การศึกษาแนวทางการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในยุค Next Normal

ผู้แต่ง

  • วรรณรัตณ์ มหาธาราทอง สาขาวิชาการสอนภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

โควิด-19, ภาษาจีน, เรียนออนไลน์, Next Normal

บทคัดย่อ

          บทความวิชาการเรื่องการศึกษาแนวทางการการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในยุค Next Normal มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของการศึกษาภาษาจีน สืบเนื่องจากประเทศไทยเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในปี2563 นําไปสู่การล็อกดาวน์ประเทศและการปิดสถานศึกษา หลังจากที่สถานการณ์ผ่อนคลายลงการเรียนการสอนได้กลับมาเป็นปกติ แต่ประเทศไทยกลับต้องเผชิญกับการระบาดหลายระลอก ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว สถานศึกษาทุกระดับจําเป็นต้องมีการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศทางการศึกษาที่ใหญ่ที่สุดและมีอิทธิพลมากที่สุดกับวงการการศึกษาภาษาจีน ซึ่งแม้จะเผชิญกับปัญหาต่างๆไม่ว่าจะเป็นข้อจํากัดด้านอุปกรณ์การวัดและประเมินผลและประเด็นอื่นๆที่ยังเป็นข้อถกเถียง แต่การศึกษาภาษาจีนเมื่อจําเป็นต้องตั้งรับกับสถานการณ์ฉุกเฉินนี้ เทคโนโลยีจึงมีบทบาทสําคัญ ทําให้การเรียนการสอนภาษาจีนเข้าสู่ยุค New Normal ผลกระทบของการจัดการรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ทําให้วงการการศึกษาภาษาจีนเปลี่ยนการเรีนรู้เป็นแบบผสมผสาน (Blended Learning) ถึงแม้สถานการณ์โควิดจะคลี่คลายลงก็ตาม ซึ่งถือเป็นสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นมาเพื่อทดแทนความปกติใหม่ต่อไป (Next Normal)

References

ปณิตา วรรณพิรุณ. (2554, กรกฎาคม-ธันวาคม). การเรียนรู้แบบผสมผสานจากแนวคิดสู่การปฏิบัติ. วารสารการอาชีวะและเทคนิคศึกษา, 1(2), 43-49.

ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค. (2563). การเตรียมความพร้อมสำหรับการศึกษาในยุค COVID-19 ยิ่งจำเป็น ต้องให้ความสำคัญกับประเด็นความเหลื่อมล้ าและทรัพยากรของผู้เรียน. ค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2564, จาก https://www.eef.or.th/378/

วัฒนพร จตุรานนท์, โสภี ชาญเชิงยุทธชัย, ศศิชญา แก่นสาร, รัฐพร ปานมณี, ภาสกร ภักดิ์ศรีแพง, He Weimin. (2563, กรกฎาคม-ธันวาคม). การศึกษาพฤติกรรมการเรียนออนไลน์และความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ภาษาจีนผ่านระบบออนไลน์ของนิสิตหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาภาษาจีน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ภาคการศึกษาฤดูร้อน ปีการศึกษา 2562 ตามมาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019. วารสารวิชาการภาษาและวัฒนธรรมจีน, 7(2), เลขหน้า.

เว็ปไซต์สมาคมครูจีนแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. (2563). ค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2563, จาก https://hwxy.hqu.edu.cn/info/1052/4431.

เว็ปไซต์กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). ค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2563, จาก https://moe360.blog

เว็ปไซต์วีโอเอไทย. (2563). ค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2563, จาก www.voathai.com

Bonk, J. and Graham, C. R. (2004). Handbookof blended learning: Global perspectives. San Francisco: Pfeiffer

Yuming, Li et al. (2020). Chinese international education under the new crown epidemic: Challenges and countermeasures language Teaching and linguistic Studies. (04)2020.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-09