การให้ความหมาย ที่มาของความหมาย กระบวนการการสื่อสารความหมายคำว่า “เสน่ห์วิถีไทยเมืองกรุงเก่า” ของผู้ประกอบการท่องเที่ยว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
คำสำคัญ:
การให้ความหมาย, กระบวนการการสื่อสารความหมาย, เสน่ห์วิถีไทยเมืองกรุงเก่า, ผู้ประกอบการท่องเที่ยวบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการให้ความหมาย ที่มาของความหมาย กระบวนการการสื่อสารความหมาย เสน่ห์วิถีไทยเมืองกรุงเก่า ของผู้ประกอบการท่องเที่ยว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2. เพื่อศึกษากระบวนการการสื่อสารความหมาย เสน่ห์วิถีไทยเมืองกรุงเก่า ของผู้ประกอบการท่องเที่ยว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ “การสร้างทฤษฎีฐานราก” เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตและจดบันทึก การวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้ประกอบการท่องเที่ยว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 21 ท่าน
ผลการการศึกษาพบว่า 1) ความหมายของ “เสน่ห์วิถีไทยเมืองกรุงเก่า” ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1. ความเป็นเมืองพหุวัฒนธรรมที่มีอัตลักษณ์โดดเด่น 2. รากเหง้าของวิถีชีวิตที่มีเสน่ห์ และ 3. อัตลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์เมืองมรดกโลกมาใช้สร้างจุดเด่นให้แก่การนำเสนอสินค้าและบริการเพื่อดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวอยู่เสมอ 2) กระบวนการการสื่อสารความหมายเสน่ห์วิถีไทยเมืองกรุงเก่า ของผู้ประกอบการท่องเที่ยว จังหวัดพระนครศรีอยุธยามีวิธีการที่แตกต่างกันออกไปตามลักษณะของประเภทธุรกิจและความคิดสร้างสรรค์ของผู้ประกอบการท่องเที่ยว ทั้งนี้ผู้ประกอบการได้นำเสน่ห์วิถีไทยเมืองกรุงเก่ามาเล่าเรื่องผ่านจุดเด่นของธุรกิจของตนและคำนึงถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเป็นหลัก โดยกระบวนการการสื่อสารความหมายเสน่ห์วิถีไทยเมืองกรุงเก่า ของผู้ประกอบการท่องเที่ยว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มี 2 รูปแบบ คือ 1) กระบวนการการสื่อสารความหมาย เสน่ห์วิถีไทยเมืองกรุงเก่าของผู้ประกอบการท่องเที่ยว จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเพื่อประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวให้เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวซึ่งจะส่งผลกระทบทางบวกแก่ธุรกิจในทางอ้อม ได้แก่ 1) การเล่าเรื่องข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ 2) การเล่าเรื่องเชื่อมโยงข้อมูลในอดีตและปัจจุบัน และ 3) การแต่งเรื่องเพื่อให้เกิดความสนใจซึ่งสามารถเล่าเรื่องได้ทั้งการเขียนเรื่องเล่าผ่านสื่อต่างๆ ที่อาจจะเป็นตัวอักษร การเล่าเรื่องผ่านคลิปวีดีโอ ภาพวาด การเล่าเรื่องผ่านรูปภาพ เป็นต้น 2) กระบวนการการสื่อสารความหมายเสน่ห์วิถีไทยเมืองกรุงเก่า ของผู้ประกอบการท่องเที่ยว จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเพื่อการเพิ่มมูลค่าให้ธุรกิจโดยตรง โดยนำเสน่ห์วิถีไทยเมืองกรุงเก่ามาประยุกต์ใช้ในธุรกิจโดยตรง 1) การวางแผนการตลาดของธุรกิจเพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว 2) การเพิ่มมูลค่าให้แก่กระบวนการนำเสนอผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการ ให้เกิดความประทับใจมากที่สุด
References
ขวัญฤทัย เดชทองคำ. (2564). การจัดการการท่องเที่ยว เชิงสร้างสรรค์สู่ความยั่งยืนของธุรกิจภายใต้วิกฤติโควิด19. International Thai Tourism Journal, 17(2),1-18.
คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ (พ.ศ. 2564-2565). ค้นเมื่อ11 ตุลาคม 2565, จากhttps://chainat.mots.go.th/download/article/article_20210602104504.pdf
จตุพร จุ้ยใจงาม. (2556). การให้ความหมาย รูปแบบ และกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม บริษัท ดีเอชแอล (ประเทศไทย). วารสารวิชาการ Veridian E-Journal. 2(6), 411-425.
พัชรภรณ์ สุนทรวิบูลย์. (2561). นวัตกรรมการสื่อสารกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวยุคประเทศไทย4.0:(Innovative Communication with Thailand Tourism Industry 4.0). วารสาร วิชาการ นวัตกรรม สื่อสาร สังคม, 6(2), 200-210.
พระมหายุทธนา นรเชฏฺโฐ และคณะ. (2561). ศึกษาเคราะห์หลักการอยู่ร่วมกันของสังคมพหุวัฒนธรรมในประเทศไทย:กรณีศึกษาชุมชนชาวพุทธและมุสลิมในชุมชนวัดท่าการ้องตำบลบ้านป้อมอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. Journal of MCU Buddhist Review, 1(1), 40-61.
พิทักษ์ ศิริวงศ์. (2547, เมษายน–กันยายน.). ทฤษฎีฐานราก (Grounded Theory) วิธีวิทยาการวิจัยเพื่อสร้างทฤษฎีในการพัฒนาประเทศ. บรรณสาร มศก.ท, (19)1, 13-21.
ศุภกานต์ นานรัมย์. (2564). ความเป็นพหุสังคมอยุธยากับวัฒนธรรมอาหารเพื่อการท่องเที่ยวตามรอยเสด็จประพาสต้นพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. Journal of management Science Review, 23(2), 179 -188.
วิภาดา เถาธรรมพิทักษ์,เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2562). ศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวมรดกโลกทางวัฒนธรรมในประเทศไทยกรณีศึกษานคร ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา: The Potential Of Cultural World Heritage Tourism Site In Thailand: A Case Study Of The Historic City Of Ayutthaya. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 7(1), 35-45.
อนุชา กลมเกลี้ยง และคณะ. (2565). การออกแบบกราฟิกและภาพประกอบเพื่อการสื่อสารทางวัฒนธรรมการท่องเที่ยว จังหวัดอ่างทอง. RMUTK Journal of Liberal Arts, 4(1), 85-96. Buhalis, D. (2000, February). Marketing the competitive destination in the future.
Tourism Management. 21(1), 97-116. from https://doi.org/10.1016/S0261-5177(99)00095-3
Phuanpoh, Y., Siriwong, P., & Tunming, P. (2022). Situation and Strategy of Storytelling for Destination Brand ommunication of The Historic City of Ayutthaya, Thailand. Journal of Positive School Psychology, 6(4), 8692-8705.
Lau, Y. Y., & Yip, T. L. (2020). The Asia cruises tourism industry: Current trend and future outlook. The Asian Journal of Shipping and Logistics, 36(4), 202-213.
Varey, R. J. (2002). Marketing communication: principles and practice. London: Routledge.