ความสามารถทางการแข่งขันปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จธุรกิจขนส่งขนาดกลางและขนาดย่อม

ผู้แต่ง

  • ประจักษ์ พรมงาม หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะโลจิสติกส์และเทคโนโลยีการบิน วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก
  • ชาริณี พลวุฒิ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • ปัญญา สำราญหันต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • ศักดิ์ กองสุวรรณ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
  • นิลุบล สุทธิอาภา หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
  • ณรงค์ฤทธิ์ ยิ้มเจริญพรสกุล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

ความสามารถทางการแข่งขัน, ความสำเร็จของธุรกิจ, ธุรกิจขนส่ง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลความสามารถทางการแข่งขันที่มีต่อความสำเร็จธุรกิจขนส่งขนาดกลางและขนาดย่อม ประชากรการวิจัยเป็นผู้ประกอบการธุรกิจขนส่งขนาดกลางและขนาดย่อม ขนาดตัวอย่างจำนวน 400 คน โดยกำหนดขนาดตัวอย่างจากแนวคิด ทาโร ยามาเน่ สุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นด้วยการจับฉลาก เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.82 เก็บรวบรวมข้อมูลแบบออนไลน์ และเก็บด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงอนุมานด้วยการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยความสามารถทางการแข่งขัน ให้ความสำคัญโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะปัจจัยการจัดการองค์ความรู้ รองลงมาคือ เทคโนโลยีนวัตกรรม  การบริหารความเสี่ยง คุณภาพการบริการ และความไว้วางใจ ทั้งนี้ความสำเร็จธุรกิจขนส่งขนาดกลางและขนาดย่อมได้รับอิทธิพลความสามารถทางการแข่งขัน โดยเฉพาะปัจจัยการจัดการองค์ความรู้ ที่มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลมากที่สุด 0.572 รองลงมาเทคโนโลยีนวัตกรรม มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพล 0.237 คุณภาพการบริการ มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพล 0.182 การบริหารความเสี่ยง มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพล 0.041 และความไว้วางใจ มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพล 0.038 นอกจากนี้ยังพบว่า ทุกปัจจัยมีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากการวิจัยค้นพบว่า ผู้ประกอบการธุรกิจขนส่งขนาดกลางและขนาดย่อมควรเน้นให้ความสำคัญการจัดการองค์ความรู้ เทคโนโลยีนวัตกรรม คุณภาพการบริการ การบริหารความเสี่ยง และสร้างความไว้วางใจ ที่มีผลต่อความสำเร็จของธุรกิจขนส่งให้เกิดความยืดหยุ่นตลอดโซ่อุปทานเพื่อไม่ให้เกิดการหยุดชะงักต่อการดำเนินธุรกิจ

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2563). ข้อมูลและประเภทธุรกิจในประเทศไทย. ค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2565, จาก https://datawarehouse.dbd.go.th/searchJuristiclnfo.

ชัชวาล อรวงศ์ศุภทัต. (2554). ความหมายของคุณภาพการให้บริการ. ค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2565, จาก https://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?pageid=3&bookID=1285&read=true

ประจักษ์ พรมงาม และชิตพงษ์ อัยสานนท์. (2564). โมเดลเชิงโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะโซ่อุปทานองค์กรผู้ผลิตชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ในโครงการพัฒนาระเบียงเศษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ของประเทศไทย. วารสารชุมชนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 15(4), 196-209.

รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร และสุรชัย อุดมอ่าง. (2554). การบริหารความได้เปรียบทางการแข่งขันเพื่อความสำเร็จในการดำเนินงานของธุรกิจ SMEs ในเขตภาคเหนือของประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการ, 28(1), 49-63.

อารยา อึงไพบูลย์กิจ. (2559). ปัจจัยเหตุและผลของขีดความสามารถเชิงพลวัตของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมธุรกิจการขนส่งในประเทศไทย. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลย์อลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(3), 349-363.

Barney, J. (1991). Firm resources and sustained competitive advantage. Journal of management, 17(1), 99-120.

Grover, A. K. & Dresner, M. (2022). A theoretical model on how firms can leverage political resources to align with supply chain strategy for competitive advantage. Journal of Supply Chain Management, 58(2), 48-65.

Hsu, R. C., Lawson, D. & Liang, T. P. (2007). Factors affecting knowledge management adoption of Taiwan small and medium-sized enterprises. International Journal of Management and Enterprise Development, 4(1), 30-51.

Kaplan, R. S., & Norton, D. P. (1992). The balanced scorecard--measures that drive performance. Harvard Business Review, 70(1), 71-79.

Parasuraman, A., Berry, L. L. & Zeithaml, V. A. (1990). Guidelines for Conducting Service Quality Research. Marketing Research, 2(4), 34-44.

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A. & Berry, L. L. (1994). Reassessment of expectations as a comparison standard in measuring service quality: implications for further research. Journal of marketing, 58(1), 111-124.

Promngam, P., Kongsuwan, K. & Leelasrisiri, C. (2016). Development Of Delay Decreasing Process of Cement Menatransport Co., Ltd. Case Study. NRRU Community Research Journal, 10(3), 117-127.

Sitharam, S. & Hoque, M. (2016). Factors affecting the performance of small and medium enterprises in KwaZulu-Natal, South Africa. Problems and perspectives in Management, 14(2), 277-288.

Sathapongpakdee, P. (2022). Business/Industry Outlook 2022-2024: Road Freight Service Business. Retrieved October 10,2022, from ttps://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/logistics/road-reight-transportation/IO/road-freight-transportation-2022-2024

Silpcharu, T. (2017). Statistical Data Analysis and Research by SPSS and AMOS (17 th ed.). Bangkok: Business R&D Ordinary Partnership.

Tirakanan, S. (2007). Research Methodology in Science: Guideline on Practice. Bangkok: Chulalongkorn University.

Tuan, N.P. & Yoshi, T. (2010). Organisational Capabilities, Competitive Advantage and Performance in Supporting Industries in Vietnam. Asian Academy of Management Journal, 15(1), pp.1-21

Uengpaiboonkit, A., Uon, V. & Teerathanachiyakun, K. (2018). The Model of Dynamic Capabilities of Small and Medium Enterprises in Thai Transportation Business. Journal of MCU Peace Studies, 6(3), 1145-1158.

Virit, T. (2022). Factors Influencing Business Success of Entrepreneurs (SMEs) in Pathum Thani Province During The COVID-19 Pandemic. Journal of Educational Innovation and Research, 6(2), 458-473.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3 rd Ed.). New York: Harper and Row Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-27