การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับซัพพลายเออร์และคู่ค้าในยุคชีวิตวิถีใหม่ (New Normal)

ผู้แต่ง

  • พิเชษฐ เนตรสว่าง อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

ซัพพลายเออร์และคู่ค้า, ความสัมพันธ์ที่ดี, ยุคชีวิตวิถีใหม่

บทคัดย่อ

การเจรจาต่อรองในการจัดหาและการจัดซื้อสินค้าในยุคชีวิตวิถีใหม่กับซัพพลายเออร์และคู่ค้า บริษัทหรือองค์ธุรกิจจะต้องพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ คือ ควรทราบความต้องการวัตถุดิบของลูกค้า, บริษัทหรือองค์ธุรกิจไม่ควรเปลี่ยนแปลงซัพพลายเออร์บ่อยครั้ง ต้องมีการจัดทำสัญญาข้อตกลงการค้าอย่างชัดเจนและถูกต้อง บริษัทหรือองค์ธุรกิจต้องอ่านข้อตกลงให้ละเอียด บริษัทหรือองค์ธุรกิจควรมีซัพพลายเออร์ไว้ในมืออย่างน้อย 2 บริษัท เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมรับมือวัตถุดิบไม่พอขาย หรืออีกบริษัทให้ส่วนลดหรือสิทธิประโยชน์ที่มากกว่า และปัญหาของซัพพลายเออร์ที่บริษัทหรือองค์ธุรกิจต้องพบเจอ ไม่ว่าจะเป็นซัพพลายเออร์ ไม่มีของที่ต้องการ เป็นปัญหาที่ทุกธุรกิจพบเจอบ่อยครั้ง มีการส่งสินค้าล่าช้า ไม่ตรงตามเวลาที่กำหนด บริการไม่ทั่วถึง ปัญหานี้เกิดขึ้นกับคู่ค้าซัพพลายเออร์ที่เป็นบริษัทขนาดใหญ่ เพราะจะมีลูกค้าจำนวนมาก ทำให้เกิดการบริการที่ไม่เท่าเทียมกัน, นำเสนอสินค้าทดแทน เพื่อระบายของซัพพลายเออร์

ดังนั้น ในการเลือกซัพพลายเออร์ที่ดี บริษัทหรือองค์ธุรกิจก่อนจะตัดสินใจเลือกร้าน ซัพพลายเออร์เป็นคู่ค้ากับบริษัทแล้ว ต้องพิจารณาหลาย ๆ ปัจจัย ควบคู่ไปกับวิธีการเตรียมรับมือปัญหาต่าง ๆ ที่ต้องเจอ เพื่อทำให้บริษัทหรือองค์กรธุรกิจสามารถมีกำไรมากที่สุด สามารถควบคุมพนักงานได้ ไม่มีปัญหาด้านต้นทุนสูงกว่าค่าใช้จ่าย หากบริษัทบริหารจัดการได้ดี จะทำให้ลูกค้าหรือการจ้างงานบริษัทผู้ผลิตอย่างสม่ำเสมอ

References

กมลชนก สุทธิวาทนฤพุฒิ. (2547). การจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ (Supply Chain and Logistics). กรุงเทพฯ: ท้อป.

กิติมา สุรสนธิ (2554) ความรู้ทางการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กิรณา แก้วสุ่น. (2558). ปัจจัยสู่ความสำเร็จในการจัดการความเสี่ยงโซ่อุปทานอาหารสดในร้านค้าปลีกสมัยใหม่แบบลูกโซ่. บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรังสิต.

โกศล ดีศีลธรรม. (2551). โลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานสาหรับการแข่งขันยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ฐานบุ๊คส์.

ณัฐพนธ์ เกษสาคร. (2562). สารสนเทศเพื่อการจัดการโลจิสติกส์ บทที่ 1. จาก https://www.scribd.com/doc/153952720/สารสนเทศเพื่อการจัดการโลจิสติกสบทที่ 1

ณัฐพล สุนทรสุทธิ์. (2553). การวิเคราะห์และเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงลูกค้าของพนักงานฝ่ายขายกรณีศึกษาบริษัท ทรีบอนด์ วีไอวี เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์,มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ธิดารัตน์ ภัทราดูลย์. (2552). เกณฑ์การตัดสินใจในการจัดซื้อ. ค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2555, จากhttp://www.logisticscorner.com/index.php?option=com_content&view=category&id=37&Itemid=88

ภัทราภรณ์ กองประมูล. (2551). การเพิ่มประสิทธิผลการทำงานและเพิ่มยอดขายในธุรกิจค้าปลีก กรณีศึกษา บริษัท สตาร์แฟชั่น จำกัด. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

Appelfeller, W. & Buchholz, W. (2011). Supplier Relationship Management. From https://doi.org/10.1007/978-3-8349-6424-3

Ayers, J.B. & Odegaard, M.A. (2017). Retail SupplyChain Management (2nd Ed.).

CRC Press.Harrison, A. & and Hoek. (2002). Logistics Management and Strategy 3rd edition Competing through the supply chain.

Lambert, D. M. (2004). The Eight Essential Supply Chain Management Processes, Supply Chain Management Review, 8(6),18-26.

W.C. Benton, Jr. (2009). Construction Purchasing &Supply Chain Management. New York: McGraw Kill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-27