ปัจจัยคุณค่าตราสินค้าและส่วนประสมทางการตลาดที่มีต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำผลิตภัณฑ์น้ำพริกเผาไทยผ่านร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven ของผู้บริโภคในจังหวัดปทุมธานี
คำสำคัญ:
คุณค่าตราสินค้า, ส่วนประสมทางการตลาด, การตัดสินใจซื้อซ้ำบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยคุณค่าตราสินค้า และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำผลิตภัณฑ์น้ำพริกเผาไทยยี่ห้อหนึ่งผ่านทางร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven ของผู้บริโภคในจังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่เคยบริโภคผลิตภัณฑ์น้ำพริกเผาไทยและทำการซื้อผ่านร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี จำนวน 356 ตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย 2 กลุ่มประชากรแบบอิสระ การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลทางด้านเพศ อายุ และอาชีพ ที่แตกต่างกันมีผลต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำผลิตภัณฑ์น้ำพริกเผาไทยผ่านทางร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven แตกต่างกัน ในส่วนปัจจัยคุณค่าของตราสินค้า พบว่า ด้านการรับรู้ตราสินค้า และด้านความภักดีต่อตราสินค้า มีผลต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำผลิตภัณฑ์น้ำพริกเผาไทย และสำหรับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด พบว่า ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา และด้านการส่งเสริมการตลาด มีผลต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำผลิตภัณฑ์น้ำพริกเผาไทยผ่านทางร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven ของผู้บริโภคในจังหวัดปทุมธานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กรมการปกครอง. (2565). สถิติจำนวนประชากร จังหวัดปทุมธานี. จาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/displayData
กัลยา วานิชย์บัญชา และฐิตา วานิชย์บัญชา. (2558). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สามลดา.
ชรินทร ศรีฑูรย์, ฉัตรนลิน แก้วสม และฐิติมา ศรีพร. (2562). การพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างมีระบบสำหรับน้ำพริกแกงชุมชนบ้านทอน-อม อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 39(3), 56-74.
ธนภณ นิธิเชาวกุล. (2559). ทัศนคติของผู้บริโภคต่อภาพลักษณ์ตราสินค้าและกลยุทธ์ทางการตลาดของร้านขายของที่ระลึกผลิตภัณฑ์ OTOP ในเขตเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 14(2), 105-114.
นิศาชล รัตนมณี และประสพชัย พสุนนท์. (2562). อัตราการตอบกลับของแบบสอบถามในงานวิจัยเชิงปริมาณ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี, 13(3), 181-188.
บัญฑิต ไวว่อง และประภาศรี อึ่งกุล. (2563). ปัจจัยส่วนบุคคลและพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีต่อส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อน้ำพริกแกงไตปลาแห้งวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร เกาะสิเหร่เสน่หา จังหวัดภูเก็ต. ใน การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ครั้งที่ 13 ประจำปีการศึกษา 2563. (หน้า 1739-1749). อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
พิชญาดา เจริญจิต. (2564). น้ำพริก อาหารหลักคู่ครัวไทย วิธีทำแสนง่าย ได้ประโยชน์. สืบค้นจาก https://www.technologychaoban.com/folkways/article_22699
ยุพาพร ดอนงัน. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บัตร Easy pass ประชากรเขตกรุงเทพมหานคร ของกลุ่ม Generation X. วารสารการเงิน การลงทุน การตลาดและการบริหารธุรกิจ, 4(2), 393-411.
ลงทุนแมน. (2561). น้ำพริกเผาแม่ประนอม. จาก https://www.longtunman.com/5988
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครชิคาโก. (2564). ตลาดน้ำพริกเผาไทยในสหรัฐอเมริกา. จาก https://www.ditp.go.th/contents_attach/721860/721860.pdf
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองชิงต่าว. (2565). ส่องแนวโน้มตลาดน้ำพริกจีน และโอกาสสำหรับผู้ประกอบการไทย. จาก https://www.ditp.go.th/contents_attach/756505/756505.pdf
สุพรรณิการ์ สุภพล. (2563). ความต้องการและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์แปรรูปจากพริกของผู้บริโภคในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 12(2), 67-80.
อนุศาสตร์ สระทองเวียน. (2553). ธุรกิจค้าปลีก ประเทศไทย. วารสารนักบริหาร, 30(3), 134-142.
อมรศรี แซ่ตัน. (2563). การใช้บริการร้านอาหารพื้นถิ่นของผู้บริโภค จังหวัดภูเก็ต. วิทยานิพนธ์ คหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
อัจฉรียา โชติกลาง, เจนคณิต สุขสัมฤทธิ์ และศุภฤกษ์ สายแก้ว. (2561). แนวทางการพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายสำหรับพริกแกงกระเหรี่ยง จังหวัดราชบุรี. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 ราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงวิจัย (หน้า 1539-1545). ราชบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. Aaker, D.A. (1991). The Value of Brand Equity. Journal of Business Strategy, 13(4), 27-32.
CPALL. (2565). บริการร้านสะดวกซื้อ. จาก https://www.cpall.co.th/about-us/our-business/convenience-store-services
Pappu, R., Quester, P. G. & Cooksey, R. W. (2005). Consumer-based brand equity: improving the measurement - empirical evidence. Journal of Product and Brand Management, 14(2/3), 143-154.
Washburn, J. H. & Plank, R. E. (2002). Measuring brand equity and an evaluation of a consumer-based store loyalty. European Journal of Marketing, 32(5), 499-513.
Wheelen, T. L. & Hunger, J. D. (2012). Strategic management and business policy toward global sustainability (13 th ed.). New York: Pearson Education.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row.
Yoo, B. & Donthu, N. (2001). Developing and validating a multidimensional consumer-based brand equity scale. Journal of Business Research, 52(1), 1-14.