แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการตลาดผ่านระบบสารสนเทศ ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนขนมไทย หมู่ที่ 6 ตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี

การพัฒนาผลิตภัณฑ์

ผู้แต่ง

  • อัจฉราวรรณ สุขเกิด สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

การพัฒนาผลิตภัณฑ์, การตลาด, ระบบสารสนเทศ, กลุ่มวิสาหกิจชุมชน

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการตลาดผ่านระบบสารสนเทศ ของกลุ่มวิสาหกิจอำนวยขนมไทย หมู่ที่ 6 ตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาลักษณะของธุรกิจชุมชนและสภาพการณ์ดำเนินธุรกิจ 2.ศึกษาแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการตลาดผ่านระบบสารสนเทศ ในการศึกษาครั้งนี้ ศึกษาลักษณะของธุรกิจชุมชนของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนขนมไทย การเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผู้ให้ข้อมูลหลักคือ ประธานกลุ่มและสมาชิกกลุ่ม จำนวน 8 คน นักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำนวน 3 คน ปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 1 คน และประชาชนในพื้นที่ 2 คน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มเป้าหมายคือ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนขนมไทย มีการประกอบการอย่างจริงจัง การดำเนินธุรกิจสามารถพัฒนาอาชีพการทำขนมจนประสบความสำเร็จมานานกว่า 20 ปี สามารถช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน ทำให้ความเป็นอยู่ของเพื่อนสมาชิกดีขึ้น การดำเนินธุรกิจมีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาด การออกแบบบรรจุภัณฑ์แบบใหม่ให้เหมาะสมและดูทันสมัย แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกอบด้วย รูปลักษณ์ คุณภาพผลิตภัณฑ์ เอกลักษณ์และตราสินค้า แนวทางการตลาดผ่านระบบสารสนเทศ ประกอบด้วย ราคา การส่งเสริมการตลาด ผลิตภัณฑ์ และการจัดจำหน่าย ส่งผลต่อการพัฒนาธุรกิจ

References

จิดาภา ทัดหอม. (2560). การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ความไว้วางใจและคุณภาพของระบบสารสนเทศที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางการถ่ายทอดสดเฟซบุ๊กไลฟ์ (Facebook Live) ของผู้บริโภคออนไลน์ในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ณัฐชยา ใจจูน. (2557). ภาพลักษณ์ตราสินค้าและการรับรู้คุณค่าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์ และคณะ. (2564). การจัดการการตลาดดิจิทัลและการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์น้ำตาลอ้อย. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 5(2), 15- 28.

รัตนา กี่เอี่ยน. (2552). คุณค่าตราสินค้าและปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ ร้าน พัพฟ์ แอนด์ พาย. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการตลาด, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ประมา ศาสตระรุจิ และณัฐกฤตย์ ดิฐวิรุฬห์. (2561). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานธุรกิจชุมชนผ่านระบบสารสนเทศออนไลน์ของชุมชนหินตั้ง ตำบลหินตั้น อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา, 10(20), 85-97.

ภัทรา สุขะสุคนธ์ และคณะ. (2564). แนวทางการสร้างรายได้แก่ผู้สูงอายุด้วยผลิตภัณฑ์ชุมชนในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 23(2), 73-84.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

สมประสงค์ สงษ์ทอง. (2552). แนวคิดของออกแบบ

ผลิตภัณฑ์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

อัมพร พรวานิชพงศ์ และธีระ ฤทธิรอด. (2556). แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ ให้เป็นผลิตภัณฑ์ระดับ 5 ดาว ของกลุ่มพัฒนาอาชีพผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ บ้านแคนคำ ตำบลไร่น้อย อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารบัณฑิตศึกษามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์, 2(2), 1-14.

อินทิรา พงษ์นาค และศุภกรณ์ ดิษฐพันธ. (2558). อัตลักษณ์ชุมชนเมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการ Veridian E – Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8(3), 511-523.

อรวรรณ แท่งทอง. (2561). การพัฒนาระบบสารสนเทศด้านการตลาดเพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์จากปลาช่อนแม่ลา อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 5(2), 253-266.

Fuller, G.W. (1994) New Product Development from Concept to Marketplace. Florida: CRC Press.

Hall, S. (1997). Representation: Cultural Representations and Signifying Practices. London: Sage Publications & Open University.

Wartime, K. and Fenwick, I. (2008). Digi Marketing: The Essential Guide to New Media & Digital Marketing. Singapore: John Wiley & Son (Asia) Pte.

Kotler, P. and Keller, K. L. (2012). Marketing management. (14th ed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-28