การพัฒนากลุ่มแม่บ้านหมี่กรอบรามัญ ชุมชนบ้านงิ้ว อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • กานต์มณี ไวยครุฑ สาขาวิชาศึกษาทั่วไป งานวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • พัชราภรณ์ จันทรฆาฏ สาขาการจัดการและการโรงแรม วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

การพัฒนากลุ่มแม่บ้าน, หมี่กรอบรามัญ , ชุมชนบ้านงิ้ว, คำสำคัญ : การพัฒนากลุ่มแม่บ้าน หมี่กรอบรามัญ ชุมชนบ้านงิ้ว อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี, จังหวัดปทุมธานี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง การพัฒนากลุ่มแม่บ้านหมี่กรอบรามัญ ชุมชนบ้านงิ้ว อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพกลุ่มแม่บ้านหมี่กรอบรามัญ ชุมชนบ้านงิ้ว อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี       2) เพื่อพัฒนาศักยภาพกลุ่มแม่บ้านชุมชนบ้านงิ้วในการพัฒนาผลิตภัณฑ์หมี่กรอบรามัญชุมชนบ้านงิ้วอำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยกระบวนการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลกลุ่มที่ 1 ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน จำนวน 3 คน ตัวแทนองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านงิ้วจำนวน 1 คน สมาชิกกลุ่มแม่บ้านชุมชนบ้านงิ้วจำนวน 6 คน ผู้ประกอบการจำนวน 2 คน และนักวิชาการจำนวน 3 คน รวมจำนวน 15 คน และกลุ่มที่ 2 กระบวนการสนทนากลุ่ม ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน จำนวน 3 คน กลุ่มแม่บ้านชุมชนบ้านงิ้ว จำนวน                   15 รวมจำนวน 18 คน ผลการศึกษา พบว่า 1) การวิเคราะห์ศักยภาพกลุ่มแม่บ้าน โดยใช้ SWOT Analysis ผลปรากฏ จุดแข็ง (1) มีความรู้ความสามารถในการประกอบอาหาร (2) มีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน (3) มีกลุ่มลูกค้าประจำ                     (4) ช่วงเทศกาลจะมียอดสั่งซื้อจำนวนมาก (5) มีการระดมเงินทุนร่วมกัน (6) มีการจัดการผลประโยชน์ร่วมกัน จุดอ่อน (1) ขาดความรู้ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า (2) วัสดุที่นำมาใช้มีราคาค่อนข้างสูง (3) วิธีการผลิตไม่สามารถเพิ่มมูค่า                  (4) ช่องททางการจำหน่ายมีน้อย (5) ขาดการประชาสัมพันธ์ในช่องทางต่าง ๆ (6) การผลิตยังไม่ได้รับรองมาตรฐาน                        (7) สูตรยังไม่คงที่ (8) ไม่มีการจดบันทึกทางการเงิน โอกาส (1) รัฐบาลให้การส่งเสริม (2) เป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญา อุปสรรค (1) เศรษฐกิจโดยทั่วไปตกต่ำ (2) ผลจากการแพร่ระบาดของโรคระบาด (3) ขาดการสนับสนุนพัฒนาโรงเรือน 2) ผลจากการวิเคราะห์นำมาใช้ในการพัฒนากลุ่มได้ดังนี้ (1) ด้านกระบวนการผลิตกลุ่มแม่บ้านมีการพัฒนาสูตรให้ได้มาตรฐานคือจากเดิมในการปรุงรสชาติหมี่กรอบจะใช้วิธีการประมาณเครื่องปรุงหลังจากอบรมมีการวัดตวงเครื่องปรุงเพื่อให้รสชาติได้มาตรฐานและรูปแบบของผลิตภัณฑ์มีให้เลือก 2 แบบ แบบเป็นชิ้น ๆ และแบบเป็นก้อนอัดแน่น                    (2) ด้านการส่งเสริมทางการตลาดมีการพัฒนาบุคลากรในชุมชนให้มีความรู้เรื่องการตลาดออนไลน์ จนทางกลุ่มแม่บ้านหมี่กรอบรามัญสามารถที่จะนำสินค้าเสนอขายในช่องทางออนไลน์ (3) ด้านการจัดทำงบประมาณ จัดให้มีการให้ความรู้เรื่องการจัดทำงบการเงินของกลุ่ม ผลจากการอบรมสมาชิกทุกคนในกลุ่มร่วมลงทุนด้วยกันและมีการจดบันทึกรายรับและรายจ่ายของกลุ่ม โดยมีการหักแบ่งกำไรไว้เป็นกองทุนของกลุ่มคิดเป็นร้อยละ 10 ปัจจุบันกลุ่มมีเงินกองทุน 5,800 บาท ข้อเสนอแนะ หน่วยงานภาครัฐควรที่จะส่งเสริมด้านกระบวนการผลิตให้ได้มาตรฐาน เพื่อเปิดโอกาสทางการตลาดให้กับกลุ่มในระดับต่อไป

References

กฤษณะ ดาราเรือง. (2559, กรกฎาคม-ธันวาคม). การพัฒนากลยุทธ์การแข่งขันผลิตภัณฑ์ OTOP หมูฝอยกรอบโกเนียร ตำบลหนองกระโดน อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์. การจัดการสมัยใหม่, 14(2), 67-78.

กานต์มณี ไวยครุฑ. (2564, มีนาคม-เมษายน). การพัฒนาศักยภาพชุมชนบนฐานทรัพยากรวัฒนธรรมไทย-มอญ ชุมชนบ้านงิ้ว จังหวัดปทุมธานี. การวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 13(2), 135-146.

กัมปนาท บัวเจริญ และฟารุก ขันราม. (2564, กรกฎาคม-ธันวาคม). แนวทางการมีส่วนร่วมในการธำรงรักษาศีล 5 ของชุมชนบ้านลาว อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง. วิทยาการจัดการปริทัศน์, 23 (2), 1-12.

พีรพัฒน์ พันศิริ. (2559). เอกสารประกอบการสอนรายวิชาพัฒนาองค์กรชุมชน. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

รุ่งโรจน์ ฝ้ายเยื่อ และ ศิริรักษ์ สันทิตย์. (2563, มกราคม-เมษายน). การมีส่วนร่วมของกลุ่มแม่บ้านในการส่งเสริมผลิตภัณฑ์น้ำพริกชุมชนบ้านไผ่ขอดอน ตำบลไผ่ขอดอน อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. การบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 4(1), 101-115.

วรุณี เชาวน์สุขุม และ อัจฉราวรรณ สุขเกิด. (2564, กรกฎาคม-ธันวาคม). การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชนจังหวัดปทุมธานี. วิทยาการจัดการปริทัศน์, 23(2), 85-94.

สนธยา พลศรี. (2556). การพัฒนาความสามารถของบุคคลและกลุ่ม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

อรวิกา ศรีทองและชาคริต ศรีทอง. (2563, กรกฎาคม – ธันวาคม). การศึกษาความเป็นไปได้ในการเริ่มต้นธุรกิจการผลิตบรรจุภัณฑ์จากกระดาษของกลุ่มแม่บ้านคลอสองร่วมใจ จังหวัดปทุมธานี. วิทยากรจัดการปริทัศน์, 22(2), 25-36.

เอกชัย บุญยาทิษฐาน. (2553). คู่มือวิเคราะห์ SWOT อย่างมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.

Pearce, J. A. and Robinson, R. B. (2009). Strategic Management : Formulation, Implementation and Control. (11th ed). New York: McGraw – Hill.

Wheelen, T. L. and Hunger, J. D. (2008). Strategic Management and Business Policy. (11th ed.). n.p.: Pearson Prentice–Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-28