การสร้างตราสินค้าผลิตภัณฑ์เกษตรปลอดภัยของกลุ่มเกษตรปลอดสารพิษ ตำบลยางหย่อง จังหวัดเพชรบุรี
คำสำคัญ:
การสร้างตราสินค้า, ผลิตภัณฑ์เกษตรปลอดภัย, กลุ่มเกษตรปลอดสารพิษ, จังหวัดเพชรบุรีบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างตราสินค้าผลิตภัณฑ์เกษตรปลอดภัย และ 2) ประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อตราสินค้าผลิตภัณฑ์เกษตรปลอดภัย ของกลุ่มเกษตรปลอดสารพิษตำบลยางหย่อง จังหวัดเพชรบุรี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ใช้การประชุมปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมกับสมาชิกกลุ่มเกษตรปลอดสารพิษตำบลยางหย่อง จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 26 คน แบบสอบถามผู้บริโภคในจังหวัดเพชรบุรี จำนวน 400 ชุด และการสนทนากลุ่มเพื่อประเมินตราสินค้าที่พัฒนาจากการวิจัย โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า ตำบลยางหย่องมีศักยภาพที่โดดเด่นในเรื่องเกษตรปลอดภัย เกษตรอินทรีย์ มีสินค้าชุมชนที่หลากหลาย สมาชิกในชุมชนเห็นด้วยกับการพัฒนาตราสัญลักษณ์สินค้าชุมชน เพื่อนำมาใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ของกลุ่มเกษตรปลอดสารพิษตำบลยางหย่องร่วมกัน และเพิ่มรายได้ที่ยั่งยืน โดยใช้ชื่อว่า “เพชรยางหย่อง” ใช้สีในตราสินค้าคือ สีเขียว เพื่อสื่อถึงความเป็นเกษตรปลอดภัย เอกลักษณ์ตราสินค้า คือ ต้นยางนาสีน้ำตาล มีใบสีเขียว และลูกยางนาสีแดง เพื่อสื่อถึงเกษตรปลอดภัยและพื้นที่หรือแหล่งผลิต และผลการประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อตราสินค้าผลิตภัณฑ์เกษตรปลอดภัยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยอันดับ 1 ได้แก่ มีความสวยงาม โดดเด่น น่าสนใจ รองลงมา มีเอกลักษณ์และสร้างความแตกต่างชัดเจน และมีความหมายสื่อถึงสินค้าได้ชัดเจน ตามลำดับ ผลการประเมินตราสินค้า พบว่า ตราสินค้า “เพชรยางหย่อง” มีลักษณะโดดเด่น ชัดเจน เหมาะสม สามารถนำไปใช้เป็นสื่อสัญลักษณ์เพื่อแสดง อัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ของตำบลยางหย่องได้
References
กุลชลี พวงเพ็ชร์, สมพร พวงเพ็ชร์, นันทนา แจ้งสว่าง และนุชจรา บุญถนอม. (2564). การพัฒนาตราสินค้า บรรจุภัณฑ์ และป้ายฉลาก ผลิตภัณฑ์ซอสกระท้อนแบบมีส่วนร่วมของวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์บ้านงิ้วราย อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่, 22(2), 211-228.
กรีนเน็ต. (2562). เกษตรปลอดสารพิษ ปลอดภัยจริงหรือ. ค้นเมื่อ 7 กันยายน 2564, จาก https://www.greennet.or.th/เกษตรปลอดสารพิษ-ปลอดภัย/
บัญชา จุลุกุล. (2561). การพัฒนาตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ เพื่อส่งเสริมการขาย กรณีศึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชน ตำบลรำแดง อ.สิงหนคร จ.สงขลา. ใน พิพัฒน์ ลิมปนะพิทยาธร (บรรณาธิการ). การประชุมวิชาการระดับชาติคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 1 (หน้า 31-39). มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา, สงขลา.
ประชิด ทิณบุตร, ธีระชัย สุขสวัสดิ์ และ อดิสรณ์ สมนึกแท่น. (2559). การออกแบบพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์เพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสำหรับผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงามของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดชัยนาท. วารสารวิชาการศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 7(1), 84-94.
ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์. (2564). หลักการตลาด. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ท้อป.
สุรชัย ศรีนรจันทร์ และบุหงา ชัยสุวรรณ. (2562). กระบวนการสร้างตราสินค้าและการสื่อสารการตลาดออนไลน์สินค้าเกษตรอินทรีย์. วารสารวิชาการเกษตร, 37(2), 177-185.
อนันต์ สุนทราเมธากุล และคณะ. (2564). การพัฒนาตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ของกลุ่มผู้สูงอายุชุมชนคำครตา อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร เพื่อเพิ่มความสามารถทางเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์. วารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี, 8(1), 1-13.
อรทัย ก๊กผล. (2552). คู่คิด คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชน สำหรับนักบริหารท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์.
Aaker, D. (2014). Aaker on Branding. New York: Morgan James publishing.
Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Test. (5th ed.). New York: Harper Collins.
Jones, K. [2021]. The Importance of Branding in business. Retrieved August 7, 2021, from https://www.forbes.com/
sites/forbesagencycouncil/2021/03/24/the-importance-of-branding-in-business/?sh=5304feb667f7
Kotler, Philip and Kevin Keller, L., (2015). Marketing Management. (15th ed.). New York: Pearson.