แนวทางการจัดการส่งเสริมกลุ่มอาชีพชุมชน ตำบลบางขะแยง อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • มนสิชา อนุกูล สาขาวิชาการจัดการทั่วไป คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

การจัดการ , การส่งเสริมอาชีพ, กลุ่มอาชีพชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของกลุ่มอาชีพชุมชนบางขะแยง อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี และสร้างแนวทางการจัดการส่งเสริมกลุ่มอาชีพชุมชนบางขะแยง อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้นำชุมชนจำนวน 6 ราย ผู้นำกลุ่มอาชีพจำนวน 5 ราย และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั่วไปจำนวน 7 ราย รวมจำนวน 18 ราย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 45-65 ปี อาชีพแม่บ้าน ผลการวิจัย พบว่า สมาชิกกลุ่มอาชีพส่วนใหญ่เป็นหญิงวัยกลางคน สมาชิกมาจากหลากหลายอาชีพ มีรายได้เฉลี่ยค่อนข้างน้อย สมาชิกกลุ่มต้องการได้รับการส่งเสริมกลุ่มอาชีพ ต้องการมีรายได้เพิ่ม และต้องการมีรายได้จากอาชีพเสริมอย่างต่อเนื่อง การศึกษาสภาพปัจจุบันเกี่ยวกับกลุ่มอาชีพชุมชนบางขะแยง พบว่า กลุ่มอาชีพที่มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องประกอบด้วย 2 กลุ่มอาชีพ ได้แก่ กลุ่มพวงหรีด และกลุ่มยาหม่อง โดยมีผู้นำชุมชนเป็นผู้นำในการดำเนินงานกลุ่มต้องการให้มีการส่งเสริมกลุ่มอาชีพ มีการจัดตั้งกลุ่มและมีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ สมาชิกกลุ่มขาดทักษะด้านการบริหารจัดการ การผลิต และการตลาด ขาดทักษะด้านเทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มขาดความเป็นเอกลักษณ์ ขาดการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ ๆ และขาดช่องทางการจัดจำหน่ายที่หลากหลาย

นักวิจัยร่วมกันกับกลุ่มผู้นำชุมชนและสมาชิกกลุ่มอาชีพ ร่วมกันจัดทำแนวทางการจัดการส่งเสริมอาชีพให้ชุมชน โดยกิจกรรมต้นน้ำเป็นการจัดหาทรัพยากรโดยนำวัตถุดิบสมุนไพรในท้องถิ่นมาเพิ่มมูลค่า สำหรับกิจกรรมกลางน้ำเป็นการการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ส่วนกิจกรรมปลายน้ำเป็นการเสริมทักษะความรู้ด้านเทคโนโลยีแก่สมาชิกชุมชน และพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่าย และกิจกรรมสนับสนุนเป็นการเสริมความรู้ในการจัดตั้ง การดำเนินงานกลุ่มอาชีพ การบริหารจัดการธุรกิจ การผลิต การขาย การตลาด และเสริมความรู้แนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งจะก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้การดำเนินธุรกิจ เกิดองค์กรธุรกิจในชุมชน สร้างรายได้ และเพิ่มความเข้มแข็งให้กับชุมชน ผลการศึกษาเป็นประโยชน์แก่ชุมชนในการจัดการส่งเสริมกลุ่มอาชีพชุมชน และหน่วยงานภาครัฐที่ให้การสนับสนุนในการยกระดับคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจให้แก่ชุมชน สามารถดำเนินโครงการเพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มอาชีพในชุมชน ส่งผลให้สามารถพัฒนาไปสู่การเป็นชุมชนที่สามารถพึ่งพาตนเองได้และพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป

References

ณฐพงศ์ ใจซื่อตรง. (2563). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมขนสู่การแข่งขันทางการตลาด บ้านสมใจ ตำบลใจดี อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีษะเกษ. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 22(2), 121-130.

เทศบาลตำบลบางขะแยง. (2564). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570). ปทุมธานี : ผู้แต่ง.

เทศบาลเมืองเขารูปข้าง. (2561). การจัดการองค์ความรู้ (KM) เรื่อง การส่งเสริมการดำเนินงานของกลุ่มอาชีพ. สงขลา : ผู้แต่ง.

ธเนศ ศรีวิชัยลําพันธ์. (2554). การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ธนาวิทย์ บัวฝ้าย. (2556). ธุรกิจชุมชน : แนวทางในารพัฒนาชนบท. ค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2564, จาก http://www.hu.ac.th/academic/article/Mk/Business%20community.html.

นิพนธ์ จันโทภาส. (2552). การบริหารจัดการธุรกิจชุมชน : กรณีศึกษากลุ่มโรงสีชุมชน ตำบลจันดุม อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์. การศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นิภาภรณ์ จงวุฒิเวศย์. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของธุรกิจชุมชน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาสารคาม.

ผการัตน์ พินิจวัฒน์. (2561). การส่งเสริมอาชีพให้ชุมชน : กรณีศึกษาบ้านโพนไทร ตำบลเมือง อำเภอเมือง จังหวัดเลย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6(3), 925-935.

สุเมธ ตันติเวชกุล. (2542). การดำเนินชีวิตในระบบเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริฯ. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาชุมชน.

อภิชัย พันธ์เสน, สรวิชญ์ เปรมชื่น และ พิเชษฐ เกียรติเดชปัญญา. (2550). การประยุกต์พระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียงกับอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุน สนับสนุนการวิจัย.

Board Phon Sai Village. (2016). Community Plan. Loei: n.p.

Porter, M. E. (1979). Decision Support Tools: Porter's Value Chain. Cambridge University: Institute for Manufacturing (IfM).

_______. (1985). Competitive advantage: Creating and sustaining superior performance. New York: Free press.

Prathanchawano, S. (2010). Development of Communities. Bangkok : n.p.

Sewatam, A. (1999). Developers with roles in creating new meaning of community. Bangkok : Chulalongkorn University.

Thebhattee, S. et al. (2008). Self-Sufficiency with Sufficiency Economy Philosophy. Bangkok : National Office of Buddhism Printing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-28