การบริหารทรัพยากรมนุษย์ยุควิถีชีวิตถัดไปสู่ยุคเทคโนโลยีดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • วรปภา มหาสำราญ สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • สุรารักษ์ สุพัฒนมงคล สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

การบริหารทรัพยากรมนุษย์, เทคโนโลยีดิจิทัล, วิถีชีวิตถัดไป

บทคัดย่อ

บทความเรื่อง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ยุควิถีชีวิตถัดไปสู่ยุคเทคโนโลยีดิจิทัล นี้ มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอแนวโน้มของรูปแบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ยุควิถีชีวิตถัดไป (Next Normal) นำไปสู่การบริหารทรัพยากรมนุษย์ยุคเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Human Resource หรือ Digital HR) อันเนื่องมาจากความท้าทายจากความเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีดิจิทัลในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) และผลกระทบจากวิกฤตการณ์     การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิค-19 (Covid-19) ซึ่งส่งผลต่อภาครัฐและภาคธุรกิจอุตสาหกรรม ทั้งภาคธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิต ภาคอุตสาหกรรมการบริการ องค์กรทุกขนาดต่างได้รับผลกระทบและจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด รวมทั้ง การเตรียมพร้อมสู่การพัฒนาและสร้างอนาคตในระยะยาว จากการศึกษาเอกสารทางวิชาการและงานวิจัยที่สืบค้นจากแหล่งฐานข้อมูลที่น่าเชื่อถือ พบว่า ในปัจุบันหน่วยงานด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์มีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงทรัพยากรมนุษย์อันเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งในการดำเนินงานกับผลลัพธ์ทางธุรกิจท่ามกลางความท้าทายจากกระแสความเปลี่ยนแปลงและความผันผวนของโลกอย่างรวดเร็ว โดยอาศัยและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในกลุ่ม MICS คือ อุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile) ข้อมูลจำนวนมหาศาล (Information) คลาวด์เทคโนโลยี (Cloud) และเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social) รวมทั้ง เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI) มากขึ้น ทำให้เกิดกิจกรรมในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ใน 4 ประเด็นสำคัญ คือ 1) การปรับรูปแบบการทำงานแบบ Hybrid Workplace 2) การดูแลทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรให้สามารถทำงานเต็มศักยภาพ (Workforce Utilization) โดยส่งเสริมและสนับสนุนการทำงานบนเทคโนโลยีดิจิทัล 3) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Workforce Development) ให้มีทักษะและความสามารถรองรับรูปแบบทำงานในอนาคต และ 4) การธำรงรักษาทรัพยากรมนุษย์ (Workforce Retention) โดยการปรับภาพลักษณ์องค์กร (Corporate Image Transformation)   การยอมรับและเห็นคุณค่าของความแตกต่างหลากหลายของบุคคล (Diversity and Inclusion) และการปรับระบบ  การธำรงรักษาคนเก่ง (Talent)

References

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. (2564). ‘New Normal’ คืออะไร? เมื่อโควิด-19 ผลักเราสู่ชีวิต 'ปกติวิถีใหม่’. ค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2564, จาก https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/882508

กฤติน กุลเพ็ง. (2555). กลยุทธ์การสรรหา. กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.

ชัยทวี เสนะวงศ์. (2564). People Management: Next Normal. ค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2564,จาก https://www.khonatwork.com/post/people-management-next-normal

ณัฐวุฒิ พงศ์สิริ. (2559). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในยุคดิจิทัล. วารสารการบริหารฅน, 36 (1), 51-57.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2563). The next normal ส่องเทรนด์ความปกติถัดไป หลังโควิด 19. ค้นเมื่อ 14 กันยายน 2565, จาก https://www.bot.or.th/Thai/BOTMagazine/Documents/PhraSiam0663/BOTMAG06_63.pdf#page=6

ปิยะ วิทยาวโรจน์กิจ. (2564). 9 HR Trends ยุคใหม่ เพื่อยกระดับองค์กร เพิ่มความสุขพนักงาน. ค้นเมื่อ 16 กันยายน 2565, จาก https://www.consyncgroup.com/hr_content/9-hr-trends/

มาลี บุญศิริพันธ์. (2563). รู้จัก "New Normal" ฉบับราชบัณฑิตยสภา. ค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2564,[จาก https://news.thaipbs.or.th/content/292126

เยเซ่ต์ ดาลลอล. (2559). Digital HR คืออะไร. ค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2564, จาก https:/www.techtalkthai.com/oracle-what-is-digital-hr/

วทัญญู สุวรรณเศรษฐ และวรรณวิชนี ถนอมชาติ. (2564, มกราคม-มิถุนายน). แนวโน้มการปรับตัวขององค์การธุรกิจและหน้าที่ ของฝ่ายพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคความปกติถัดไป. RMUTT Global Business and Economics Review, 16(1), 1-18.

วรปภา มหาสำราญ. (2563). การพัฒนารูปแบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์บนฐานเทคโนโลยีดิจิทัลของสถานประกอบการผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

เสกสันต์ พันธุ์บุญมี. (2564). Digital Transformation จาก New Normal สู่ Next Normal. กรุงเทพฯ: ฝ่ายนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล. ค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2564, จาก https://www.depa.or.th/th/article-view/digital-transformation-new-normal-next-normal

สราวรรณ์ เรืองกัลปวงศ์ และอรรนพ เรืองกัลปวงศ์. (2565, พฤษภาคม-สิงหาคม). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ภายใต้สภาพสังคมใหม่ (Next Normal). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มมร วิทยาเขตอีสาน, 3(2), 82-106.

Amla Manju and Malhotra Meenakshi. (2017). Digital Transformation in HR. International. Journal of Interdisciplinary and Multidisciplinary Studies (IJIMS). 4(3), 536-544.

Deloitte. (2017). Digital era Technology Operating Models. Retrieved July 4, 2021, from https://www2.deloitte.com/ content /dam/Deloitte/nl/Documents /technology/deloitte-nl-digital-era-tom-v1.pdf

Deloitte. (2021). Deloitte Canada’s Next Normal: A hybrid work model rooted in flexibility and choice. Retrieved September 14, 2022, from https://www2.deloitte.com/ca/en/pages/press-releases/articles/deloittes-next-normal.html

McKinsey & Company. (2020). The next normal in construction. Retrieved September 14, 2022, from : https://www.mckinsey.com/~/media/McKinsey/Industries/Capital%20Projects%20and%20Infrastructure/Our%20Insights/The%20next%20normal%20in%20construction/executive-summary_the-next-normal-in-construction.pdf

Tapscott, D. (1996). The Digital Economy : Promise and Peril in the Age of Networked Intelligence. New York : McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-27