การพัฒนาประสิทธิภาพซัพพลายเชนที่ยั่งยืน ของผู้ให้บริการขนส่งสินค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • สุวัฒน์ นวลขาว ศูนย์การศึกษาจังหวัดระนอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

คุณค่าการบริการ, การรับรู้คุณค่าการบริการ, ประสิทธิภาพซัพพลายเชนที่ยั่งยืน, พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

บทคัดย่อ

ธุรกิจโลจิสติกส์มีการเติบโตสูงตามธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ แต่ส่วนแบ่งการตลาดส่วนใหญ่เป็นของ          ผู้ให้บริการขนาดใหญ่และเป็นบริษัทต่างชาติ วัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ เพื่อค้นหาองค์ประกอบที่สำคัญและรูปแบบของคุณค่าการบริการขนส่งสินค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในบริบทความคิดสร้างสรรค์ สังคม และสิ่งแวดล้อม เป็นการวิจัยเชิงปริมาณที่มีประชากรผู้ที่เคยใช้งานอินเทอร์เน็ตสั่งซื้อสินค้าอุปโภคและบริโภคผ่านทางออนไลน์ ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 520 ตัวอย่าง การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (stratified sampling) จากประชากร 5 กลุ่ม ประกอบด้วย        วัยเรียน วัยรุ่น วัยทำงาน วัยผู้ใหญ่ และผู้สูงวัย วิเคราะห์ด้วยสถิติสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณค่า        การบริการที่สำคัญประกอบด้วย ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม (ENV) ความสะดวกในการให้บริการ (CON) ภาพลักษณ์องค์กร (IMM) ความรับผิดชอบต่อสังคม (SOC) คุณภาพการบริการของพนักงาน (STA) การจัดส่งสินค้า (DEL) และ   การจัดการข้อมูลที่มีประสิทธิภาพสูง (INF) 2) คุณค่าการบริการมีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมต่อประสิทธิภาพซัพพลายเชนที่ยั่งยืนของผู้ให้บริการขนส่งสินค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยมีอิทธิพลทางอ้อมส่งผ่านการรับรู้คุณค่าการบริการ ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปพัฒนาผู้ให้บริการธุรกิจขนส่งขนาดเล็กที่เป็นธุรกิจของคนไทยให้สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2553). สถิติสำหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

คณะกรรมการกลุ่มความร่วมมือทางวิชาการเพื่อพัฒนามาตรฐานการเรียนการสอนและการวิจัยด้านบริหารธุรกิจแห่งประเทศไทย. (2555). แนวทางความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ. กรุงเทพฯ: เมจิกเพรส.

ฐาปนา บุญหล้า และ นงลักษณ์ นิมิตภูวดล. (2555). การจัดการโลจิสติกส์ : มิติซัพพลายเซน. กรุงเทพฯ : วีพรินท์ (1991).

ธนาวัฒน์ มาลาบุปผา. (2560). จับตาสถานการณ์โล จิสติกส์ในไท. ค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2563, จากhttps://startwithwai.com/2017/04/18/ecommerce-logistics/

ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และ อัจฉรา ชำนิประศาสน์. (2547). ระเบียบวิธีวิจัย. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์.

สุภมาส อังศุโชติ, สมถวิล วิจิตรวรรณา, และรัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์. (2554). สถิติวิเคราะห์สำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์: เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). การสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2561 (ไตรมาส 4) ค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม2563 , จากfile:///C:/Users/Acer/Downloads/Documents/ict61-CompleteReport-Q4.pdf

เอส เอ็ม อี ชี้ช่องรวย. (2562). ธุรกิจโลจิสติกส์ไทย ถึงเวลาต้องปรับตัว เปลี่ยนวิธีคิด นำเทคโนโลยีช่วยบริหารจัดการ. ค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2562, จาก https://cheechongruay.smartsme.co.th/content/23929

อัมพล ชูสนุก, มิลินลดา กุลนายุ, ฉวีวรรณ ชูสนุก และ สุภาพร เพ่งพิศ. (2559). อิทธิพลของคุณภาพการให้บริการต่อคุณค่าที่รับรู้ ความพึงพอใจ และความจงรักภักดีของ ผู้ใช้บริการคลินิกเสริมความงามในเขตกรุงเทพมหานคร. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 9 (1), 1565-1584.

Elkington, J. (2004). Enter the triple bottom line. The triple bottom line: Does it all add up. from https://www.johnelkington.com/archive/TBL-elkington-chapter.pdf

Fernandes, D.W., Moori, R.G. & Filho, V.A.V. (2018). Logistic service quality as a mediator between logistics capabilities and customer satisfaction. Emerald, 25(4), 358-372.

Gil-Saura, I., Berenguer-Contri, G., & Ruiz-Molina, E. (2018). Satisfaction and loyalty in B2B relationships in the freight forwarding industry: adding perceived value and service quality into equation. Transport, 33(5), 1184-1195. https://doi.org/10.3846/transport.2018.6648

Kamble, S.S. & Raut, R.D. (2011). Validating the Logistics Service Quality (LSQ) Scale in Indian Logistics Industry. 2010 International Conference on Business and Economics Research. IACSIT Press, Kuala Lumpur, Malaysia

Phrapratanporn, B., Wararatchai, P., Aunyawong, W. & Nik, R.N.A.R. (2019). Enhancing Supply Chain Performance of SMEs in Thailand Using the Integrated Personnel Development Model. International Journal of Supply Chain Management, 8(5), 176-186.

Prachayapipat, M., Wararatchai, P., Aunyawong, W., & Panjakajornsak, V. (2022). The effect of stakeholder on sustainable supply chain performance of road transportation service providers in Thailand: the mediating role of green supply chain management practices. Journal of Optoelectronics Laser, 41(4), 184-190.

Schiffman, L. G. & Kanuk, L. L. (2010). Consumer Behavior (10 th Ed). New Jersey: Prentice Hall.

Sheth, J. N., Newman, B. I., & Gross, B. L. (1991). Why we buy what we buy: A theory of consumption values. Journal of Business Research, 22(2), 159–170.

Sweeney, J.C., & Soutar, G. (2001). Consumer perceived value: the development of multiple item scale. Journal of Retailing, 77(2), 203-220.

Thai, V. V. (2013). Logistics Service Quality: Conceptual Model and Empirical Evidence, International Journal of Logistics: Research and Applications, 16(2), 114- 131.

Gil-Saura, I., Berenguer-Contri, G., & Ruiz-Molina, E. (2018). Satisfaction and loyalty in B2B relationships in the freight forwarding industry: adding perceived value and service quality into equation. Transport, 33(5), 1184-1195. https://doi.org/10.3846/transport.2018.6648

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-27