การพัฒนาการจัดจำหน่ายผลผลิตข้าวเปลือกของเกษตรกรนาแปลงใหญ่ ตำบลมะเกลือใหม่ จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • นุชจรี ภักดีจอหอ สาขาวิชาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • ศิริสรณ์เจริญ กมลลิ้มสกุล สาขาวิชาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • ดวงพร กิจอาทร สาขาวิชาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การจัดจำหน่าย, ข้าวเปลือก, นาแปลงใหญ่, นครราชสีมา, เกษตรกร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและศักยภาพการจัดจำหน่ายข้าวเปลือก และพัฒนาแผนธุรกิจและการดำเนินการระบบการจัดจำหน่ายข้าวเปลือกกลุ่มนาแปลงใหญ่ ตำบลมะเกลือใหม่ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา โดยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมระหว่างนักวิจัย กลุ่มผู้นำและตัวแทนเกษตรกรสมาชิกกลุ่มนาแปลงใหญ่ โรงสีข้าว และภาคีเครือข่าย พบว่า ผลผลิตข้าวเปลือกของเกษตรกรแบ่งเป็น 1) ข้าวเปลือกสดจำหน่ายให้โรงสีข้าวเอกชน 2) ข้าวเปลือกแห้งจัดเก็บไว้ทยอยขายระหว่างปี บริโภคในครัวเรือน และใช้เป็นเมล็ดพันธุ์ และ 3) ข้าวเปลือกแห้งจำหน่ายให้โรงสีชุมชนที่เกษตรกรเป็นสมาชิก ซึ่งเกษตรกรขายข้าวเปลือกสดได้ราคาต่ำ มีต้นทุนแรงงานและขนส่งเพิ่มกรณีข้าวเปลือกแห้ง ข้าวเปลือกเมล็ดพันธุ์มีปริมาณน้อย เมื่อร่วมกันวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางธุรกิจและทดลองจัดจำหน่ายผลผลิตข้าวเปลือกเมล็ดพันธุ์ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น จึงพัฒนาเป็นแผนธุรกิจการจัดจำหน่ายผลผลิตข้าวเปลือก โดยเพิ่มสัดส่วนผลผลิตข้าวเปลือกแห้งและเมล็ดพันธุ์ ซึ่งต้องส่งเสริมการปลูกให้ได้ผลผลิตตามมาตรฐานการผลิตเมล็ดพันธุ์

References

กมลรัตน์ ถิระพงษ์. (2560). นโยบายเกษตรแปลงใหญ่กับบริบทของภาคเกษตรไทยในปัจจุบัน. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ สาขาเศรษฐศาสตร์ ประจำปี 2560. วารสารเศรษฐศาสตร์รามคำแหง, 49-64. จาก http://www.ecojournal.ru.ac.th/ journals/23_1516971978.pdf

คุลยา ศรีโยม และสุรพล ชูสวัสดิ์. (2560). การจัดตั้งโรงสีชุมชนตำบลทุ่งใหญ่. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 13(2), 16-36.

เจนจีรา อักษรพิมพ์ และศุภชานันท์ วนภู. (2564). แนวทางการออกแบบกระบวนการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลกลุ่มนาแปลงใหญ่ ตำบลมะเกลือใหม่ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(2), 127-141.

จิตติพัฒน์ จำเริญเจือ และ วิภาวี กฤษณะภูติ. (2557). แนวทางการพัฒนาการจัดการศูนย์ส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน ในจังหวัดกาฬสินธุ์สู่ความยั่งยืน. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15, 2816-2823.

โชค ศิริบริบูรณ์. (2556). เสกแผนธุรกิจ พิชิตสินเชื่อ. กรุงเทพฯ: ณ ดา ในเครือ ยิปซี กรุ๊ป.

ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน. (2559). การพัฒนารูปแบบการตลาดข้าวอินทรีย์สำหรับเกษตกรในเขตภาคเหนือตอนบน. วารสารเกษตร มสธ., 1(2), 31-47.

นิศารัตน์ สังข์เสือ และพลดา เดชพลมาตย์. (2560). การบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน: กรณีศึกษากลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวศรีนคร อำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย. ใน งานประชุมวิชาการระดับชาติ นเรศวรวิจัย ครั้งที่ 13 วิจัยและนวัตกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม. (หน้า868-877). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

นุชจรี ภักดีจอหอ. (2561). การจัดจำหน่ายและโลจิสติกส์. ใน ประมวลสาระชุดวิชาการจัดการการผลิตและการดำเนินงาน และหลักการตลาด (หน่วยที่ 14). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

มนตรี กองมงคล. (2555). แผนธุรกิจสำหรับกลุ่มข้าวชุมชนบ้านหนองมะม่วง หมู่ที่19 ตำบลบางหลวง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม . กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ยุทธกร ฤทธิ์ไธสง และคณะ. (2561). การปรับปรุงประสิทธิภาพห่วงโซ่อุปทานข้าวหอมมะลิทุ่งสัมฤทธิ์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสหกรณ์การเกษตรพิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ, 7(1), 123-145.

วรรณดี สุทธินรากร. (2557). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และกระบวนการทางสำนึก. กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์.

วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์ และวิลาวัลย์ สากลาง. (2560). การจัดการโลจิสติกส์ของโรงสีข้าว กรณีศึกษา บริษัทโรงสีรุ่งอนันต์ จำกัด อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(3), 2472-2491.

วีรวุธ มาฆะศิรานนท์. (2555). วิธีจัดทำแผนธุรกิจ. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

ศิริสรณ์เจริญ กมลลิ้มสกุล และคณะ. (2560). การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานข้าวจังหวัดนครราชสีมา:สถานการณ์ปัจจุบัน ความเชื่อมโยง ปัญหา และแนวทางการพัฒนา. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี Suranaree Journal of Social Science, 11(2), 119-143.

_______. (2565). ถอดบทเรียนห่วงโซ่คุณค่าระบบการผลิตข้าวนาแปลงใหญ่โนนกระสัง ตำบลกระเบื้องใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยราชภัฏธนบุรี รับใช้สังคม, 8(1), 103-118.

สัจจา บรรจงศิริ และคณะ. (2557). การพัฒนาเครือข่ายศูนย์ข้าวชุมชนในเขตลุ่มน้ำมูล. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 4(1), 18-35.

สุดาพร กุณฑลบุตร. (2563). การบริหารการตลาด เทคโนโลยีการตลาด. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สวย หลักเมือง. (2558). รูปแบบช่องทางการตลาดสำหรับข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 35(3), 29-43.

สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2561). คู่มือโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561. สืบค้น 25 สิงหาคม 2561, จาก http://www.agriman.doae.go.th/home/agri1/agri1.1/8888/51.%20Manual%202561.pdf

อโณทัย งามวิชัยกิจ. (2558). กลยุทธ์การจัดจำหน่ายของตลาดสถาบัน. ใน ประมวลสาระชุดวิชาการตลาดสถาบันและการตลาดบริการ (หน่วยที่ 6). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

อมาวสี อัมพันศิริรัตน์ และ พิมพิมล วงศ์ไชยา. (2560). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม : ลักษณะสำคัญและการประยุกต์ใช้ในชุมชน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 36(6), 192-202.

อมรรัตน์ ถนนแก้ว. (2559). การพัฒนาโรงสีข้าวสังข์หยดเข้าสู่มาตรฐานการปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงสีข้าว : กรณีศึกษา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านเขากลาง. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 8(1), 78-99.

อลงกรณ์ พลายแก้ว และคณะ. (2560). การปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานในโรงสีข้าวด้วยการบริหารคุณภาพแบบเบ็ดเสร็จ. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ระดับชาติและนานาชาติ 2560, 374-387.

เอื้อมพร หลินเจริญ. (2555). เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 17(1), 17-29.

Coughlan, A.T. et al., (2013). Marketing Channels (7 th ed.). New jersey: Prentice Hall.

Crane, P. & O’Regan, M. (2010). On PAR Using Participatory Action Research to Improve Early Intervention. Department of Families, Housing, Community Services and Indigenous Affairs, Australian Government.

Kotler, P. & Armstrong, G. (2017). Principles of Marketing. (17th ed.). Pearson.

Pakdeechoho, N. & Sukhotu, V. (2018). Sustainable supply chain collaboration: Incentives in emerging economies. Journal of Manufacturing Technology Management, 29(2), 272-294.

Pushpa & Srivastava, S.K. (2017). Marketing efficiency and marketing channels for paddy crop in the eastern region of Uttar Pradesh. Economic Affairs, 62(2), 289-296.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-27