอินเทอร์เน็ต. กรุงเทพฯ: ไอทีปริทัศน์.

ดวงมณี ศุจิกา. (2539). การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านเวิล์ดไวด์เว็บ ของสื่อสารมวลชนไทย. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสื่อสารมวลชน, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้. (2563). ผลสำรวจชี้โซเชียลมีเดียมาแรงอันดับ1 คนไทยใช้หาบ้านกว่า 72%.

ค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2565, จากhttps://www.ddproperty.com/ข่าว-บทความ

น้ำทิพย์ วิภาวิน. (2558). เครือข่ายสังคมในสังคมเครือข่าย = Social network in a networked society. วารสารวิจัย สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ, 8(2), 119-127.

ภิเษก ชัยนิรันดร์. (2562). กลเม็ดเคล็ดลับการตลาดออนไลน์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ซีเอ็ดยูเคชั่น.

_______. (2562). การตลาดแนวใหม่ผ่าน Social Media. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ซีเอ็ดยูเคชั่น.

มนู อรดีดลเชษฐ์. (2562). เครือข่ายสังคมออนไลน์. อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย.

ค้นเมื่อ 28 กันยายน 2565, จาก http://www.lekasina.com

วิทวัส รุ่งเรืองผล. (2562). การวางแผนสื่อโฆษณาให้โดนใจลูกค้าอสังหาริมทรัพย์. วารสารมาร์เก็ตเธียร์. 113.

วิทวัส รุ่งเรืองผล. (2562). พฤติกรรมการรับข่าวสารทางอินเทอร์เน็ตในการตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์. วารสารบริหารธุรกิจ, 32(124).

วิภา เพิ่มทรัพย์และคณะ. (2562). ครบเครื่องเรื่องอินเทอร์เน็ต ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์โปรวิชั่น.

ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์. (2565). แนวโน้มอสังหาริมทรัพย์ไทย ปี พ.ศ. 2565. กรุงเทพฯ: ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์.

ศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็คทรอนิคส์. (2564). E-commerce ในธุรกิจจริง. กรุงเทพฯ: ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็คทรอนิคส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ.

B & C. (2020). What’s This Stuff Called “Social Media”. Journal of Benefits & Compensation Digest, 47(3), Retrieved September 5, 2022, from http://www.ifebp.org/inforequest/0157700.pdf

Boyd, D.M., & Ellison, N.B. (2017). Social Network Sites: Definition History and Scholarship. Journal of Computer-Mediated Communication. Retrieved September 6, 2022, from http://onlinelibrary.wiley.com

Dennis, AR. (1998). Lessons from the early adopters of Web groupware. Journal of Management Information Systems, 14(4), Retrieved September 5, 2022, from http://www.jstor.org/pss/40398292

Gupta & Kim. (2020). Model Stages of Evolution of a Typical Virtual Community. Retrieved September 6, 2022, from http://citeseerx.ist.psu.edu

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-27