การศึกษาพฤติกรรมและแรงจูงใจในการตั้งใจกลับมาท่องเที่ยวซ้้า กรณีศึกษา จังหวัดสุรินทร์
คำสำคัญ:
พฤติกรรมนักท่องเที่ยว, แรงจูงใจ, การท่องเที่ยวซ้้า, จังหวัดสุรินทร์บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรม ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและแรงจูงใจต่อการมาท่องเที่ยวซ้้า ของนักท่องเที่ยวในจังหวัดสุรินทร์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ พื้นที่วิจัย คือ อ่างเก็บน้้าห้วยเสนง ซแรย์ อทิตยา วนอุทยานพนมสวาย หมู่บ้านทอผ้าไหมบ้านท่าสว่าง จังหวัดสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยว จ้านวน 100 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างตามสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้เป็นแบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน และค่าสถิติ Chi-Square
ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เดินทางมาท่องเที่ยวมากกว่า 3 ครั้งขึ้นไป ช่วงเวลาที่นิยมท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นวันหยุดสุดสัปดาห์ ระยะเวลาในการท่องเที่ยวหนึ่งวัน ค่าใช้จ่ายต่อครั้งในการท่องเที่ยว 2,001 บาทขึ้นไป วัตถุประสงค์ของการท่องเที่ยวเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ รูปแบบของการเดินทางเที่ยวเป็นแบบกลุ่ม 2-3 คน แหล่งข้อมูลข่าวสารในการท่องเที่ยว คือ สื่อข้อมูลออนไลน์ (Website, Facebook) มีความสัมพันธ์แบบนัยส้าคัญระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลในด้านอายุ อาชีพ รายได้เฉลี่ย และแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวในด้านสิ่งดึงดูดใจ ด้านสิ่งอ้านวยความสะดวกและด้านการประชาสัมพันธ์ดังนี้ อายุที่แตกต่างกันของนักท่องเที่ยวส่งผลต่อแรงจูงใจด้านสิ่งอ้านวยความสะดวกในเรื่องการบริการห้องสุขาไว้อย่างสะอาดและเพียงพอ อาชีพที่แตกต่างกันของนักท่องเที่ยวส่งผลต่อชื่อเสียงของแหล่งท่องเที่ยวและข้อมูลการท่องเที่ยวจากสื่อวิทยุและโทรทัศน์และรายได้ที่แตกต่างกันของนักท่องเที่ยวส่งผลต่อชื่อเสียงของแหล่งท่องเที่ยวและข้อมูลการท่องเที่ยวจากสื่อวิทยุและโทรทัศน์
References
กรมการท่องเที่ยว. (2561).แผนยุทธศาสตร์พัฒนาการท่องเที่ยว พ.ศ. 2561 - 2564. ค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2563, ค้นจาก https://www.dot.go.th/storage/5V7jtvCF7hvNiPXPU7MOdT7giHiF1ZbRokN8nBVx.pdf
กรกฎ พัวตระกูล. (2562). อิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคลพฤติกรรมการท่องเที่ยว และแรงจูงใจในการท่องเที่ยวต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวบางขุนเทียนชายทะเล.ค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2563, จาก http://dspace.bu.ac.th/handle/123456789/4384
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). แผนกลยุทธ์เพื่อการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวสีขาวภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564 -2565. ค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2564, จาก https://secretary.mots.go.th/strategy/more_news.php?cid=9
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2562). ท่องเที่ยวไทยในปี 2560. ค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2563, จาก http://www.tatreviewmagazine.com/web/menu-read-tat/menu
กิติยา มโนธรรมรักษา. (2559). การศึกษาแรงจูงใจและความพึงพอใจมีผลต่อพฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทย กรณีศึกษา ตลาดน้ำอโยธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2563, จาก http://dspace.bu.ac.th/handle/123456789/2362
ฉลองศรี พิมลสมพงศ์. (2550). การวางแผนและพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชวัลนุช อุทยาน. (2551). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. ค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2563, จาก https://touristbehaviour.wordpress.com
ทิพย์วรรณ แสวงสรี. (2556). เส้นทางอารยธรรมมรกดกล้ำค่าสุรินทร์. กรุงเทพ ฯ: ไทยยูเนี่ยนกราฟฟิกส์
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ. สุวีริยาสาส์น.
ปวิตรา วิเศษ. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการท่องเที่ยวพระราชวังของนักท่องเที่ยวชาวไทย ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พบพร โอทการนนท์. (2555). รูปแบบคุณภาพการบริการภาพลักษณ์แหล่งท่องเทียว และความพึงพอใจที่ส่งผลต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรมการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวของชาวยุโรปและอเมริกัน. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตสาขาการตลาด, มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย.
พิบูล ทีปะปาล. (2550). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่.กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.
เมลดา ธนิตนนท์. (2560). การศึกษาแรงจูงใจ และความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาเที่ยวบ้านบางเขน. ค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2563, จาก http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2706
รุ่งฟ้า สะแกกลาง. (2561). พฤติกรรมและแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา. ค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2563. ค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2563, จาก http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4201
วนารัตน์ บุญธรรม. (2558). แรงจูงใจที่มีผลต่อโอกาศที่จะก่อให้เกิดความภักดีของนักท่องเที่ยวชาวรัสเซียในเมืองพัทยา ประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
วงษ์ปัญญา นวนแก้ว. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวในภาคเหนือของประเทศไทย. วารสารวิชาการ “การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ” คณะเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 5(1), 95-103.
สุรชัย จันทร์จรัส และอาร์ม นาครทรรพ. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อระยะเวลาการกลับมาเที่ยวซ้ำเชียงคานของนักท่องเที่ยว.วารสารสังคมลุ่มนํ้าโขงฺ, 9(3),145-166.
Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.